เมื่อเร็วๆนี้ ทางการสหรัฐฯระบุจะสั่งแบนแอพลิเคชั่นติ๊กตอก (TikTok) ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์หนาหู โดยวันที่ 3 สิงหาคม ผู้นำสหรัฐฯยังขู่ว่า ต้องขายติ๊กตอกให้กับสหรัฐฯก่อนวันที่ 15 กันยายนนี้ มิฉะนั้นก็ต้องถูกปิดใช้งาน ซึ่งเงินที่ได้จากการขายกิจการนี้ ยังต้องหักส่วนแบ่งให้กับการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯเป็นจำนวนมากด้วย คำปราศรัยดังกล่าว ทำให้เกิดเสียงคัดค้านทั้งในและนอกสหรัฐฯเป็นวงกว้าง
ที่จริง รัฐบาลสหรัฐฯมุ่งจะหาเรื่องกับติ๊กตอก ซึ่งได้รับความนิยมจากชาวเน็ตประเทศตะวันตกมานานแล้ว แต่ยังไม่ประสบช่องให้ลงมือได้ ขณะนี้ สหรัฐฯระบุจะแบนติ๊กตอกโดยอ้าง “คุกคามความมั่นคงของชาติ” สื่อต่างๆของประเทศตะวันตกเห็นว่า นี่เป็นเพียงข้ออ้างที่สหรัฐฯมุ่งจะใช้กีดขวางวิสาหกิจนิวไฮเทคของจีนอย่างรอบด้าน
มองในแง่มุมทางพาณิชย์ ในฐานะเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีผู้ใช้ทั่วโลกเป็นจำนวน 1,000 ล้านคน ติ๊กตอกย่อมจะให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยด้านข้อมูลอย่างสูง บริษัทแม่ของติ๊กตอกเป็นบริษัทของจีนก็จริง แต่ติ๊กตอกมุ่งหน้าสู่หนทางพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชาวเน็ตต่างชาตินอกตลาดจีนมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มต้น การที่นักการเมืองสหรัฐฯระบุว่า ติ๊กตอกเป็น “เครื่องมือข่าวกรอง” ของจีนนั้น เป็นการใส่ร้ายและเล่นเกมการเมือง โดยเปลี่ยนปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาการเมือง เพื่อให้เหมาะสำหรับจุดมุ่งหมายส่วนตัวของนักการเมืองสหรัฐฯจำนวนหนึ่ง
นอกจากนี้ ทางการสหรัฐฯขู่ว่าจะแบนติ๊กตอกนั้น ยังมีสาเหตุอีกประกันหนึ่งคือ ในการแข่งขันอย่างยุติธรรมกับบริษัทอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ แอพพลิเคชั่นดังกล่าวดึงดูดผู้ใช้ชาวเน็ตตะวันตกจำนวนมาก ทำลายการผูกขาดของสหรัฐฯที่มีต่อสังคมออนไลน์เป็นเวลานาน จึงทำให้สหรัฐฯเกิดความไม่พอใจ
การที่นักการเมืองสหรัฐฯจำนวนหนึ่งสั่งแบนแอพพลิเคชั่นจีนที่ประกอบการโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ไม่สามารถแก้ปัญหาของสหรัฐฯเองได้ หากยังจะทำลายผลประโยชน์ของประชาชนสหรัฐฯ ซึ่งถูกกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างร้ายแรงมากยิ่งขึ้น และทำให้สหรัฐฯมีความโดดเดี่ยวยิ่งขึ้น
Yim/Cai/Sun