บทวิเคราะห์ :“แผนจีน”ช่วยประเทศริมแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงบรรลุการพัฒนาร่วมกัน

2020-08-26 16:07:51 | CMG
Share with:

วันที่ 24 สิงหาคม การประชุมผู้นำความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงครั้งที่ 3 ได้จัดขึ้นผ่านรูปแบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนกล่าวคำปราศรัยในที่ประชุม พร้อมชูข้อเสนอ 6 ประการเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ การขยายความร่วมมือทางการค้าและการเชื่อมโยงติดต่อ การส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาแบบยั่งยืน การส่งเสริมความร่วมมือด้านยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการปฏิบัติตามแนวคิดที่เปิดกว้าง เพื่อช่วยประเทศริมแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง รับมือกับการท้าทายและความเสี่ยงอย่างเหมาะสม บรรลุซึ่งการพัฒนาร่วมกัน “แถลงการณ์เวียงจันทน์” ที่ประกาศหลังการประชุม ได้ตอบรับข้อเสนอของจีนอย่างเต็มที่ และประกาศจะกระชับความสัมพันธ์หุ้นส่วนด้านการเมืองและความปลอดภัย ความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความสัมพันธ์หุ้นส่วนด้านการแลกเปลี่ยนทางสังคมและบุคลากร และความสัมพันธ์หุ้นส่วนด้านกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ทั้งนี้ได้เพิ่งแรงขับเคลื่อนใหม่สู่ความร่วมมือระหว่างประเทศริมแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงในอนาคต และชี้ทิศทางของการสร้างประชาคมร่วมของประเทศริมแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงที่กระชับแน่นยิ่งขึ้นใน “ยุคหลังการระบาด”

กลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเป็นกลไกความร่วมมืออนุภูมิภาคแบบใหม่ที่ 6 ประเทศริมแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงร่วมปรึกษาหารือ สร้างสรรค์และแบ่งปันร่วมกัน เมื่อผ่านการพัฒนาเป็นเวลากว่า 4 ปีแล้ว กลไกนี้ได้สะสมผลงานด้านการเกษตร การลดความยากจน การสร้างสรรค์โครงสร้างพื้นฐานและการใช้ทรัพยากรน้ำ ที่นำมาซึ่งผลประโยชน์อันแท้จริงให้กับประชาชนของประเทศต่างๆ

เมื่อเร็วๆ นี้ นายสีจิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีนมีข้อริเริ่มให้ประเทศต่างๆ พยายามร่วมบริหารจัดการทั่วโลกแบบเปิดกว้างยิ่งขึ้น ใช้กลไกพหุภาคีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความร่วมมือส่วนภูมิภาคที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น ในการพบปะครั้งนี้ จีนได้ชูข้อเสนอความร่วมมือ 6 ประการ ที่สามารถปฏิบัติได้จริงและเจาะจงต่อสภาพความเป็นจริงด้วย ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงลงลึกขึ้น สร้างโอกาสที่มากขึ้นต่อการพัฒนาส่วนภูมิภาค และนำความผาสุกสู่ประชาชนมากขึ้น

เป็นที่ทราบกันดีว่า ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเกิดขึ้นจากน้ำ ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อถือทางการเมืองระหว่าง 6 ประเทศที่ดีที่สุด ขณะนี้ ความเชื่อถือและความรับรู้ร่วมกันระหว่างจีนกับประเทศริมแม่น้ำโขง ได้แสดงบทบาทสำคัญต่อประเทศต่างๆ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของทั่วทั้งลุ่มน้ำ รักษาความมั่นคงสาธารณะและต่อต้านการแทรกแซงจากภายนอก

Yim/LR/ZDan

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-04-2567)

  • เกาะกระแสจีน (27-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

刘榕