ศูนย์วิจัยแพนด้าหย่าอัน มีสวนสำหรับแพนด้าที่กลับจากต่างประเทศ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายนปี 2010 ก็เพราะว่าจีนได้ส่งแพนด้าเป็น “ทูตมิตรภาพ” ไปที่ประเทศต่างๆ ไปอาศัยที่ประเทศต่างๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ชาวโลกได้เห็นแพนด้าตัวจริง ซึ่งเป็น “สมบัติอันล้ำค่าของประเทศ” หลังจากแพนด้าเหล่านี้ได้อาศัยอยู่ที่ต่างประเทศระยะหนึ่งแล้ว จะกลับถึงประเทศแม่ ก็จะใช้ชีวิตในสวนสำหรับแพนด้าที่กลับจากต่างประเทศนี้
จีนได้ส่งแพนด้าไปประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ซึ่งรวมทั้งไทยด้วย เดือนตุลาคมปี 2003 ตามข้อตกลงระหว่างจีนกับไทย จีนได้ส่งแพนด้าตัวเมีย หลินฮุ่ย และแพนด้าตัวผู้ ช่วงช่วง ไปสวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นทูตมิตรภาพระหว่างจีนกับไทย
หลินฮุ่ยกับช่วงช่วงเกิดที่ศูนย์วิจัยแพนด้าเขตอนุรักษ์ธรรมชาติโว่หลง หลินฮุ่ยวัย 1 ขวบ ช่วงช่วงวัย 3 ขวบ ตอนแรกๆ มีสวนสัตว์กรุงเทพฯและสวนสัตว์เชียงใหม่เสนอรับหลินฮุ่ยกับช่วงช่วง แต่หลังจากผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดของผู้เชี่ยวชาญจีนและไทยแล้ว ได้เลือกเชียงใหม่ซึ่งมีอากาศค่อนข้างเย็นสบายเป็นที่อาศัยของหลินฮุ่ยกับช่วงช่วง เมื่อหลินฮุ่ยและช่วงช่วงเริ่มอาศัยอยู่ในสวนสัตว์เชียงใหม่แล้ว ได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยไปสวนสัตว์เพื่อเยี่ยมดูหลินฮุ่ยและช่วงช่วงเป็นจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 28 กันยายน ปี 2013 หลินปิงได้ออกจากสวนสัตว์เชียงใหม่กลับประเทศจีน เดินทางกลับถึงมณฑลเสฉวนของจีน ช่วงแรก หลินปิงอาศัยอยู่ในศูนย์วิจัยแพนด้าหย่าอัน บ้านของหลินปิงก็อยู่ในสวนสำหรับแพนด้าที่กลับจากต่างประเทศ
ต่อมาหลินปิงได้ย้ายไปที่ศูนย์วิจัยแพนด้าโว่หลง และได้คลอดลูกเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2015 ซึ่งการคลอดลูกครั้งแรกของหลินปิงได้ลูกเป็นฝาแฝด ปัจจุบัน หลินปิง กลับถึงจีนเป็นเวลาเกือบ 7 ปีแล้ว ได้ใช้ชีวิตอยู่สุขสบายในศูนย์วิจัยแพนด้า
ในศูนย์วิจัยแพนด้าหย่าอัน ยังมีศูนย์อนุบาลแพนด้า และโรงพยาบาลแพนด้าด้วย ในศูนย์มีแพนด้าประมาณกว่า 40 ตัว
เมื่อมาถึงศูนย์วิจัยแพนด้าหย่าอันแล้ว ฉากที่พลาดไม่ได้ก็คือการ “รับประทานอาหาร” ของแพนด้า แต่ละวันแพนด้าหนึ่งตัวจะต้องกินอาหารทั้งหมดกว่า 40 กิโลกรัม รวมทั้งไม้ไผ่ หน่อไม้ ผักผลไม้ เช่น แครอท แอปเปิล แตงกวา และยังมีขนมอร่อยด้วย ซึ่งทำจากแบ้งสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวโพดและข้าวสวย เติมเกลือและน้ำตาลด้วย เพื่อเสริมวิตามินและสารอาหารที่ร่างกายแพนด้าต้องการ
ลักษณะพิเศษของแพนด้าก็คืออ้วนตุ๊ต๊ะและวิธีเดินแบบช้าๆ ทั้งนี้ก็เพราะว่าในบรรยากาศที่ใช้ชีวิตของพวกมัน มีอาหารที่เพียงพอ ไม่มีศัตรูธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว
ในศูนย์วิจัย เมื่อเห็นการกินหน่อไม้และไม้ไผ่ของแพนด้า ก็คงมีความรู้สึกว่าหน่อไม้และไม้ไผ่นี้อร่อยมาก เพราะแพนด้ากินไม่หยุดเลย อาจจะสงสัยว่าแพนด้าจะกินมากเกินไปหรือเปล่า แต่อันที่จริง การที่แพนด้าต้องกินตลอดยกเว้นเวลานอนนั้น ก็เพราะลำไส้ของแพนด้าเป็นแบบตรง ที่ไม่สามารถเก็บอาหารได้เป็นเวลานาน ดังนั้นกินแล้วไม่กี่ชั่วโมงก็ต้องถ่าย จึงหิวง่าย เลยต้องกินเก่งเพื่อให้อิ่มท้อง
แพนด้าจะเลือกกินส่วนของไม้ไผ่ตามฤดูกาล ซึ่งมีทั้งหน่อไม้ ใบไผ่และลำไผ่ จำนวนรับประทานในแต่ละวันแบ่งเป็น หน่อไม้ 23-40 กิโลกรัม ใบไผ่ 10-18 กิโลกรัม ลำไผ่ 17 กิโลกรัม แพนด้าเป็นสัตว์ที่ฉลาดมาก ซึ่งสามารถได้เห็นจากวิธีการเลือกกินของมัน แพนด้าไม่เพียงแต่เลือกกินไม้ไผ่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการดีที่สุดเท่านั้น หากยังได้เลือกกินส่วนที่มีโภชนาการสูงที่สุดของไผ่ด้วย ลำดับการเลือกกินจะเป็นหน่อไม้ ไม้ไผ่อ่อน และลำไผ่
ในศูนย์แพนด้าหย่าอันได้ปลูกไม้ไผ่ 6-7 ชนิด ซึ่งทั้งหมดต่างเหมาะให้แพนด้ารับประทาน แต่วันธรรมดาจะไม่ใช้ไม้ไผ่ในศูนย์ จะรับไม้ไผ่จากสวนที่ได้ปลูกเพื่อแพนด้าโดยเฉพาะ ส่วนไม้ไผ่ที่ปลูกในศูนย์ฯ นั้น จะใช้ในสภาวะพิเศษ อย่างเช่น เมื่อมีฝนตกหนักหลายวัน สร้างอุปสรรค์ในการขนส่งไม้ไผ่จากสวนปลูกไม้ไผ่ ก็จะใช้ไม้ไผ่ที่ปลูกในศูนย์ได้สะดวก
ชีวิตประจำวันของแพนด้า นอกจากกินอาหารแล้ว เวลาที่เหลือมักจะนอนตลอด ทุกครั้งที่กินอิ่ม มักจะนอนประมาณ 2-4 ชั่วโมง แล้วค่อยตื่นมากินต่อ
ในศูนย์วิจัยแพนด้าหย่าอัน นอกจากจะได้เห็นความน่ารักของท่านอน ท่ากินแล้ว ยังสามารถได้เห็นแพนด้าวิ่งเล่นและปีนต้นไม้ ซึ่งแพนด้าถนัดการปีนต้นไม้ แม้ว่าเป็นสัตว์ตัวใหญ่ แต่ปีนต้นไม้ได้เร็ว
จีนมีแพนด้ากว่า 2,000 ตัว ซึ่งรวมทั้งแพนด้าป่ากว่า 1,800 ตัว อาศัยอยู่ในมณฑลเสฉวน มณฑลส่านซีและมณฑลกานซู่ของจีน แพนด้าป่าเหล่านี้ได้ใช้ชีวิตในป่าไม้ไผ่ที่มีความสูงระดับน้ำทะเล 2,600-3,500 เมตร อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศา ซึ่งภายใต้เงื่อนไขทางภูมิอากาศนี้ ไม้ไผ่เติบโตอย่างดี เย็นสบาย มีความชื้นเพียงพอ
ไม้ไผ่เป็นอาหารหลักของแพนด้า และแพนด้าก็ชอบดื่มน้ำด้วย แพนด้าป่ามักจะเลือกสถานที่อยู่ใกล้กับลำธารเป็นที่อยู่อาศัย บางสถานที่แม้ว่ามีไม้ไผ่เยอะแต่ไม่มีลำธาร ก็จะไม่เป็นที่เลือกของแพนด้า แพนด้าป่าต้องดื่มน้ำอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง อายุขัยของแพนด้าป่าประมาณ 18-20 ปี แพนด้าที่ใช้ชีวิตในฟาร์มสามารถมากกว่า 30 ปี