ไทยมี“หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์”จีนมี“หนึ่งกลุ่มหนึ่งธุรกิจ”

2020-09-16 13:27:27 | CMG
Share with:

ในไทยโครงการ “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ส่วนในจีนหมู่บ้านที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลสูงได้ค้นหาหนทางใหม่ด้านการขจัดความยากจนด้วยรูปแบบ “หนึ่งกลุ่มหนึ่งธุรกิจ” ได้รับความสนใจจากผู้คน

หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ที่อำเภอจินชวน เขตอาป้า มณฑลเสฉวน มีชื่อว่า หมู่บ้านเจี่ยวมู่หนิว ก่อนหลุดพ้นจากความยากจนเมื่อปี 2018  หมู่บ้านแห่งนี้มีครอบครัวยากจนที่ขึ้นทะเบียนแล้ว 84 ครอบครัว 304 คน เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรผู้ยากจนมากที่สุดในอำเภอจินชวน หลายกลุ่มชาวนาที่สังกัดหมู่บ้านเจี่ยวมู่หนิวมีสภาพธรรมชาติที่ต่างกัน หลายปีมานี้ ภายใต้ความช่วยเหลือของทางการท้องถิ่น เพื่อหลุดพ้นจากความยากจน แต่ละกลุ่มชาวนาล้วนได้พัฒนาธุรกิจที่สอดคล้องกับตัวเอง จนได้กลายเป็นรูปแบบการพัฒนา “หนึ่งกลุ่มหนึ่งธุรกิจ”

การปลูกสตรอว์เบอร์รี่

ปี 2015 พร้อมไปกับการดำเนินนโยบายขจัดความยากอย่างตรงจุดในท้องถิ่น หมู่บ้านเจี่ยวมู่หนิวปรับเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรม นำเข้าบริษัทมืออาชีพและสหกรณ์ พัฒนาธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์โดยใช้รูปแบบการโอนสิทธิการใช้ที่ดินและหุ้นปันผล ภายใต้ความพยายามร่วมกันของทีมงานประจำหมู่บ้านและข้าราชการหมู่บ้าน กลุ่มหาวโกวเหมินของหมู่บ้านได้ดึงบริษัทมืออาชีพมาช่วยพัฒนาธุรกิจการปลูกสตรอเบอร์รี่

ไทยมี “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” จีนมี “หนึ่งกลุ่มหนึ่งธุรกิจ”_fororder_图片 草莓大棚

สตรอว์เบอร์รี่สามารถเก็บได้ช่วงพฤษภาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปี เกษตรกรโอนสิทธิการใช้ที่ดิน 104 โหม่ว(ประมาณ 43.3 ไร่) มูลค่าโหม่วละ 600-1,200 หยวนให้กับบริษัทลงทุนการเกษตร สร้างเต็นท์มาตรฐานสูง 1 แห่งและเต็นท์ธรรมดาสำหรับปลูกสตรอว์เบอร์รี่ 10 แห่ง ดินในท้องถิ่นสามารถเก็บรักษาความชื้นได้ดี บวกกับแสงแดดบนที่ราบสูงพอเพียง ทำให้สตรอว์เบอร์รี่มีรสชาติดี

ในช่วงปลูกและดูแลผลสตรอว์เบอร์รี่ บริษัทใช้รูปแบบการจ้างแรงงานจากครอบครัวยากจนทั้งหมด มีการลงนามสัญญาว่าจ้างกับคนทำงาน ทั้งปี 2019 มีแรงงานประจำ 15 คน แรงงานชั่วคราวอีกกว่า 900 คนครั้ง เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรจากการรับจ้างประมาณ 300,000 หยวน

ไทยมี “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” จีนมี “หนึ่งกลุ่มหนึ่งธุรกิจ”_fororder_图片 草莓

ปัจจุบัน สตรอว์เบอร์รี่กลายเป็นผลไม้สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน สตรอว์เบอร์รี่สดที่ถูกเก็บไปแล้วจะจำหน่ายไปยังตลาดผลไม้สดและวิสาหกิจแปรรูปในเมืองเฉิงตูและกรุงปักกิ่ง ได้รับความนิยมในตลาดขายปลีก

พลัมแดงกรอบ

กลุ่มพ่าวถายเป็นประตูทางใต้ของหมู่บ้านเจี่ยวมู่หนิว พื้นที่แห่งนี้มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลค่อนข้างต่ำ ที่ดินเรียบและอุดมสมบูรณ์ เหมาะกับการปลูกผักผลไม้ หลิว ชุนเฉียวเป็นผู้รับผิดชอบสหกรณ์อาชีพพลัมชุนเฉียวที่ใช้ชื่อของเขาเอง โดยมีฐานปลูกพลัมที่นี่กินเนื้อที่ 106 โหม่ว โดยให้เช่ากับสหกรณ์ชุนเฉียวในรูปแบบโอนสิทธิการใช้ที่ดิน เพื่อปลูกพลัมแดงกรอบและผักอื่นใต้ต้นผลไม้พร้อมกัน นายหลิว ชุนเฉียวเล่าว่า ปีที่ 2 ทางการท้องถิ่นได้ให้เงินบำรุงการปลูกต้นกล้า 1 แสนหยวน

ไทยมี “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” จีนมี “หนึ่งกลุ่มหนึ่งธุรกิจ”_fororder_图片 李子

หลิว ชุนเฉียวบอกผู้สื่อข่าวว่า เมื่อก่อนผมขับรถแท็กซี่ มักจะเดินทางไปทุกที่ อาทิ ในเมืองเฉิงตูมีตลาดขายส่งหลายแห่ง หากประกอบการค้าขายพลัมให้ดี ขอเพียงรสชาติอร่อย ไม่ต้องกังวลว่า ขายไม่ออก ในที่ดิน 1 โหม่วปลูกต้นพลัม 45 ต้น 106 โหม่วก็เกือบ 5,000 ต้น ต้นพลัมบางต้นสามารถเก็บพลัมได้มากกว่า 100 ชั่ง ส่วนราคาของพลัมก็ประมาณชั่งละ 2 หยวน ก็คิดว่าโอเค

โดยสหกรณ์จะจ่ายค่าโอนสิทธิการใช้ที่ดินให้กับชาวนาตามจำนวนที่ดิน การโอนกรรมสิทธิ์รับเหมาที่ดินเพื่อประกอบกิจในชนบทได้ส่งเสริมการประกอบกิจการบนที่ดินที่มีขนาดเหมาะสม ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร เพิ่มรายได้ให้กับชาวนา

การเลี้ยงหมูดำป่า

กลุ่มตู้กั่งเป็นกลุ่มที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลสูงสุด มีป่าไม้เยอะ จำนวนของชาวนาที่อพยพเยอะ ทำให้ที่ดินว่างเยอะด้วย พวกเขาได้นำเจ้าบริษัทมืออาชีพด้านการเลี้ยงหมูเพื่อพัฒนาการเลี้ยงหมูดำป่า

ไทยมี “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” จีนมี “หนึ่งกลุ่มหนึ่งธุรกิจ”_fororder_图片 猪

หมูพวกนี้เป็นหมูที่เลี้ยงตามภูเขาถือเป็นหมูเลี้ยงธรรมชาติด้วย ขายดีในพื้นที่ริมชายฝั่งทะเล บริษัทแห่งนี้ได้รับโอนสิทธิการใช้ที่ดิน 44 โหม่วจากเกษตรกรในหมู่บ้าน ยังใช้พื้นที่ป่าไม้จากชาวบ้านคืนที่ดินเพาะปลูกกว่า 240 โหม่ว และพื้นที่ป่าไม้ส่วนรวมกว่า 700 โหม่ว โดยให้ชาวบ้านรับเหมาทำการก่อสร้างคอกหมูและปรับหน้าดิน ได้สร้างรายได้จากการับจ้างทำงานประมาณ 4 แสนหยวน เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ช่วย 2 ครอบครัวยากจนมีงานทำเป็นประจำ มีรายได้เฉลี่ยต่อคนปีละ 25,000 หยวน

การปลูกพริกไทยเสฉวน “ฮวาเจียว”

คุณภาพที่ดินและภูมิอากาศในกลุ่มปาเจี่ยว เหมาะกับการปลูก “ฮวาเจียว” หรือพริกไทยเสฉวน ฮวาเจียวที่ผลิตที่นี่มีชื่อเสียงในอำเภอจินชวน นายเฝิง เสี่ยวจุน ผู้ใหญ่บ้านรู้สึกภาคภูมิใจกับฮวาเจียวในที่นี่ว่า ฮวาเจียวแดงในอำเภอจินชวนทั้งหอม ซ่าชาลิ้น(ม๋าล่า) และมีคุณค่าในการใช้เป็นสมุนไพร อีกทั้งมีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก เมื่อก่อน เราทำเป็นเครื่องเทศเท่านั้น แต่ละครอบครัวใช้เอง แต่เวลานี้ เราเอาไปขาย ให้คนที่อยู่ข้างนอกรู้ว่า ฮวาเจียวอำเภอจินชวนผลิตในพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 2,800 เมตรขึ้นไป เป็นผลิตภัณฑ์สีเขียวตามธรรมชาติ

เมื่อก่อน ชาวนาปลูกฮวาเจียวอย่างกระจัดกระจาย เวลานี้ได้นำเข้าสหกรณ์มืออาชีพเพื่อปลูกฮวาเจียวอย่างขนานใหญ่ โดยสหกรณ์ไม่เพียงแต่สร้างโอกาสการมีงานทำให้กับชาวนา หากยังรับฝากดูแลผู้ยากจนหลายคน เพื่อประกันให้พวกเขามีรายได้ 3,500 หยวนต่อไป

ไทยมี “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” จีนมี “หนึ่งกลุ่มหนึ่งธุรกิจ”_fororder_图片 花椒

ปีนี้เป็นปีสุดท้ายด้านการขจัดความยากจนของจีน หลายปีมานี้ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ต้องบรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจนตามเวลาที่กำหนดไว้ ประเทศจีนได้ออกมาตรการประการต่าง ๆ เพื่อช่วยพื้นที่ห่างไกลหลุดพ้นความยากจน โดยหมู่บ้านเจียวมู่หนิวได้เดินตามหนทางแห่งการพัฒนาที่ดีในการสร้างชนบทใหม่ด้วยการวางแผน“หนึ่งกลุ่มหนึ่งธุรกิจ” จนได้ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติตามนโยบายการขจัดความยากจนของประเทศ

(Yim/Cui/Lu)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

陆永江