บทวิเคราะห์ :“สัปดาห์ทอง" สะท้อนถึงความยืดหยุ่นและมีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจของจีน

2020-10-10 11:51:48 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์: “สัปดาห์ทอง"  สะท้อนถึงความยืดหยุ่นและมีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจของจีน_fororder_3b292df5e0fe992552a79d15b6b936d88cb171e1

“สัปดาห์ทอง” หรือ หยุดยาวช่วงวันชาติจีน เป็นหน้าต่างมองเศรษฐกิจจีนมาโดยตลอด จากสถิติต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นถึงความกระตือรือร้นในการบริโภคของชาวจีนในช่วงหยุดยาว 8 วันที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 1 - 8 ตุลาคม ยอดขายร้านค้าปลีกและภัตตาคารรายใหญ่ของจีนอยู่ที่ราว 1.6 ล้านล้านหยวน นักท่องเที่ยวในประเทศมีจำนวน 637 ล้านคน รายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศมีมูลค่า 466,560 ล้านหยวน รายได้จากการจำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์ทั่วประเทศมีมูลค่า 3,952  ล้านหยวน ดึงดูดผู้ชมเกือบ 100 ล้านคน นิตยสารนิวยอร์กไทม์ส ระบุ ว่า ผลงานต่าง ๆ ของ "สัปดาห์ทอง" ช่วงหยุดยาววันชาติจีนนั้น  เป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของจีนในการฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19

ปัจจุบัน การพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน เปลี่ยนจากการพึ่งพาการลงทุนและการส่งออกอย่างมาก เป็นพึ่งพาอุปสงค์ภายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะความต้องการด้านการบริโภค ซึ่งมีแนวโน้มรักษาระดับการพัฒนาต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลที่เร่งกระบวนการดังกล่าวและให้การสนับสนุนที่สำคัญแก่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีน

“Barron” นิตยสารทางการเงินของสหรัฐฯ เผยแพร่บทความ ระบุว่า ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีน ถือเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนน่าประทับใจมาก สาเหตุหนึ่งก็คือ รัฐบาลจีนมีการบริหารที่ทรงพลังและประชาชนมีความเชื่อมั่นสูงต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

ตามการคาดการณ์ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก ระบุว่า จีนจะเป็นเศรษฐกิจหลักเพียงแห่งเดียวที่เติบโตเชิงบวกในปีนี้ เมื่อเทียบกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ทั้งนี้ ขบวนรถไฟความเร็วสูง "ประเทศจีน" ซึ่งกำลังวิ่งไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งจะนำพาความเชื่อมั่นและความหวังมาสู่โลกมากขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

Tim/Lei/Zi

  • เสียงข่าวประจำวัน (01-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (01-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (01-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (30-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (30-04-2567)

雷德辛