บทวิเคราะห์:อะไรคือสาเหตุที่ทำให้จีนสร้างปาฏิหาริย์ในการบรรเทาความยากจนของมนุษย์

2020-10-12 20:04:23 | CMG
Share with:

วันที่ 17 ตุลาคมที่จะถึงนี้ เป็นวันบรรเทาความยากจนครั้งที่ 7 ของจีน ซึ่งปีนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นปีที่จีนจะบรรลุการสร้างสังคมมีกินมีใช้รอบด้าน พร้อมกับการสิ้นสุด "แผนห้าปี ฉบับที่ 13" และบรรลุเป้าหมายการขจัดความยากจนอย่างทั่วด้านภายในปี 2020 ตามกำหนด 

ช่วงหลายปีมานี้ จีนได้ขับเคลื่อนการต่อสู้กับความยากจนอย่างจริงจัง ผ่านการทุ่มเทกำลังมากที่สุด ขนาดใหญ่ที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุด และมีผลกระทบในวงกว้างที่สุด ซึ่งเป็นความมหัศจรรย์ในประวัติศาสตร์ของการขจัดความยากจนของมนุษย์ทั่วโลก

ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 จีนมีชาวบ้านยากไร้กว่า 50 ล้านคนหลุดพ้นจากความยากจน จนถึงขณะนี้ อัตราความยากจนลดลงจากร้อยละ 4.5 ในปี 2016 เหลือร้อยละ 0.6 ในปี 2019 ทำให้ความยากจนโดยรวมในภูมิภาคได้รับการแก้ไข รายได้ของผู้ยากไร้เพิ่มขึ้นอย่างมาก  สถิติจากฐานข้อมูลประชากรยากจนทั่วประเทศ แสดงให้เห็นว่า รายได้เฉลี่ยสุทธิต่อคนของผู้ยากจนเพิ่มขึ้นจาก 4,124 หยวนในปี 2016 เป็น 9,057 หยวนในปี  2019 ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 30% โครงสร้างรายได้ของผู้ยากจนได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นโดยส่วนใหญ่มาจากการจ้างงานและแรงงานการผลิต

นักวิเคราะห์มองว่า สาเหตุหลักที่จีนประสบความสำเร็จอย่างมากในการบรรเทาความยากจนมีดังนี้

หนึ่ง การขจัดความยากจนเป็นหนทางเดียวที่จะบรรลุแนวคิด "เจริญรุ่งเรืองร่วมกัน" ของสังคมนิยมจีน นับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ จีนได้ถือการขจัดความยากจน ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และบรรลุความมั่งคั่งร่วมกันเป็นภารกิจที่สำคัญ โดยพยายามขจัดความยากจนบนพื้นฐานของระบบสังคมนิยม ข้อได้เปรียบที่สุดของสังคมนิยม คือ มีความมั่งคั่งร่วมกัน นายเติ้ง เสี่ยวผิง แกนนำรุ่นที่สองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนชี้ให้เห็นว่า ลักษณะที่แตกต่างระหว่างสังคมนิยมกับทุนนิยม คือ มีความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันและไม่มีการแบ่งขั้ว ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดคนปัจจุบันของจีน ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “ความมั่งคั่งร่วมกันเป็นหลักการพื้นฐานของสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีน  ดังนั้น ผลการพัฒนาจึงต้องมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคน ตลอดจนต้องก้าวไปในทิศทางที่มีความมั่นคั่งร่วมกันอย่างมั่นคง”

สอง มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในการขจัดความยากจน หลังจากกว่า 40  ปีของการปฏิรูปและเปิดประเทศ เศรษฐกิจจีนประสบความสำเร็จอย่างมาก ดึงดูดความสนใจจากทั่วโลกและพัฒนาเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลก การพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงความสามารถด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีได้วางรากฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงสำหรับการเอาชนะการต่อสู้กับความยากจนทั่วประเทศ

และสาม ผู้นำที่แข็งแกร่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน การเรียกระดมพลและความเป็นผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นหลักประกันพื้นฐานของการรวบรวมกำลังของทั้งสังคมเพื่อประกาศสงครามกับความยากจน ข้อได้เปรียบของระบบสังคมนิยมซึ่งสามารถรวบรวมความพยายามในด้านสำคัญ ๆ อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภายใต้การนำที่เข้มแข็งของนายสี จิ้นผิง จีนยืนหยัดบรรเทาความยากจนเพื่อชี้นำการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เสริมสร้างทีมงานแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างต่อเนื่องภายใต้รูปแบบ "เลขาธิการ 5 ระดับ" ที่ให้ความสำคัญกับความยากจนและการระดมกำลังทั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนเพื่อขจัดความยากจน ทำให้นโยบายและการบริหารงานได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง จากสถิติระบุว่า เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับแนวหน้าในการบรรเทาความยากจนของหมู่บ้านยากจนทุกแห่งทั่วประเทศ จีนได้จัดส่งคณะทำงานประจำหมู่บ้านและทุกครัวเรือนยากจนมีผู้รับผิดชอบในการช่วยเหลือ เดือนเมษายน ปี 2019 ทั่วประเทศมีการคัดเลือกตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและองค์กรในระดับอำเภอขึ้นไป มากกว่า 3 ล้านคน ให้เข้าร่วมช่วยเหลือหมู่บ้านโดยมีเลขาธิการคนที่หนึ่งจำนวน 206,000 คน และข้าราชการประจำหมู่บ้าน 700,000 คน

หลังบรรลุเป้าหมายการบรรเทาความยากจนอย่างครอบคลุมภายในสิ้นปีนี้ จีนจะบรรลุเป้าหมายการลดความยากจนตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 ของสหประชาชาติก่อนกำหนด 10 ปี เมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี แห่งการก่อตั้งสหประชาชาติ นายบัน คีมุน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า กระบวนการพัฒนาที่ไม่ธรรมดาและยอดเยี่ยมของจีนมีส่วนช่วยอย่างมากต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติในระดับโลก

Tim/kt/lyj

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

陆永江