เมืองซู่เชียน มลฑลเจียงซู พัฒนาหมู่บ้าน“กองขยะ”เป็นสถานที่น่าอยู่

2020-10-17 23:41:31 | CRI
Share with:

เมืองซู่เชียน มลฑลเจียงซู พัฒนาหมู่บ้าน “กองขยะ” เป็นสถานที่น่าอยู่_fororder___172.100.100.3_temp_9500049_1_9500049_1_1_654c9893-6ebd-4347-a8b7-2da992f2f6fb

ในฤดูใบไม้ร่วงที่ต้นไม้เปลี่ยนเป็นสีทอง เมื่อเดินเข้าสู่หมู่บ้านต้าจุ้ง  ตำบลเกิ่งเชอ เขตซู่เฉิง เมืองซู่เชียน มณฑลเจียงซู ก็จะพบเห็นทัศนียภาพอันสวยงามของเขตชนบทอันน่าอยู่โดยทันที

ที่นี่เคยขึ้นชื่อเรื่องธุรกิจรับซื้อของเก่าประเภทพลาสติก แม้จะทำให้หมู่บ้านร่ำรวยแต่ภาวะแวดล้อมกลับนับวันยิ่งแย่ลง

เมืองซู่เชียน มลฑลเจียงซู พัฒนาหมู่บ้าน “กองขยะ” เป็นสถานที่น่าอยู่_fororder___172.100.100.3_temp_9500049_1_9500049_1_1_f6b09f28-0cf4-41b1-a600-75aeb98a5636

ต้นปี 2016 หมู่บ้านต้าจุ้งสนองต่อข้อเรียกร้องให้บำบัดมลพิษจากธุรกิจรับซื้อของเก่าของเมืองซู่เชียนอย่างแข็งขัน โดยเดินบนหนทางการพัฒนาที่ยกระดับอุตสาหกรรมและความเป็นสีเขียว จากหมู่บ้าน “กองขยะ” ที่เคยทำให้ผู้คนที่ผ่านไปมาต้องรีบปิดจมูกหนีกลับมีชื่อเสียงดีขึ้นอีกครั้ง จนถูกยกย่องเป็น “หมู่บ้านเถาเป่าของจีน” และ “หมู่บ้านสวยงามระดับมณฑล”

นายชิว หยุ่งซิ่น วัย 69 ปี นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนมาประกอบธุรกิจ “เฟอร์นิเจอร์จากกระดาษแข็ง” คนแรกของหมู่บ้าน บอกว่า เมื่อก่อนเขาทำธุรกิจรับซื้อของเก่าประเภทพลาสติกก็เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้อง ในที่สุดรวยขึ้นก็จริงแต่ทำลายสภาพแวดล้อมไปด้วย

เมืองซู่เชียน มลฑลเจียงซู พัฒนาหมู่บ้าน “กองขยะ” เป็นสถานที่น่าอยู่_fororder___172.100.100.3_temp_9500049_1_9500049_1_1_5836cf2c-dc28-4ee5-bb61-1f335e61aef9

การเปลี่ยนมาประกอบธุรกิจสีเขียวนั้นก็เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนาให้มั่งคั่งขึ้นแก่ชาวบ้าน นายหยาง ซิวผิง ผู้มีรายได้น้อยที่เคยขึ้นทะเบียนในหมู่บ้าน เป็นผู้พิการจากโรคโปลิโอ และต้องส่งเสียค่าเล่าเรียนลูก 2 คน เขาจึงมีชีวิตที่ลำบากมาก ตั้งแต่ปลายปี 2017 เจ้าหน้าที่ทางหมู่บ้านพบว่า ธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากกระดาษมีตลาดกว้างขึ้นมากจากการพัฒนาอีคอมเมิร์ซ จึงเสนอและช่วยเหลือนายหยาง ซิวผิง เปิดโรงงานผลิตกระดาษแข็งสำหรับใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ นายหยาง บอกว่า ทุกวันนี้ ผมผลิตกระดาษแข็งให้ลูกค้าผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซกว่า 10 รายเป็นประจำ ทุกเดือนจำหน่ายได้ 10 กว่าตัน ตันหนึ่งมีกำไร 500 - 600 หยวน ปัจจุบัน นายหยาง ซิวผิง ถอด “หมวกความยากจน” ไปแล้ว ทั้งยังช่วยสร้างโอกาสการทำงานแก่ผู้ยากไร้ในหมู่บ้านเดียวกันอีก 2 คน ปี 2019 ทั้งหมู่บ้านต้าจุ้งมีรายได้ถึง 2.6 ล้านหยวน รายได้สุทธิเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 19,600 หยวน จนถึงขณะนี้ ผู้ยากจนในหมู่บ้านต้าจุ้งหลุดพ้นจากความยากจนแล้ว 100%

หมู่บ้านมั่งคั่งชาวบ้านร่ำรวยและมีท้องฟ้าที่สวยงาม “ในน้ำมีปลา  บนต้นไม้มีนก ฤดูร้อนได้ยินเสียงจักจั่น พอเดินเล่นตามท้องถนนในหมู่บ้านจะพบเห็นสะพานเล็ก ๆ เหนือลำธารที่มีน้ำไหล ต้นหญ้าเขียวขจี และมีดอกไม้บานสะพรั่ง นายหวาง เจียหยิน เลขาธิการ  คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประจำหมู่บ้านต้าจุ้ง ชี้แม่น้ำสื่อจวงอันใสสะอาดเห็นท้องน้ำพร้อมบอกกับผู้สื่อข่าวว่า ที่นี่เคยเป็น  “ภูเขาพลาสติก” แห่งหนึ่ง หมู่บ้านทุ่มเงินจำนวน 7.8 ล้านหยวนเพื่อกำจัดขยะออกไปจนหมด จากนั้นจึงเทดินลงไปใหม่พร้อมบำบัดน้ำจนสภาพแวดล้อมดีขึ้น

Zhou/Dan/Tim

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

张丹