แคร์รี แลมชี้“หนึ่งประเทศสองระบบ”เป็นข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดของฮ่องกงและเซินเจิ้น

2020-10-19 16:12:45 | CRI
Share with:

แคร์รี แลมชี้“หนึ่งประเทศสองระบบ”เป็นข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดของฮ่องกงและเซินเจิ้น_fororder_20201019lz1

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางแคร์รี แลม (Carrie Lam) ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ได้เข้าร่วมพิธีฉลองครบรอบ 40 ปี การก่อตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น ฟังคำปราศรัยสำคัญของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวที่ฮ่องกงว่าสองคำที่ประทับใจที่สุดคือ “ยึดมั่น” และ “ปฏิรูป”

ในมุมมองของเธอจากเมืองชายฝั่งเมื่อ 40 ปีก่อน พัฒนาเป็นเมืองระดับโลกในปัจจุบัน เป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลกลางสำหรับการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น สำรับฮ่องกงที่ฝ่าความวุ่นวายในช่วงปีที่ผ่านมาก็ยึดมั่นกับ "หนึ่งประเทศสองระบบ" และการเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งการรักษาความมั่นคงของชาติ

ท่ามกลางการปฏิรูปและเปิดประเทศ ทั้งสองเมืองถูกคั่นด้วยแม่น้ำที่มีความเชื่อเดียวกัน เชื่อมต่อใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นในการบรรลุเป้าหมาย เมื่อมองย้อนกลับไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองเมืองในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา นางแคร์รี แลมเห็นว่า 40 ปีแห่งการปฏิรูปและเปิดประเทศในเซินเจิ้น ในด้านการลงทุน จัดตั้งโรงงานและการผลิตช่วงต้น ฮ่องกงเป็นผู้บุกเบิก เมื่อเซินเจิ้นกำลังพัฒนา ฮ่องกงเป็นคนกลางที่ดีที่ช่วยเซินเจิ้นสร้างแพลตฟอร์มเพื่อเชื่อมต่อกับโลก ในปัจจุบันเทคโนโลยีชั้นสูงได้ดึงดูดการลงทุนและบุคลากร ทำให้เซินเจิ้นกลายเป็นเมืองที่มีการสนับสนุนจากทุนต่างชาติมากที่สุด

ในปี 2019  GDP เซินเจิ้นได้แซงหน้าฮ่องกงสองปีซ้อน  แต่ไม่ทำให้เธอกังวลเกี่ยวกับอนาคตของฮ่องกง เธอกล่าวว่า “หนึ่งประเทศสองระบบ” เป็นข้อได้เปรียบที่ใหญ่ที่สุดของฮ่องกงและเซินเจิ้น

เธออธิบายอย่างละเอียดว่าฮ่องกงมีรากฐาน เมื่อ 40 ปีก่อน เซินเจิ้นได้แก้ปัญหาความยากลำบากเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรบุคคลให้กับฮ่องกง ดังนั้นในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ฮ่องกงจึงได้พัฒนาเป็นศูนย์การเงิน ธุรกิจ และการขนส่งของโลก ตอนนี้ในด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ข้อได้เปรียบของฮ่องกงคือมีมหาวิทยาลัยชั้นนำและมีความสามารถในการวิจัย เซินเจิ้นมีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง เปลี่ยนข้อได้เปรียบของฮ่องกงให้เป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ ฮ่องกงยังคงรักษาไว้ซึ่งระบบกฎหมายของตนเองที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล การไหลเวียนของเงินทุนและนโยบายการเงินอย่างเสรี ก็จะเป็นแรงจูงใจที่ดีให้กับการพัฒนาของเซินเจิ้นต่อไป

Bo/Patt/Cui

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

彭少艾