ทำไมจีนจึงตัดสินใจส่งกำลังทหารช่วยเกาหลีเหนือต่อสู้กับสหรัฐฯ

2020-10-23 11:17:29 | CRI
Share with:

--♦--

 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดเมืองและหมู่บ้านต่าง ๆ บริเวณชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

วันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 สงครามเกาหลีอุบัติขึ้น ทางการสหรัฐฯ ดำเนินกลยุทธ์ระดับโลกเพื่อยับยั้งลัทธิคอมมิวนิสต์และดำเนินการแทรกแซงด้วยกำลังอาวุธเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการของกองทัพเกาหลีใต้ในทันที ขณะเดียวกันก็ได้สั่งให้กองเรือที่ 7 ของกองทัพเรือบุกช่องแคบไต้หวันและแทรกแซงกิจการภายในของจีน

วันที่ 7 กรกฎาคม ปีเดียวกัน สหรัฐฯ ควบคุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติโดยมีมติให้ตั้ง "กองกำลังสหประชาชาติ" ซึ่งมีสหรัฐฯ เป็นผู้นำการรุกรานเกาหลีเหนือ ทำให้การแทรกแซงด้วยกำลังอาวุธของสหรัฐฯ ในเกาหลีเหนือเกิดขึ้นในนามของสหประชาชาติ เปลี่ยนสงครามเกาหลีซึ่งเป็นสงครามภายในให้เป็นสงครามการรุกรานและการต่อต้านการรุกราน

เครื่องบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งรุกรานเกาหลีเหนือได้รุกล้ำเข้ามายังน่านฟ้าจีนอย่างต่อเนื่องโดยทิ้งระเบิดและยิงใส่เมืองและหมู่บ้านบริเวณชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ปลายเดือนกันยายนปีเดียวกัน กองกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐฯ รุกมาถึงเส้นขนานที่ 38 เตรียมที่จะข้ามและเข้าโจมตีทางเหนือต่อไป

ทำไมจีนจึงตัดสินใจส่งกำลังทหารช่วยเกาหลีเหนือต่อสู้กับสหรัฐฯ_fororder_1

ภาพ:  27 สิงหาคม ค.ศ. 1950 เครื่องบินกองทัพสหรัฐฯ บุกโจมตีเมือง อันตงของจีน (ปัจจุบันชื่อเมืองตานตง) ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 คนและบาดเจ็บอีก 19 คน

ทำไมจีนจึงตัดสินใจส่งกำลังทหารช่วยเกาหลีเหนือต่อสู้กับสหรัฐฯ_fororder_2

ภาพ: วันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2493 เครื่องบินกองทัพสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดเมืองอันตงของจีนอีกครั้ง (บริเวณเส้นสีขาว คือ พื้นที่ทิ้งระเบิดของเครื่องบินสหรัฐฯ) คร่าชีวิตผู้คน 2 คน และทำลายบ้านเรือนมากกว่า 20 แห่ง

--♦--

"ประชาชนจีนรักสงบ แต่เพื่อปกป้องสันติภาพพวกเขาไม่เคยและไม่กลัวที่จะทำสงครามต่อต้านการรุกรานอย่างเด็ดขาด"

 รัฐบาลและประชาชนจีนออกมาประท้วงและเตือนอย่างรุนแรงต่อการกระทำที่ก้าวร้าวและยั่วยุของสหรัฐฯ นายโจว เอินไหล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวเตือนทางการสหรัฐฯ ในนามของรัฐบาลจีนว่า  "ประชาชนจีนรักสันติ แต่เพื่อปกป้องสันติภาพพวกเขาไม่เคยและไม่กลัวที่จะต่อต้านสงครามรุกราน กองทัพสหรัฐฯ พยายามข้ามเส้นขนานที่ 38 และขยายสงคราม หากกองทัพสหรัฐฯ ทำเช่นนี้จริง จีนจะทนดูไม่ได้และต้องเข้าควบคุม”

ทำไมจีนจึงตัดสินใจส่งกำลังทหารช่วยเกาหลีเหนือต่อสู้กับสหรัฐฯ_fororder_3

ภาพ: เส้นขนานที่ 38 จุดชนวนสงคราม

อย่างไรก็ตาม ทางการสหรัฐฯ เชื่อว่า คำเตือนของรัฐบาลจีนเป็นเพียง "คำขู่ปลอม" จีนไม่มีกำลังหรือความกล้าที่จะแข่งขันกับกองทัพสหรัฐฯ ดังนั้น พวกเขาจึงไม่สนใจคำเตือนของจีนและเดินหน้าบนหนทางของตัวเอง วันที่ 7 ตุลาคมปีเดียวกัน กองกำลังภาคพื้นดินของกองทัพสหรัฐฯ ข้ามเส้นขนานที่ 38 เปิดฉากโจมตีพรมแดนระหว่างจีน-เกาหลีเหนือ ซึ่งขยายเข้าไปยังดินแดนจีน เกาหลีเหนือตกอยู่ภายใต้สถานการณ์วิกฤต ขณะที่ ความมั่นคงของจีนแผ่นดินใหญ่ถูกคุกคามอย่างหนัก คณะกรรมการกลางพรรคแรงงานเกาหลีเหนือและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีจึงขอจีนส่งกองกำลังมาช่วยเหลือ

--♦--

จีนในเวลานั้นยกทัพสู้สหรัฐฯ จะเอาชนะได้อย่างไร

เวลานั้น ประเทศจีนใหม่สถาปนาขึ้นเพียงปีเดียว ยังไม่มีความเป็นเอกภาพโดยสมบูรณ์ ต้องจัดการปัญหาแผลจากสงครามที่ยาวนาน ทั่วประเทศยากจนและว่างเปล่า งานปฏิรูปที่ดินในเขตปลดปล่อยใหม่เพิ่งเริ่มขึ้น กองโจรและสายลับยังไม่ได้ถูกปราบปรามสิ้น ยุทโธปกรณ์และการทหารล้าหลังมาก กองกำลังทหารในสมรภูมิส่วนใหญ่ได้แบกรับหน้าที่สนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจประชาชาติและการผลิตด้านอุตสาหกรรมและการเกษตร ขาดแคลนการซ้อมรบ เจ้าหน้าที่ ทหารและพลเมืองบางส่วนไขว่คว้าสันติสุขเกลียดสงคราม ระเบียบทางการเมือง ทางเศรษฐกิจและชีวิตสังคมยังไม่มีกฎเกณฑ์พอ

การตัดสินใจยกทัพช่วยเกาหลีเหนือที่ต้องรบกับสหรัฐฯ โดยตรง ไม่ว่ากำลังเศรษฐกิจหรือยุทโธปกรณ์การทหาร จีนในสมัยนั้นไม่มีอะไรเทียบกับสหรัฐฯได้เลย การพัฒนาทุนนิยมของสหรัฐฯ มีประวัติศาสตร์มา 175 ปีแล้ว อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมีความเจริญ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แซงหน้าขึ้นเป็นประเทศแข็งแรงอันดับหนึ่งของโลกทุนนิยม ปีค.ศ. 1950 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ(จีเอ็นพี)ของจีนภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรเป็นเพียง 1 ใน 12 ของสหรัฐฯ ส่วนกำลังการผลิตเหล็กกล้าคิดเป็น 1 ใน 144 ของสหรัฐฯ

ขณะนั้นกองทัพสหรัฐฯ เป็นกองกำลังที่ทันสมัยมากที่สุดในโลก โดยสหรัฐฯ มีกองทัพเรือ กองทัพอากาศ และยังมีระเบิดปรมาณู ตั้งแต่เริ่มสงครามเกาหลี ก็ส่งเครื่องบินรบถึง 1,100 ลำ เรือรบเกือบ 300 ลำมาทำสงคราม แต่กองทัพเรือและกองทัพอากาศของทหารปลดปล่อยประชาชนจีนยังอยู่ในช่วงก่อตั้ง ไม่ได้กลายเป็นกำลังเข้มแข็งที่พร้อมสู้รบ หน่วยทหารป้องกันชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นกองกำลังทหารที่มียุทโธปกรณ์ดีที่สุดของทหารปลดปล่อยประชาชนจีน ไม่มีทั้งรถถังและรถยานเกราะ ไม่มีอาวุธต่อสู้ทางอากาศ ส่วนอาวุธที่ใช้ต้านรถถังก็เป็นเพียงบาซูก้า 3 ลูกของหน่วยทหารราบ

ทำไมจีนจึงตัดสินใจส่งกำลังทหารช่วยเกาหลีเหนือต่อสู้กับสหรัฐฯ_fororder_4

ภาพ: รถถังสหรัฐฯ 

จีนยกทัพรบกับทหารสหรัฐฯ จะชนะได้อย่างไร? กำลังเศรษฐกิจของจีนสามารถสนับสนุนให้ทำสงครามกับสหรัฐฯ ได้หรือ? คำถามเหล่านี้ ประธานเหมา เจ๋อตงได้ขบคิดมาตลอด

นายกฯโจว เอินไหล นายพลเผิง เต๋อหวัย นายพลเนี่ย หรงเจิน และนายหู เฉียวมู่ล้วนเคยกล่าวว่า เวลานั้น คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องทำการตัดสินใจสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ จะก่อตั้งกองทหารอาสาสมัครประชาชนจีนช่วยเกาหลีเหนือต้านทัพสหรัฐฯ เพื่อปกป้องประเทศเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่าย ประธานเหมา เจ๋อตงก็เคยพูดเช่นกันว่า การเจรจาปัญหานี้ มีหลายวันนอนไม่เคยหลับ

ทำไมจีนจึงตัดสินใจส่งกำลังทหารช่วยเกาหลีเหนือต่อสู้กับสหรัฐฯ_fororder_5

ภาพ:  ทหารอาสาสมัครประชาชนจีนขณะข้ามแม่น้ำยาลู่เจียง

--♦--

ทำไมจีนจึงตัดสินใจส่งกำลังทหารช่วยเกาหลีเหนือต่อสู้กับสหรัฐฯ

จีนเผชิญความอยากลำบากรุนแรงหลายประการ ขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและยุทโธปกรณ์ต่างจากสหรัฐฯ อย่างมาก เหตุใดคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนตัดสินใจส่งทหารไปช่วยเกาหลีเหนือสู้รบกับหรัฐฯ นั้น  มีสาเหตุหลายประการและมีเหตุผลหลัก 3 ประการ ดังนี้

1.    เกาหลีเหนือได้ขอความช่วยเหลือ โดยคณะกรรมการกลางพรรคแรงงานเกาหลีเหนือ และรัฐบาลเกาหลีเหนือได้ส่งคำขอมายังจีน เพื่อให้จัดส่งกำลังทหารและความช่วยเหลือ  พรมแดนเกาหลีเหนือ-จีนกั้นด้วยแม่น้ำยาลู่ สองประเทศจึงมีสถานการณ์ดั่งคำกล่าวของจีนที่ว่า “หากริมฝีปากเสีย ฟันก็ไม่อาจพ้นได้ หากประตูถูกทำลายห้องก็จะตกอยู่ในภาวะอันตราย” ระหว่างสงครามปลดแอกภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เกาหลีเหนือมีบทบาทเป็นเหมือนฐานทัพใหญ่ของกองกำลังปลดแอกภาคอีสาน โดยชาวเกาหลีเหนือจำนวนมากแสดงบทบาทสำคัญในการมีชัยชนะเหนือสงครามการปฏิวัติของจีน

ทำไมจีนจึงตัดสินใจส่งกำลังทหารช่วยเกาหลีเหนือต่อสู้กับสหรัฐฯ_fororder_6

ภาพ: เครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพสหรัฐฯ

2.    เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของจีน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจีนหรือประเทศอื่นใด การตัดสินใจสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ผู้นำสูงสุดทุกประเทศต้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานของประเทศก่อน การตัดสินใจส่งทหารช่วยเกาหลีเหนือต่อสู้กับสหรัฐฯ ก็เช่นกัน

ควบคู่ไปกับการแทรกแซงสงครามภายในเกาหลีเหนือ สหรัฐฯ ยังได้สั่งให้กองเรือหมายเลข 7 รุกประชิดช่องแคบไต้หวัน เพื่อแทรกแซงกิจการภายในของจีน ขณะเดียวกัน เครื่องบินรบสหรัฐฯ ในสงครามเกาหลีเหนือยังได้ทิ้งระเบิดใส่ตัวเมืองและเขตชนบทตามพรมแดนทางภาคอีสานของจีนเรื่อย ๆ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม ส่วนทหารราบก็ได้เดินทัพมุ่งหน้ายังพรมแดนจีน-เกาหลีเหนือ ถือเป็นภัยต่อความมั่นคงทางภาคอีสานของจีนอย่างมาก จอมพล เผิง เต๋อหวาย ระบุในหนังสือเรื่อง “คำบอกเล่าของเผิง เต๋อหวาย” ว่า “สหรัฐฯ ได้ยึดครองเกาหลีเหนือ ซึ่งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำตรงข้ามกับจีน ถือเป็นภัยคุกคามต่อภาคอีสานของจีน ทั้งยังควบคุมไต้หวันของจีน คุกคามนครเซี่ยงไฮ้ และบริเวณหวาตง (ภาคตะวันออก) ของจีนด้วย หากสหรัฐฯ มุ่งก่อสงครามรุกรานจีน ก็สามารถมีข้ออ้างได้ทุกเมื่อ เสือย่อมกินคน เมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับท้องของมันเอง เราไม่สามารถอ่อนข้อกับมันได้ หากเขามารุกราน พวกเราก็จะต่อต้าน หากไม่ต่อสู้กับสหรัฐฯ พวกเราก็จะมีความยากลำบากในการสร้างสังคมนิยม” นายโจว เอินไหล อดีตนายกรัฐมนตรีจีน ชี้ว่า จีนและเกาหลีเหนือเป็นประเทศเพื่อนบ้านเหมือนริมฝีปากกับฟัน ซึ่งหากริมฝีปากเสียไป ฟันก็ไม่สามารถอยู่รอดได้ หากเกาหลีเหนือถูกสหรัฐฯ กดดันและควบคุม ภาคอีสานของจีนก็ไม่อาจมีความมั่นคงได้ อุตสาหกรรมหนักของจีนอยู่ที่ภาคอีสานกว่าครึ่ง ส่วนอุตสาหกรรมในภาคอีสาน มี 50% อยู่ทางใต้ (ของภาคอีสาน) ซึ่งล้วนอยู่ในบริเวณที่สหรัฐฯ ทิ้งระเบิดโจมตี หากสหรัฐฯ โจมตีจนถึงริมฝั่งแม่น้ำยาลู่ พวกเราจะดำเนินการผลิตอย่างมั่นคงได้อย่างไร

ทำไมจีนจึงตัดสินใจส่งกำลังทหารช่วยเกาหลีเหนือต่อสู้กับสหรัฐฯ_fororder_7

ภาพ: แนวการโจมตีของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1950

ค.ศ. 1950 สงครามเกาหลีอุบัติขึ้น เดือนกันยายน สหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ ในนามของ “กองกำลังสหประชาชาติ“ ยกพลขึ้นบกที่เมืองอินชอน ข้ามเส้นแบ่งทางทหาร ใกล้กับละติจูดที่ 38 องศาเหนือ และก่อสงครามทางภาคเหนือของคาบสมุทรเกาหลี พร้อมเดินหน้าเข้าสู่พรมแดนจีนและเกาหลีเหนืออย่างรวดเร็ว

3. คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งกองกำลังป้องกันชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมเตรียมกำลังทหารให้พร้อม หากสงครามเกาหลีปะทุขึ้น ฝ่ายสหรัฐฯ เองก็รีบใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซงก่อนสงครามจะเริ่มขึ้น แม้เกาหลีเหนือไม่เคยขอความช่วยเหลือจากจีน แต่ประธานเหมาและนายกฯ โจว เอินไหล ตระหนักว่า จีนจำเป็นต้องเตรียมตัวไว้ก่อน ดังนั้น หลังสงครามเกาหลีเกิดขึ้นเพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์ และกองทัพสหรัฐฯ บุกเข้าเกาหลีเหนือได้เพียง 1 สัปดาห์ วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1950  คณะกรรมการการทหารส่วนกลางของจีนก็ได้เริ่มตั้งกองกำลังป้องกันชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประกอบด้วยทหารจากกองทัพป้องกันประเทศรวมกว่า 225,000 นาย ออกปฏิบัติการยังภาคตะวันออกของมณฑลเหลียวหนิงและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลจี๋หลิน เพื่อพิทักษ์พื้นที่ชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนและสนับสนุนประชาชนเกาหลีเหนือต่อต้านการรุกราน การวางแผนของกองกำลังป้องกันชายแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเป้าหมายหลักคือทหารสหรัฐฯ และกำหนดเกาหลีเหนือเป็นพื้นที่ทำสงคราม

จากสาเหตุ 3 ประการดังกล่าว คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน จึงออกคำสั่งให้ช่วยเหลือเกาหลีเหนือ โดยประธานเหมา เจ๋อตง ชี้ว่า “พวกเราไม่เคยหวังก่อสงคราม แต่หากฝ่ายตรงข้ามต้องการทำสงคราม พวกเราก็ต้องต่อสู้ ต่างคนต่างใช้วิธีของตน หากเขาใช้ระเบิดปรมาณู เราก็ใช้ระเบิดมือโจมตีจุดอ่อนของเขาไม่หยุดจนเอาชนะให้ได้” คำกล่าวของประธานเหมาแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญองอาจของเขาและพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ไม่เกรงกลัวต่อศัตรูอันแข็งแกร่ง กล้าต่อสู้เพื่อเอาชนะจนสำเร็จ ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การตัดสินใจช่วยเหลือเกาหลีเหนือต่อต้านสหรัฐฯ ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ทหารอาสาของจีนต่อสู้บนสนามรบในเกาหลีเหนือ ทำให้ลัทธิครองความเป็นใหญ่ของสหรัฐฯ พ่ายแพ้ถอนกำลังทหารจากริมฝั่งแม่น้ำยาลู่ ไปยังเส้นขนานที่ 38 ซึ่งทำให้ทั่วโลกตกตะลึง การที่จีนสนับสนุนเกาหลีเหนือต่อต้านสหรัฐฯ ช่วยรักษาความมั่นคงของสถานการณ์ภายในเกาหลีเหนือ พิทักษ์ความมั่นคงของจีนแผ่นดินใหญ่ อีกทั้งยังพิทักษ์สันติภาพของทวีปเอเชีย ตลอดจนทั่วโลก การที่ทหารจีนเดินทางไปทำสงครามในต่างประเทศสร้างภาพลักษณ์ใหม่แก่ทหารและประเทศ เปลี่ยนภาพลักษณ์เก่าของจีนที่เคยเป็นประเทศอ่อนแอและมีฐานะค่อนข้างต่ำในประชาคมโลกไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ เป็นการสร้างกำลังใจอย่างมากแก่ชนชาติและประชาชนที่ถูกกดขี่ทั่วโลกให้ลุกขึ้นเป็นเอกราชและมีเสรีภาพ

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

彭少艾