บทวิเคราะห์:จีนออกมาตรการอำนวยความสะดวกผู้สูงวัย สะท้อนความอบอุ่นอารยธรรมสังคม

2020-10-30 22:10:47 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

หลายวันก่อน จีนเพิ่งผ่าน “เทศกาลฉงหยาง” ซึ่งเป็นเทศกาลดั้งเดิมที่ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน และเนื่องจากเลข 9 สองตัวออกเสียงในภาษาจีนว่า “จิ๋วจิ่ว” พ้องเสียงกับคำที่มีความหมายว่า “อายุยืน” ดังนั้น นับแต่อดีตชาวจีนจะมีความรู้สึกพิเศษต่อเทศกาลฉงหยาง และมองว่าเป็นเทศกาลของผู้สูงวัยด้วย ซึ่งการเคารพและกตัญญูต่อผู้เฒ่าผู้แก่เป็นคุณธรรมอันดีงามแต่ดั้งเดิมของประชาชาติจีน และการให้ความช่วยเหลือก็ถือเป็นหน้าที่ร่วมกันของทั้งสังคม

ปัจจุบัน เทคโนโลยีอัจฉริยะและสารสนเทศมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงใหม่ทุกวัน ชีวิตของผู้คนสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ต้องเดินออกจากบ้าน ก็สามารถสั่งอาหารส่งถึงบ้านได้ กดมือถือไม่กี่ครั้งก็สามารถจ่ายค่าน้ำค่าไฟค่าแก๊สได้ หรือจะออกเดินทางก็เรียกรถผ่าน APP ได้อย่างง่ายดายเช่นกัน

ขณะเดียวกัน ภายใต้สถานการณ์ป้องกันควบคุมโควิด-19 การโชว์ “HealthKit” ยืนยันสุขภาพก่อนเข้าพื้นที่สาธารณะก็กลายเป็นขั้นตอนจำเป็น ไม่ว่าจะไปห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ โรงพยาบาล สถานีรถไฟหรือสนามบิน ล้วนต้องโชว์ HealthKit ก่อน แม้กระทั่งผู้เชี่ยวชาญต่างชาติของซีอาร์ไอก็ใช้ HealthKit ฉบับภาษาอังกฤษอย่างคุ้นเคย

ต้องยอมรับว่า นโยบายดังกล่าวของจีนสะท้อนให้เห็นถึงความคิดที่ถือความปลอดภัยทางชีวิตของประชาชนสำคัญเป็นอันดับแรกมาโดยตลอด ได้อาศัยเทคโนโลยีบิ๊กดาต้า แสดงบทบาทสำคัญในการป้องกันควบคุมโรค และติดตามสถานการณ์อย่างตรงจุด แต่ขณะเดียวกัน ตอนนี้ความท้าทายจากการก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยที่ล่อแหลมยิ่งขึ้น จึงมีปรากฏการณ์ที่ผู้สูงวัยบางคนประสบความยากลำบาก เนื่องจากไม่มีมือถืออัจฉริยะหรือไม่คุ้นเคยการใช้งานเทคโนโลยีและอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลาย

เนื่องจากไม่สามารถโชว์ HealthKit การเดินทางจึงถูกจำกัด เมื่อลงทะเบียนผ่านระบบไม่เป็น การไปโรงพยาบาลรักษาโรคก็มีความยากลำบากด้วย ภายใต้กระแสดิจิตอลและความเป็นอัจฉริยะ ผู้สูงวัยบางคนของจีนต้องเจออุปสรรคที่ยากจะหลบหลีก

แต่สถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์ระยะยาวแน่นอน กลุ่มผู้สูงวัยของจีนย่อมไม่ถูกมองข้ามหรือทอดทิ้งเนื่องจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ชาวเน็ตได้โพสต์เรื่องสถานีรถไฟอู๋ซีเปิดช่องทางพิเศษสำหรับผู้สูงวัยและกลุ่มคนที่ไม่สามารถแสดง HealthKit และได้รับความชื่นชมบนโลกออนไลน์อย่างมาก โดยสถานีรถไฟแห่งนี้ได้เปิดช่องทางสำหรับผู้ใช้มือถือรุ่นเก่า ไม่มีวีแชท หรือไม่มีมือถือ โดยอาสาสมัครจะช่วยแก้ปัญหาตามรูปการณ์ของแต่ละคน และเขียนใบรับรองเพื่อให้ออกจากสถานีได้ แต่ละวันมีกว่า 1,000 คนได้รับความสะดวกสบายจากนโยบายนี้ มาตรการที่อบอุ่นได้รับการกดไลค์จากชาวเน็ตอย่างมาก

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีการรายงานข่าวว่า โรงพยาบาลบางแห่งในกรุงปักกิ่งก็ได้เปิดช่องทางลงทะเบียนสำหรับผู้สูงวัยอายุ 70 ปีขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้ป่วยสูงวัยเข้ารับการรักษาพยาบาลได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ วันที่ 27 ตุลาคม สมาคมการธนาคารแห่งประเทศจีนก็ได้ประกาศข้อริเริ่มว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ผู้บริโภคตามกฎหมาย และรักษาการหมุนเวียนใช้เงินสดหยวน โดยจะพัฒนาการบริการผ่านออนไลน์ไปพร้อมคงการบริการผ่านเคาน์เตอร์และอุปกรณ์ฝากถอนเงินสด เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภคในการเลือกช่องทางรับบริการด้วยตนเอง

การนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำมาซึ่งการพัฒนาและความสะดวกสบาย แต่ชีวิตก็ต้องการน้ำใจจากเพื่อนมนุษย์เพื่อให้สังคมนี้มีความอบอุ่นด้วย มาตรการที่เน้นความเป็นมนุษย์และอบอุ่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่าจีนเป็นประเทศที่มีความอบอุ่นและถือมนุษย์เป็นที่ตั้ง ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง

ตามที่คาดการณ์ไว้ ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 ของจีน ประชากรผู้สูงวัยจะทะลุ 300 ล้านคน จะก้าวพ้นจากยุคสังคมผู้สูงวัยระดับเบาไปสู่ระดับกลาง และในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า พ่อแม่ที่มีลูกคนเดียวรุ่นแรกจะก้าวสู่วัยสูงอายุ การรับมือกับความท้าทายของสังคมผู้สูงอายุจะเป็นโครงการที่ดำเนินไปอย่างเป็นระบบ การแก้ไขอุปสรรคทางเทคนิคเป็นเพียงงานหนึ่ง การให้ผู้สูงวัยทั้งหลายได้รับการดูแล มีที่พึ่ง ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานและปลอดภัยจะเป็นทิศทางความพยายามแบบทุ่มสุดตัวของรัฐบาลจีน

(Yim/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

崔沂蒙