บทวิเคราะห์ : จีนมุ่งเป้าพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว ร่วมสร้างโลกที่สะอาดและสวยงาม

2020-11-02 14:49:32 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์ : จีนมุ่งเป้าพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว ร่วมสร้างโลกที่สะอาดและสวยงาม

ช่วง 5 ปีข้างหน้า ยอดปริมาณการปล่อยมลพิษของจีนจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2035 ปริมาณการปล่อยคาร์บอนจะลดลงอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ระบบนิเวศจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป้าหมายการสร้างจีนที่สวยงามบรรลุผลสำเร็จในขั้นพื้นฐาน... ทั้งนี้ แผนการพัฒนาในอนาคตของจีนที่ระบุไว้ตามแถลงการณ์การประชุมเต็มคณะของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 5 ชุดที่ 19 ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์ระบบนิเวศและการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นจุดเด่น ที่ทำให้ประชาคมโลกเห็นถึงความเชื่อมั่นและตั้งใจจริงของจีนที่จะมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

จีนเป็นประเทศใหญ่ที่มีประชากร 1,400 ล้านคน ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จีนให้ความสำคัญอย่างสูงและมีการลงทุนในด้านการอนุรักษ์ระบบนิเวศเป็นจำนวนมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 การปล่อยคาร์บอนต่อหน่วยจีดีพีของจีนลดลงอย่างต่อเนื่อง การใช้พลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิลครองสัดส่วน 15.3% ของการใช้พลังงานทั้งหมด

บทวิเคราะห์ : จีนมุ่งเป้าพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว ร่วมสร้างโลกที่สะอาดและสวยงาม

ปัจจุบัน การยืนหยัดหนทางการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในแนวคิดสำคัญของพรรครัฐบาลจีน องค์การที่เกี่ยวข้องคาดว่า จนถึงปี 2035 มูลค่าการผลิตด้านเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะสูงถึง 12 ล้านล้านหยวน ครองสัดส่วน 8% ของจีดีพี จนถึงปี 2035 มีหวังจะเกินกว่า 10% ของจีดีพี

จีนเป็นประเทศใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ และกำลังเข้าร่วมกระบวนการรักษาระบบนิเวศของโลกอย่างแข็งขัน ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จีนได้นำหน้าประกาศ “แผนการและกำหนดการการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030” ผลักดันการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม “ข้อตกลงปารีส” และบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอน 2020  ที่จีนประกาศต่อประชาคมโลกก่อนกำหนดเวลา เมื่อเร็วๆ นี้ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนประกาศว่า จีนจะใช้ความพยายามทำให้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไม่เพิ่มขึ้นอีกก่อนปี 2030 และพยายามบรรลุเป้าหมายปริมาณการปล่อยและการดูดซับขจัดคาร์บอนมีความเท่าเทียมกัน (Carbon neutral target) นายมาร์ก เลวิเน นักวิจัยนโยบายพลังงานที่เคยทำงานที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Lawrence Berkeley ของสหรัฐฯ เห็นว่า การที่จีนกำหนดเป้าหมายดังกล่าว อาจจะเป็นการส่งเสริมให้ประเทศอื่นใช้ปฏิบัติการเป็นบวกมากยิ่งขึ้น

ประเทศจีนที่กำลังปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อมจะยืนหยัดหลักการรักษาระบบนิเวศสำคัญเป็นอันดับแรก พยายามเข้าร่วมกระบวนการรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต นำภูมิปัญญาและกำลังจีนร่วมกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมมนุษย์มากยิ่งขึ้น

(Yim/Lin/Yanzi)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

林钦亮