บทวิเคราะห์ : สินค้าเล็ก ๆ สะท้อนภารกิจยิ่งใหญ่เพื่อการพัฒนาร่วมกัน

2020-11-09 17:11:42 | CRI
Share with:

มหกรรมสินค้านำเข้านานาชาติ ครั้งที่ 3 ของจีนที่กำลังจัดขึ้นไม่เพียงแต่มีเทคโนโลยีระดับสูงเท่านั้น หากยังมีอาหารดั้งเดิมและเครื่องหัตถกรรมพื้นบ้านจากทั่วโลกซึ่งจำนวนมากมาจากประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา

นักธุรกิจหญ้าฝรั่นจากอัฟกานิสถาน หวังว่า จะสามารถหาลูกค้ารายใหญ่ได้ภายในงานมหกรรมครั้งนี้ โดยสำหรับนักธุรกิจต่างชาติแล้ว มหกรรมสินค้านำเข้านานาชาติถือเป็นประตูเข้าสู่ตลาดจีนซึ่งผ่านการพิสูจน์มาแล้วหลายครั้ง ตัวอย่างเช่น หลังน้ำพริกของรวันดาจัดแสดงที่มหกรรมฯ ครั้งแรกในปี 2018 ก็เข้าสู่ตลาดจีนโดยมีช่องทางจัดจำหน่ายผ่านอีคอมเมิร์ซจนกลายเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมและมียอดสั่งซื้อจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเรื่องในลักษณะเดียวกัน ภายในมหกรรมครั้งแรกและครั้งที่สอง ศูนย์การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งองค์การสหประชาชาติและองค์การการค้าโลกร่วมกันก่อตั้งขึ้น จัดให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมราว 100 แห่งจากประเทศด้อยพัฒนาที่สุดกว่า  20 ประเทศเข้าร่วม ผู้รับผิดชอบของศูนย์ฯ กล่าวว่า งาน CIIE เป็นช่องทางดีที่สุดในการเข้าตลาดจีนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

เช่นเดียวกับปีก่อน ๆ ปีนี้ จีนต้อนรับและอำนวยความสะดวกมากพอสมควรแก่ประเทศด้อยพัฒนาที่มาร่วมแสดงสินค้า รวมทั้งให้บริการพื้นที่จัดนิทรรศการ บริการขนส่งสินค้า และจัดการเจรจาธุรกิจกับคู่ค้าโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ปีนี้ ประเทศด้อยพัฒนาที่สุด 30 แห่งร่วมจัดนิทรรศการบนพื้นที่กว่า 4,000 ตารางเมตร ถือเป็นมาตรการช่วยเหลืออันล้ำค่าภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่กระทบต่อการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าทั่วโลก

นายคีธ ร็อคเวลล์ โฆษกองค์การการค้าโลก กล่าวว่า มหกรรมสินค้านำเข้านานาชาติจีนเป็นช่องทางแนะนำธุรกิจจากประเทศด้อยพัฒนาให้กับธุรกิจจีนและทั่วโลก ทั้งยังช่วยให้พวกเขามีโอกาสเข้าสู่ระบบการค้าโลก

แน่นอนว่าความพยายามของจีนจะช่วยให้โลกปรับสภาพขาดสมดุลทางการพัฒนาให้ดีขึ้น ตลอดจนทำให้โลกนี้ไม่มี “ผู้ที่ถูกลืม” และพัฒนาก้าวหน้าร่วมกันในที่สุด

Tim/Chu/Zhou

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

韩楚