บทวิเคราะห์ : ทั่วโลกวิจารณ์ปัญหาสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ

2020-11-12 18:38:23 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์ : ทั่วโลกวิจารณ์ปัญหาสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ

เมื่อเร็วๆ นี้ ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้พิจารณาบันทึกสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ โดยมีกว่า 110 ประเทศ รวมถึงประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ออกมาประณามหรือให้ข้อเสนอสหรัฐฯ ที่ในวันเดียวกันจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐฯ มีมากกว่า 10 ล้านคน ขณะที่มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เกือบ 240,000 คน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเป็น “ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน” กำลังมีปัญหาสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง

ในฐานะประเทศที่มีความสามารถทางด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และทรัพยากรด้านสาธารณสุข จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตของสหรัฐฯ กลับอยู่ในอันดับแรกของโลก คำถามคือเหตุใดสิทธิด้านการมีชีวิตและการพัฒนาซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวอเมริกันจึงถูกลิดรอนมากขนาดนี้

บทวิเคราะห์ : ทั่วโลกวิจารณ์ปัญหาสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ

คำตอบคือการที่นักการเมืองสหรัฐฯ ถือการเลือกตั้งและผลประโยชน์อยู่เหนือชีวิตประชาชน โดยพวกเขามองข้ามหลักวิทยาศาสตร์ รับมือกับการแพร่ระบาดของโรคอย่างล่าช้า ใช้โควิด-19 เป็นเครื่องมือทางการเมือง โยนความผิดให้ผู้อื่น และมุ่งหาคนที่จะเป็นผู้รับผิดแทน พวกเขามองข้ามข้อเสนอของผู้เชี่ยวชาญ ผ่อนคลายมาตรการรับมือกับโควิด-19 หลายต่อหลายครั้ง เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ วอชิงตันโพสต์กล่าวถึงความไม่รับผิดชอบ และการใช้ปฏิบัติการอย่างหละหลวมของพวกเขาว่า เป็น “การปลิดชีพที่ได้รับการอนุญาตจากผู้บริหารประเทศ” ซึ่งผู้สูงวัยและชนกลุ่มน้อยกลายเป็นผู้ประสบภัยร้ายแรงที่สุดจากโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ คดีที่ชายอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันถูกยิงเสียชีวิตในท่าคุกเข่า และคดีอื่นๆ อีกจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าความรุนแรงของตำรวจสหรัฐฯ ทำให้คนกลุ่มน้อยใช้ชีวิตยากลำบาก ความไม่เท่าเทียมทางด้านเชื้อชาติ การใช้อำนาจในทางที่ผิดนั้น กำลังทวีความรุนแรงขึ้นอย่างไม่มีสำนึก

บทวิเคราะห์ : ทั่วโลกวิจารณ์ปัญหาสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ

สหรัฐฯ มีปัญหาสิทธิมนุษยชนร้ายแรงภายในประเทศ ขณะที่นักการเมืองสหรัฐฯ ยังสร้างปัญหาด้านมนุษยธรรมในประเทศต่างๆ ทั่วโลกบ่อยครั้ง เช่น การคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ ทำให้ประชาชนอิหร่านภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ใช้ชีวิตอย่างยากลำบากมากขึ้น

ทั่วโลกได้ประจักษ์แล้วว่าพวกเขาไม่ได้ “หวงแหนและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน” อย่างที่บอก แต่กลับเป็นการ “แทรกแซงและทำลาย” สิทธิมนุษยชนอย่างเปิดเผย

Bo/Ldan/Zhou

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

李丹丹