ผู้สร้างประโยชน์สุขแก่เกษตรกรปลูกผัก

2020-11-26 20:19:09 | CRI
Share with:

ผู้สร้างประโยชน์สุขแก่เกษตรกรปลูกผัก

สำหรับประเทศจีน ซึ่งมีประชากรจำนวนกว่า 1,400 ล้านคน เกษตรกรรมนับเป็นกิจการสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาปากท้องของชาวจีนโดยตรง การพัฒนาการเกษตรในสมัยปัจจุบันต้องอาศัยความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นหลัก วันนี้ ขอแนะนำผู้ที่มีคุณูปการโดดเด่นต่อการพัฒนาทางการเกษตรของจีน และสร้างผลประโยชน์แก่เกษตรกรปลูกผักด้วยเทคโนโลยีอย่างมาก

นางเฉิน ชุนซิ่ว เกิดในปี 1960 เป็นนักวิจัยศูนย์การวิจัยผักสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรและป่าไม้กรุงปักกิ่ง ได้มีส่วนร่วมในโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ 47 โครงการ ได้รับรางวัลใหญ่ 15 รายการ เช่น รางวัลที่ 1 ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกระทรวงการเกษตรจีน รางวัลที่ 1 ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกรุงปักกิ่ง รางวัลที่ 3 ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระดับชาติ เป็นต้น

นอกจากนี้ เธอยังได้รับการคัดเลือกเป็นผู้สร้างคุณูปการโดดเด่นของกรุงปักกิ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรที่ช่วยเหลือเกษตรกรด้วยเทคโนโลยี บุคคลดีเด่นด้านเศรษฐกิจชานเมืองกรุงปักกิ่ง บุคคลยอดเยี่ยมในการช่วยเหลือผู้ยากจนของจีน และผู้มีคุณูปการโดดเด่นในการเผยแพร่เทคโนโลยีการเกษตรของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรและป่าไม้กรุงปักกิ่ง เป็นต้น

ผู้สร้างประโยชน์สุขแก่เกษตรกรปลูกผัก

หลายปีมานี้ นางเฉิน ชุนซิ่วมุ่งมั่นงานเผยแพร่เทคโนโลยีการปลูกผัก ช่วง 35 ปีที่ผ่านมา เธอไม่เคยอยู่ห่างจากที่นาและเกตรกรปลูกผัก โดยมีชื่อเสียงโด่งดังในแวดวงผู้ปลูกผักที่กรุงปักกิ่งมานาน และได้รับการชื่นชมอย่างกว้างขวาง

ปัจจุบัน ทีมงานของนางเฉิน ชุนซิ่วได้จัดตั้งสวนสาธิตผลงานเทคโนโลยีการปลูกพืชผักพันธุ์ใหม่ที่ชานเมืองปักกิ่ง 25 แห่ง ซึ่งนำประโยชน์แก่เกษตรกรปลูกผักในพื้นที่โดยรอบกว่า 15,000 คน ได้มีการจัดอบรมแก่วิสาหกิจ เกษตกร และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกว่า 4,500 รอบ

และยังมีการลงพื้นที่สอนในสวนเกษตรกว่า 15,000 ครั้ง ได้เผยแพร่พืชผักพันธุ์ใหม่กว่า 100 พันธุ์ และอบรมให้ความรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตรแก่ชาวบ้านกว่า 1 แสนคน ปีหลังๆนี้ นางเฉิน ชุนซิ่วได้ช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ชานเมืองปักกิ่งจำนวนมากให้พ้นจากความยากจนโดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นางเฉิน ชุนซิ่วรักงานของตนอย่างมาก และเข้าใจความหมายของงานนี้อย่างลึกซึ้ง ด้วยการจัดแสดงและเผยแพร่ของสวนสาธิตพันธุ์ผัก ทำให้ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรและป่าไม้กรุงปักกิ่ง ได้เกิดการประยุกต์ใช้งานอย่างแท้จริง

อีกด้านหนึ่ง นางเฉิน ชุนซิ่วพยายามให้การสนับสนุนทางเทคโนโลยีแก่สวนสาธิตทุกแห่งอย่างรอบด้าน โดยจัดการอบรมสั่งสอนเป็นประจำ เพื่อให้เกษตรกรที่อยู่รอบข้างเข้าร่วมมากยิ่งขึ้นและพ้นจากความยากจนด้วยการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ

หลายปีมานี้ นางเฉิน ชุนซิ่วมุ่งมั่นในการเผยแพร่เทคโนโลยีการปลูกผักในหลายพื้นที่ โดยไม่เพียงแต่ให้การสนับสนุนแก่ชาวปลูกผักเขตต่างๆที่กรุงปักกิ่ง รวมถึงเขตทงโจว ต้าซิง ซุ่นอี้ และฝังซัน เป็นต้น หากยังให้การอบรมแก่ช่างเทคนิกการเกษตรและเกษตรกรปลูกผักในท้องที่ต่างๆทั่วประเทศ รวมถึงนครเทียนสิน มณฑลซันซี มณฑลเหอหนาน มณฑลเจียงซี มณฑลซันตง มณฑลกันซู่ และเขตซินเจียง เป็นต้น โดยได้อบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกว่า 4 แสนคน โดยเฉลี่ยแล้วจัดการอบรมปีละ 79 ครั้ง

ผู้สร้างประโยชน์สุขแก่เกษตรกรปลูกผัก

เนื่องจากทำงานในเรือนกระจกปลูกผักที่มีสภาพชื้นแฉะตลอด นางเฉิน ชุนซิ่วติดโรคกลากและโรคไขข้อที่มีอาการสาหัส แม้เจ็บปวดทั้งตัว แต่เธอยังยืนหยัดลงพื้นที่ทำงานปีละกว่า 243 วัน และไม่เคยหยุดงานแม้แต่วันเดียว มีอยู่ครั้งหนึ่ง เธอเป็นไข้สูงกว่า 40 องศา แต่ยังไปประสานงานตามสถานที่จัดการอบรมด้วยตนเอง

ปี 2015 เธอมีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง แต่ยังยืนหยัดลงพื้นที่ทำงาน ปี 2016 แม้เธอป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ก็ยังยืนหยัดเตรียมงานที่เกี่ยวข้องบนเตียงโรงพยาบาล แม้ยังไม่ถึงเวลาที่แพทย์อนุญาตให้ออกโรงพยาบาลได้ เธอก็ออกไปทำงานฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรแล้ว

ปี 2017 ขณะให้การอบรมแก่เกษตรกรที่หมู่บ้านยากจนในเขตมี่หยุน นางเฉิน ชุนซิ่วถูกหมากัดที่ขาได้รับบาดเจ็บ แต่เธอยังนั่งรถทางไกลทุกวันโดยไม่สนใจแผลที่ติดเชื้ออย่างหนัก เพื่อไปให้การชี้นำและอบรมเทคโนโลยีการปลูกฟักทอง ช่วยเหลือหมู่บ้านยากจนในท้องถิ่นพัฒนาธุรกิจการเกษตรที่เกี่ยวข้อง เพิ่มรายได้และพ้นจากความยากจนเป็นผลสำเร็จได้

นางเฉิน ชุนซิ่วเป็นผู้ที่ยอมเสียสละความสุขสบายส่วนตัว มองคำมั่นสัญญาและความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญกว่าสุขภาพของตน หากให้เลือกระหว่างการได้พักผ่อนมีชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน เธอเลือกที่จะไปทำงานตลอด ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับเกษตรกรจำนวนมหาศาล เธอจะเลือกผลประโยชน์ของเกษตรกรตลอด เธอยินยอมอุทิศกำลังของตนอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปลูกผักทั้งหลาย

ในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์การเกษตร นางเฉิน ชุนซิ่วมีผลงานการวิจัยมากมายและมีชื่อเสียงเกียรติยศสูง แต่เธอไม่เคยสนใจสิ่งเหล่านี้ เธอเห็นว่า งานของตนเป็นงานธรรมดา ต้องแสวงหาความคืบหน้าทางเทคโนโลยีอย่างไม่ลดละ และการแก้ปัญหาของเกษตรกรโดยแท้จริงนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่สุด

เมื่อปี 1997 นครฉงชิ่งขอความช่วยเหลือจากสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรและป่าไม้กรุงปักกิ่ง ให้ช่วยแก้ปัญหายากลำบากเกี่ยวกับการปลูกแตงโมในท้องถิ่น ซึ่งเวลานั้น ทีมงานของนางเฉิน ชุนซิ่วเพิ่งได้รับรางวัลที่ 1 จากกระทรวงการเกษตรจีน ด้วยผลงานวิจัยเทคโนโลยีการปลูกแตงโมพันธุ์ใหม่ “จิงซินหมายเลข 1” สถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรและป่าไม้กรุงปักกิ่งจึงส่งนางเฉิน ชุนซิ่วไปสำรวจพื้นที่เพาะปลูกในนครฉงชิ่ง และรับผิดชอบโครงการวิจัยดังกล่าว

นครฉงชิ่งมีอากาศชื้น แสงแดดไม่พอเพียง นางเฉิง ชุนซิ่ววิเคราะห์ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาของนครฉงชิ่งในช่วงสิบกว่าปีในอดีตอย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นเวลานาน จึงกำหนดแผนปลูกแตงโมที่เป็นรูปธรรมตามลักษณะภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นที่เป็นจริง ช่วงทดลองปลูกแตงโมปีแรก ก็ได้รับผลเก็บเกี่ยวที่น่าพอใจ ช่วง 2 ปีต่อมา นางเฉิน ชุนซิ่วปรับแผนการปลูกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงขจัดปัญหายากลำบากในการปลูกแตงโมที่นครฉงชิ่งได้โดยสิ้นเชิงในที่สุด แต่ในช่วงทำงานที่นครฉงชิ่ง เธอเกิดอาการไขข้ออักเสบอย่างหนัก เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชื้นแฉะมากเป็นเวลานาน

ตัวอย่างความทุ่มเทจริงจังเช่นนี้ยังมีอีกมากมาย ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างไม่ลดละ นางเฉิน ชุนซิ่วมุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนทางเทคโนโลยีแก่เกษตรกรปลูกผัก ความปรารถนามากที่สุดของเธอก็คือ ช่วยเหลือให้เกษตรกรพ้นจากความยากจนด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี      

Yim/Sun

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

周旭