บทวิเคราะห์ : การหลุดพ้นความยากจนไม่ใช่จุดหมายปลายทางแต่เป็นจุดเริ่มต้นใหม่

2020-11-29 20:37:34 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

บทวิเคราะห์ : การหลุดพ้นความยากจนไม่ใช่จุดหมายปลายทางแต่เป็นจุดเริ่มต้นใหม่

วันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มณฑลกุ้ยโจวของจีน ประกาศว่า อำเภอยากจน 9 แห่งสุดท้ายได้ออกจากบัญชีพื้นที่ยากจนแล้ว ดังนั้น 832 อำเภอยากไร้ของจีนจึงหลุดพ้นจากความยากจนทั้งหมด

เมื่อเห็นข่าวที่น่าตื่นเต้นนี้แล้ว นอกจากกดไลก์ เพื่อน ๆ ชาวไทยจำนวนไม่น้อยคงอาจมีข้อสงสัยว่า ในประเทศจีน การหลุดพ้นความยากจนต้องมีรัฐบาลระดับหนึ่งประกาศรับรองหรือไม่ เรื่องนี้หมายความว่า เป้าหมายการขจัดความยากจนของจีนเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์แล้วหรือยัง เราอยากอธิบายนโยบายที่เกี่ยวข้องของจีนอย่างคร่าว ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ชาวไทย

ตามกลไกของจีนที่ส่วนกลางวางแผน มณฑลรับผิดชอบ เมืองและอำเภอปฏิบัติหน้าที่ การที่อำเภอยากจนของจีนมีชื่อออกจากบัญชีอำเภอยากจนนั้น อำเภอต้องยื่นคำร้อง เมืองตรวจสอบเบื้องต้น หน่วยงานระดับมณฑลประเมินและตรวจสอบ ทางการมณฑลประกาศ ส่วนอำเภอยากจนทั้งหมดที่ได้รับการปลดออกจากบัญชีพื้นที่อยากจนนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเป้าหมายการขจัดความยากจนของจีนเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์ หากยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่พบระหว่างสุ่มตรวจ การสำรวจตรวจสอบจนพบข้อบกพร่องและอุดช่องโหว่ทีละน้อย จนท้ายที่สุด คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะประกาศว่า ประชากรยากจนในชนบทที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปัจจุบันได้หลุดพ้นจากระดับความยากจนทั้งหมด อำเภอยากจนทั้งหมดที่ได้รับการปลดชื่อออกจากบัญชีอำเภอยากจน ถึงจะเอาชนะสงครามขจัดความยากจน

กล่าวได้ว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลจีนให้ความสำคัญอย่างสูงต่องานขจัดความยากจน มีข้อเรียกร้องที่เข้มงวดในด้านความเป็นระเบียบของขั้นตอนการถอนชื่อออกจากบัญชีอำเภอยากจน ความถูกต้องของมาตรฐานและความเป็นรูปธรรมของผลลัพธ์ท้ายที่สุด งานทุกอย่างล้วนต้องผ่านบททดสอบของประวัติศาสตร์

ส่วนเมื่อเอาชนะสงครามขจัดความยากจนแล้ว จะสามารถวางใจไม่ต้องทุ่มเทอะไรอีกหรือไม่ ไม่ใช่แน่นอน เรื่องที่รัฐบาลจีนต้องทำต่อไป คือ ป้องกันประชากรที่หลุดพ้นความยากจนแล้วกลับคืนสู่ภาวะยากจนอีก ต้องเสริมสร้างผลสำเร็จของการขจัดความยากจน ผลักดันการฟื้นฟูชนบทอย่างรอบด้านในพื้นที่ขจัดความยากจน ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า  การขจัดความยากจนไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นจุดเริ่มต้นใหม่แห่งชีวิตใหม่และการต่อสู้ใหม่ ซึ่งผู้เขียนเองก็มีความประทับใจอย่างลึกซึ้ง

เมื่อ 2 เดือนก่อน ภาคภาษาไทยที่ผู้เขียนทำงานอยู่มอบหมายให้ผม เพื่อนร่วมงาน และผู้เชี่ยวชาญชาวไทยเดินทางไปเขตกว่างซีและหนิงเซี่ย เพื่อทำข่าวในประเด็นการขจัดความยากจนโดยพื้นที่สองแห่งดังกล่าวล้วนเป็นเขตปกครองตนเองชนกลุ่มน้อยของจีน การสร้างสังคมพอกินพอใช้อย่างรอบด้านต้องไม่ขาดชนเผ่าใด เขตภูเขาลึกในเทือกเขาสือว่านต้าซานของกว่างซีและเขตซีไห่กู้ของหนิงเซี่ยล้วนเคยเป็นพื้นที่ด้อยพัฒนา มีศักยภาพทางเศรษฐกิจอ่อนแอ รวมถึงสภาพธรรมชาติที่เลวร้าย ดังนั้น ปัญหาความยากจนในพื้นที่เหล่านี้จึงเคยค่อนข้างรุนแรง แต่พื้นที่ดังกล่าวใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ เน้นเศรษฐกิจการดูนก พัฒนาธุรกิจไวน์ และส่งเสริมการถ่ายทอดสดออนไลน์ เป็นต้น ช่วยชาวบ้านท้องถิ่นจำนวนมากให้มีงานทำและขจัดความยากจนบนพื้นฐานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ไม่เพียงเท่านี้ ในการทำข่าวผู้เขียนพบว่า ชนบทที่เคยยากจนได้รับการพัฒนาเป็นชนบทที่สวยงามน่าอยู่ ในชนบท สิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ ห้องพยาบาล สนามบาสเก็ตบอล ศูนย์จัดกิจกรรม เวทีเต้นรำและแสดงงิ้ว ห้องน้ำทันสมัยครบครัน ชาวบ้านจำนวนมากย้ายไปอยู่บ้านใหม่ ใบหน้าปรากฏรอยยิ้มแห่งความสุข มีความหวังที่จะมีชีวิตใหม่ที่ดีในอนาคต

เมื่อเข้าสู่ยุคไร้ความยากจนอย่างสิ้นเชิงแล้ว ทางการระดับต่าง ๆ ของจีนยังต้องใช้ความพยายามแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาวบ้าน เพิ่มบริการสาธารณะในทั้งเมือง อำเภอ ตำบล และชนบทให้เท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชนสัมผัสถึงผลสำเร็จจากการพัฒนา รู้สึกมีความสุขและปลอดภัย ดังที่นายสี จิ้นผิง เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน กล่าวไว้ว่า การขจัดความยากจนเป็นเพียงก้าวแรก ชีวิตที่ดีงามยิ่งขึ้นรออยู่ข้างหน้า

(Tim/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

崔沂蒙