บทวิเคราะห์ : จีนให้ความสำคัญต่อ“ภาษาและอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป”

2020-12-02 14:03:19 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์ : จีนให้ความสำคัญต่อ“ภาษาและอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป”

“ภาษาและอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” หมายถึง ภาษาและอักษรประเทศชาติที่กำหนดให้ใช้โดยทั่วไป กล่าวคือ ภาษาจีนกลางและอักษรฮั่นมาตรฐาน

จีนเป็นประเทศที่มีประชากรจำนวนมหาศาล มีหลายชนเผ่า  หลากภาษา และหลายภาษาถิ่น “ภาษาและอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” เกี่ยวพันถึงคุณภาพพลเมือง การพัฒนาประชากร เอกภาพของชาติ ความสามัคคีระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ การสานต่อประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้วยเหตุนี้จีนจึงจัดให้งานด้าน “ภาษาและอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” อยู่ในตำแหน่งสำคัญทางยุทธศาสตร์มาโดยตลอด

จีนมี 56 ชนเผ่า และ 73 ภาษา ในจำนวนนี้ 30 ชนเผ่ามีอักษรประจำชนเผ่าจำนวน 55 ชนิด มีอักษรที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันรวม 26 ชนิด การส่งเสริมให้ใช้ “ภาษาและอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” เพิ่มอัตราความทั่วถึงและยกระดับมาตรฐานการประยุกต์ใช้ ซึ่งไม่เพียงแต่อำนวยความสะดวกต่อการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้คนต่างพื้นที่และการแลกเปลี่ยนระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ เท่านั้น หากยังมีบทบาทสำคัญต่อการปกป้องเอกภาพของชาติและความสามัคคีระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ ด้วย

ช่วงที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเพิ่งสถาปนาขึ้น จีนจัดให้การย่อตัวอักษร เผยแพร่ภาษาจีนกลาง รวมถึงกำหนดและให้ใช้ระบบฮั่นหยวี่พินอิน หรือ ระบบการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐานด้วยตัวอักษรละตินพร้อมด้วยสัญลักษณ์วรรณยุกต์เป็นภารหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ต่อมา ค.ศ. 1982 จีนได้จัดเนื้อหา “บ้านเมืองเผยแพร่ให้ใช้ภาษาจีนกลางทั่วประเทศ” เข้าไปในรัฐธรรมนูญ ขณะที่ใน ค.ศ. 2000 จีนได้ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วย “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

ตั้งแต่สมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 18 ในปี 2012 เป็นต้นมา ส่วนกลางให้ความสำคัญอย่างสูงต่องานด้าน “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” เลขาธิการ สี จิ้นผิง ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เคยระบุไว้ว่า ต้องเผยแพร่ “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” อย่างทั่วถึง พยายามอบรมผู้สร้างสรรค์และผู้รับช่วงต่อภารกิจสังคมนิยมที่รักพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรักบ้านเมือง ต่อมา  กระทรวงศึกษาธิการและคณะกรรมการภาษาแห่งชาติได้ประกาศใช้ สรุปแผนปฏิรูปและพัฒนาภารกิจด้านภาษาและอักษรระยะกลางและระยะยาวแห่งชาติ ระหว่างปี 2012 - 2020 รวมถึงภารกิจภาษาและอักษรแห่งชาติ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 ช่วงระหว่างปี 2016 - 2020 ตามลำดับ โดยประชาสัมพันธ์อย่างแข็งขันเพื่อให้ทั่วทั้งสังคมได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางตลอดจนปฏิบัติตามอย่างอัตโนมัติ

จนถึงปัจจุบัน อัตราการใช้ภาษาจีนกลางครอบคลุมทั่วถึงเกือบ 80% อัตราการใช้อักษรมาตรฐานของประชากรผู้รู้หนังสือมีกว่า 95% ขณะที่อัตราส่วนผู้ไม่รู้หนังสือลดจากกว่า 80% ในช่วงที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเพิ่งสถาปนาขึ้นลงเหลือต่ำกว่า 4% ในปัจจุบัน นอกจากนี้ จีนยังขจัดอุปสรรคทางภาษาของการสื่อสารและแลกเปลี่ยนระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ ในขั้นพื้นฐาน เผยแพร่ให้ใช้ “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” อย่างทั่วถึง อันมีบทบาทส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวัฒนธรรมของจีน

บทวิเคราะห์ : จีนให้ความสำคัญต่อ“ภาษาและอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป”

ภาษาถิ่นทุกภาษาและภาษาประจำชนเผ่าทุกภาษาต่างเป็นทรัพยากรอันล้ำค่าของ “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” พร้อมกับการเผยแพร่ให้ใช้ “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” อย่างทั่วถึง จีนยังให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ภาษาถิ่นและภาษาประจำชนเผ่าต่าง ๆ ตามหลักวิทยาศาสตร์อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อยมีการเรียนการสอนด้วยภาษาของชนเผ่าต่าง ๆ จากระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงอุดมศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียนนักศึกษาชนเผ่าต่าง ๆ ส่งเสริมการอบรมเกี่ยวกับ “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” แก่ครูบาอาจารย์ที่จัดการเรียนการสอนทั้งในภาษาจีนกลางและภาษาประจำชนเผ่า นอกจากนี้  จีนยังเคารพและประกันเสรีภาพของชนกลุ่มน้อยในการใช้และพัฒนาภาษาและอักษรประจำชนเผ่าอีกด้วย

ช่วงไม่กี่ปีมากนี้ จีนยังดำเนินโครงการสำคัญอีกจำนวนหนึ่ง  เพื่อเผยแพร่ “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” อย่างทั่วถึง เช่น โครงการขจัดความยากลำบากของการเผยแพร่ “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” อย่างทั่วถึง โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรภาษาของจีนโดยส่งเสริมการศึกษาด้าน “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” ในพื้นที่ของชนกลุ่มน้อย พร้อมทั้งกอบกู้และอนุรักษ์ภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ใกล้สูญหายไป

พร้อมไปกับการพัฒนาแห่งยุคสมัย สังคมจีนตระหนักว่า  ภาษาไม่เพียงแต่เป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สำคัญเท่านั้น  หากยังเป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์ด้วย ด้วยเหตุนี้ จีนจึงรณรงค์ให้ส่งเสริมการศึกษาวิจัยความเป็นสารสนเทศด้าน “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” เสริมสร้างทักษะบริการด้านภาษาและอักษร ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ การคำนวณด้วยระบบคลาวด์ ปัญญาประดิษฐ์ และอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ เป็นต้น ในการกำกับดูแลมาตรฐานการใช้ภาษาและอักษรในสังคมรวมถึงบนโลกออนไลน์

จากข้อมูลดังกล่าวจะพบว่า จีนได้ส่งเสริมงาน “ภาษาและตัวอักษรประจำชาติที่ใช้กันทั่วไป” ผ่านการบัญญัติกฎหมาย กำหนดนโยบายและมาตรฐาน การประชาสัมพันธ์ การให้การศึกษา การประเมิน ตลอดจนการกำกับดูแลในอีกหลาย ๆ ด้าน

(Tim/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (24-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)

周旭