บทวิเคราะห์ : นายกฯออสเตรเลียจะมองข้ามปัญหาสภาพภูมิอากาศถึงเมื่อไร

2020-12-16 12:44:12 | CRI
Share with:

เกาะเฟรเซอร์ของออสเตรเลียถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ แต่เกิดไฟไหม้ขนาดใหญ่มากตลอด 2 เดือน ทำให้นกและสัตว์ต่างๆ ต้องอพยพหนีเอาชีวิตรอด พื้นที่ป่าไม้ต้องกลายเป็นซากธุลี อากาศเลวร้ายเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นอกจากปัจจัยทางธรรมชาติที่ทั่วโลกมีอุณหภูมิร้อนขึ้นแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงผลกระทบยิ่งใหญ่จากนโยบายที่ผู้นำออสเตรเลียกำหนดแบบไม่มองการณ์ไกล ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่นายสกอตต์ จอห์น มอร์ริซัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ไม่ได้รับคำเชิญให้ร่วมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสุดยอดว่าด้วยความมุ่งมั่นในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Ambition Summit)

ทั้งนี้ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ออสเตรเลียมีท่าทีทางลบในปัญหาสภาพภูมิอากาศ โดยเคยเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศเดียวที่ปฏิเสธลงนามในพิธีสารเกียวโต นอกเหนือจากสหรัฐฯ ต่อมา แม้ว่าออสเตรเลียได้ลงนามใน “ข้อตกลงปารีส” แต่เมื่อสหรัฐฯ ประกาศถอนตัวออก ออสเตรเลียก็ค่อยๆตีตัวออกห่างจากข้อตกลงปารีสอีก

ทางด้านนโยบายด้านอุตสาหกรรม ก็สามารถเห็นได้ถึงท่าทีที่มองข้ามปัญหาสภาพภูมิอากาศของผู้นำออสเตรเลีย ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มบริษัทใหญ่ด้านเหมืองแร่ และแวดวงอื่นๆ รัฐบาลออสเตรเลียปฏิเสธที่จะกำหนดเป้าหมายลดคาร์บอนในกฎหมายตามคำมั่นสัญญาในที่ประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปารีส

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหน้าที่ร่วมกันของมนุษย์ทั่วโลก และก็สอดคล้องกับประโยชน์ขั้นพื้นฐานของประชาชนออสเตรเลีย ซึ่งนายมอร์ริซันทำอย่างไรก็ไม่สามารถปิดบังความจริงที่ทางการออสเตรเลียมองข้ามประโยชน์ขั้นพื้นฐานของประชาชน และยอมเป็นเพียงผู้แทนของกลุ่มบริษัทรายใหญ่

Yim/Chu/Cui

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-05-2567)

韩楚