ฐานเลี้ยงปลาจวดเหลืองขนาดใหญ่---ต้นแบบการขจัดความยากจนของจีน

2020-12-23 13:29:02 | CMG
Share with:

แสงอาทิตย์ยามเช้าสาดส่อง น้ำค้างเริ่มลง ลมทะเลกำลังพัดโชย แสงสีทองมาพร้อมกับเสียงทักทายของนกนางนวลและบ้านชาวประมงมากกว่าหมื่นหลังที่แกว่งไปมาเบา ๆ ทำให้มีคลื่นบาง ๆ บนน้ำทะเลสีน้ำเงินและแสงสะท้อนจากพื้นผิวน้ำอย่างสวยงาม

ที่เขตซานตูอ้าว ในเมืองหนิงเต๋อ มณฑลฝูเจี้ยน หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ "เวนิสแห่งตะวันออก" กำลังตื่นขึ้นจากหลับใหล ชาวประมงที่อาศัยอยู่ใน "เมืองลอยน้ำบนทะเล" อันงดงามแห่งนี้ตื่นแต่เช้าเพื่อดูแลสัตว์ทะเลและจับปลา

ฐานเลี้ยงปลาจวดเหลืองขนาดใหญ่---ต้นแบบการขจัดความยากจนของจีน

แหล่งเลี้ยงปลาในเขตซานตูอ้าว เมืองหนิงเต๋อ มณฑลฝูเจี้ยน บันทึกภาพ 3 มิถุนายน 2020

หมู่บ้านบนทะเลแห่งนี้เป็น "ชุมชนบนทะเล" ที่ทันสมัย มีถนน บ้านทุกหลังมีบ้านเลขที่ แถมยังมีคลินิก ร้านเหล้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และสถานีตำรวจด้วย บรรยากาศคึกคักไม่แพ้ที่อื่น ใต้ทะเลมีอวนจับปลาที่ทอดยาวหลายสิบตารางกิโลเมตร ประกอบเป็นฐานเพาะเลี้ยงปลาโครเกอร์เหลืองขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศจีน รวมทั้งยังมีทรัพยากรประมงมูลค่าหลายพันล้านหยวน

"รสชาติปลานับพันนับหมื่นชนิดไม่ดีเท่าปลาจวดเหลืองทอง" เมืองหนิงเต๋อเป็นที่รู้จักกันดีในนาม "บ้านเกิดของปลาจวดเหลืองขนาดใหญ่ในจีน"

สิ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงก็คือ ตั้งแต่ "ปลาประจำชาติ" ที่หาซื้อยากและใกล้สูญพันธุ์ ไปจนถึงการเพาะเลี้ยงที่ก้าวหน้าทำให้ปลาชนิดนี้ สามารถหาทานได้บนโต๊ะอาหารของประชาชนจีน เบื้องหลังปลาชนิดนี้ คือ ความจริงใจที่อยากจะทำงานเพื่อประชาชนและแนวคิดขจัดความยากจนอย่างแม่นยำตรงจุด ตลอดจนภูมิปัญญาในการบริหารประเทศชาติของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1988 - เมษายน ค.ศ.1990 นายสี จิ้นผิงดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์เมืองหนิงเต๋อ มณฑลฝูเจี้ยน

ในเวลานั้นเมืองหนิงเต๋อเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนาม "เมืองน้องชายคนที่ 9 ทางตะวันออกของฝูเจี้ยน" ซึ่งอยู่ในอันดับรั้งท้ายของมวลรวมทางเศรษฐกิจของฝูเจี้ยน เมืองแห่งนี้มีทั้งหมด 9 อำเภอ ในจำนวนนี้มี 6 อำเภอเป็นอำเภอยากจน พื้นที่ด้อยพัฒนาทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ฐานปฏิวัติในอดีต พื้นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อย พื้นที่ห่างไกล รวมถึงชายแดนและพื้นที่ยากจนติดทะเล นายสี จิ้นผิง ซึ่งเพิ่งครบอายุ 35 ปี ได้เริ่มต้นลงพื้นที่ทำงานอย่างครบถ้วนโดยวัดความสูงของภูเขาและความลึกของทะเลด้วยฝีก้าวตนเอง

เดือนกันยายน ค.ศ. 1988 นายสี จิ้นผิง ลงพื้นที่ทำงานใน 9 อำเภอทางทิศตะวันออกของฝูเจี้ยนจนครบจึงจัดระบบวิเทศน์วิธีระหว่าง "ภูเขา" กับ "ทะเล" ขึ้นใหม่ ตามลักษณะทางทรัพยากรของฝูเจี้ยน "80% เป็นภูเขา 10% เป็นน้ำจืด 10% เป็นน้ำทะเล" เขาเสนอว่า "อาศัยภูเขาสร้ายรายได้จากภูเขาพร้อมร้องเพลงภูเขา ติดกับทะเลก็ทำรายได้จากทะเลสร้างผลสำเร็จ" รักษาความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่เขตภูเขา เขตทะเล และพื้นที่ไร่นาไปพร้อมกัน พัฒนาบริษัทในหมู่บ้านและอำเภอ พัฒนาการเกษตร ป่าไม้ การเลี้ยงสัตว์ และการทำประมงในทุกด้าน

ฐานเลี้ยงปลาจวดเหลืองขนาดใหญ่---ต้นแบบการขจัดความยากจนของจีน

วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1988 นายสี จิ้นผิง ลงพื้นที่ตรวจงานด้านอุตสาหกรรมในอำเภอเสียผู่

นายเฉิน เจิงกวง อดีตรองเลขาธิการ คณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำอำเภอหนิงเต๋อ มีความรู้สึกลึกซึ้งเมื่อเขาได้มีโอกาสติดตามการลงพื้นที่ในแต่ละอำเภอร่วมกับนายสี จิ้นผิง เขายังจำบทสนทนาของปธน.สี จิ้นผิงเมื่อพวกเขาไปดูงานอำเภอเสียผู่ได้

สี จิ้นผิง: “ขอช่วยหาสำเนาพงศาวดารอย่างเป็นทางการของอำเภอผูหนิง (ชื่อในอดีตของหนิงเต๋อ) ให้ผมอ่านด้วย"

เฉิน เจิงกวง: "เลขาฯ สี ครับ เราทำงานหนักมาตลอดทั้งวันแล้วและคุณต้องนอนอ่านหนังสือทั้งคืนจะทนไหวไหมครับ

"สหายเจิงกวงครับ เราดูงานและรับฟังรายงานแค่นี้ไม่เพียงพอต้องดูประวัติศาสตร์ด้วย ประวัติของอำเภอดีที่สุดคืออ่านจากพงศาวดารของอำเภอ และพงศาวดารทางการระดับมณฑลยิ่งมีเนื้อหารอบด้าน มีบันทึกทั้งคนดีและคนร้าย คุณสามารถรู้ได้อย่างรวดเร็วว่าเกิดอะไรขึ้นในเมืองแห่งนี้และคุณสามารถเรียนรู้จากอดีตได้"

พงศาวดารอย่างเป็นทางการของอำเภอผูหนิง ระบุว่า เขตซานตูอ้าวในอำเภอเสียผู่มีพื้นที่ทะเลเรียกว่ากวนจิ่งหยางที่อุดมไปด้วยปลาจวดเหลืองขนาดใหญ่ สุภาษิตชาวบ้านเรียกพวกมันว่า "กวนจิ่งหยาง ข้าวครึ่งปี" ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เคยร่ำรวยและเป็นอู่ข้าวอู่น้ำมาก่อน

หากประชาชนประกอบอาชีพเลี้ยงปลาที่นี่ได้ดีก็เท่ากับสามารถมีของกินครึ่งปี นายสี จิ้นผิงสั่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า: "นี่เป็นทรัพยากรที่สำคัญมากในฝูเจี้ยนตะวันออก มีความจำเป็นที่จะต้องรักษามัน แต่ต้องส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลที่เป็นตัวแทนของอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อให้ประชาชนทุกคนร่ำรวยขึ้นมา"

ในเวลานั้นชาวประมงในเมืองหนิงเต๋อไม่รู้จักวิธีผสมเทียม พวกเขาจับปลาทะเลมากเกินไปเป็นเวลานานจึงทำให้ทรัพยากรปลาจวดเหลืองขนาดใหญ่หมดลงเกือบจะหายไป เมื่อนายสีจิ้นผิงพบว่า อุตสาหกรรมปลาจวดเหลืองมีศักยภาพการผลิตที่แฝงอยู่ เขาจึงรวมการเพาะพันธุ์และปลาจวดเหลืองขนาดใหญ่ไว้ใน "แผนจุดประกายซิงฮั่ว" (แผนการแรกเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในชนบทด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและคณะรัฐมนตรีในช่วงทศวรรษที่ 1980) จัดผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมทางทะเลเพื่อให้การศึกษาและแก้ปัญหาการเลี้ยงปลาจวดเหลืองขนาดใหญ่

ต่อมาปี ค.ศ.1990 นักวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้แก้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีที่ลำบาก สามารถเพาะพันธุ์โครเกอร์เหลืองขนาดใหญ่จำนวนมากถึงหนึ่งล้านตัวซึ่งถือเป็นการเปิดหน้าใหม่แห่งการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในหนิงเต๋อ

เมื่ออวนตาข่ายถูกดึงขึ้นจากฐานเลี้ยงปลาจวดเหลืองขนาดใหญ่ที่เขตซานตูอ้าว "การหลุดพ้นความยากจน" ได้กลายเป็นบทเพลงใหม่แห่งยุคสมัยทางภาคตะวันออกของมณฑลฝูเจี้ยน

เมื่อ 30 ปีที่แล้วการขจัดความยากจนในภาคอุตสาหกรรมได้เปิดโลกทัศน์ของฝูเจี้ยนตามสภาพท้องถิ่น หลังจากนั้น 30 ปี การขจัดความยากจนในภาคอุตสาหกรรมกลายเป็นหนึ่งในรูปแบบการขจัดความยากจนที่มีพลังที่สุดของจีน

ยกตัวอย่างเช่น ชาขาวอันจี๋ เป็น "ใบชาสร้างความร่ำรวย" จากมณฑลเจ้อเจียง และหยั่งรากลึกในสามมณฑล สี่อำเภอ ที่มณฑลหูหนาน มณฑลเสฉวน และมณฑลกุ้ยโจว โดยได้ประพันธ์บทใหม่แห่ง  "ตะวันออกช่วยตะวันตก คนรวยนำคนจนรวยขึ้นตามกันมา"

เห็ดหูหนูดำจากอำเภอจ้าสุ่ย มณฑลซานซี เป็น “เห็ดเล็ก อุตสาหกรรมใหญ่” กลายมาเป็นตัวผลักดันให้หมู่บ้านบนภูเขาของมณฑลส่านซีเอาชนะความยากจนและทำให้หมู่บ้านบนภูเขาที่ยากจนในอดีตพลิกโฉมหน้าใหม่อย่างน่าประทับใจ

ฐานเลี้ยงปลาจวดเหลืองขนาดใหญ่---ต้นแบบการขจัดความยากจนของจีน

นายสี จิ้นผิง ลงพื้นที่ตรวจงานศูนย์อบรมหมู่บ้านฝ่างเฉิงซินชุน ตำบลซีผิง เขตหยุนโจว เมืองต้าถง มณฑลซานซี สถานที่จัดแสดงผลิตภัณฑ์จำฉ่าย เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2020

จำฉ่ายหยุนโจว เป็นที่รู้จักกันในนาม "ดอกแห่งความร่ำรวย"  เริ่มมีการปลูกที่ได้มาตรฐานในปริมาณมากจนบานในบริเวณที่กว้างใหญ่ทางตอนเหนือของจีน การปลูกจำฉ่ายกลายเป็นหนทางก้าวสู่ความร่ำรวยของเกษตรกรในมณฑลซานซี

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนดำเนินโครงการอุตสาหกรรมเพื่อขจัดความยากจนไปมากกว่า 980,000 โครงการและสร้างฐานอุตสาหกรรมขจัดความยากจนกว่า 100,000 แห่งในท้องที่ต่าง ๆ การพัฒนาอุตสาหกรรมขจัดความยากจนในหมู่บ้านยากไร้หลายแห่งประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดดเป็นประวัติการณ์

ปี ค.ศ. 2020 จีนจะประสบผลขั้นเด็ดขาดในการสร้างสังคมมีกินมีใช้อย่างรอบด้าน ทั้งนี้ ผลงานการขจัดความยากจนของจีนได้รับความสนใจจากทั่วโลก

Tim/ Lei / Lu

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

陆永江