เข้าใจจีนในอนาคตไปเซี่ยงไฮ้

2020-12-24 16:29:49 | CRI
Share with:

เข้าใจจีนในอนาคตไปเซี่ยงไฮ้_fororder_1_副本

นอกจาก แรงงานท่าเรือนับแสนคนที่ต้องข้ามแม่น้ำแล้ว ยังมีชาวบ้านท้องถิ่นอีกหลายหมื่นคนในผู่ตง จะเข็นรถบรรทุกพืชผลทางการเกษตรและต้อนหมู แกะ และไก่เป็นต้น ข้ามแม่น้ำมาค้าขาย ทำให้ธุรกิจเรือข้ามฟากเฟื่องฟูมาก

ตู้ เย่ว์เซิง หัวหน้าแก๊งมาเฟียเซี่ยงไฮ้ แน่นอนว่าจะไม่พลาดการผูกขาดธุรกิจนี้แต่เพียงผู้เดียว จัดการคู่แข่งทั้งหมด แล้วขึ้นเป็นเจ้าพ่อคุมธุรกิจเรือข้ามฟากแม่น้ำหวงผู่ทั้งหมด ซึ่งคำพูดติดปากของเขาก็คือ เอาไปโยนทิ้งลงแม่น้ำหวงผู่ ให้เป็นอาหารปลา

ขณะนั้น ไม่เพียงแต่สร้างท่าเทียบเรือโครงเหล็กสิบกว่าแห่ง แต่ยังมีท่าเทียบเรือโครงไม้และไม้ไผ่จำนวนมาก มีท่าเรือข้ามฟากสองฝั่งแม่น้ำหวงผู่ทุกๆ 1.5 กิโลเมตร และในส่วนของหาดไว่ทันจะมีท่าเรือข้ามฟากที่อยู่ห่างกันเพียงไม่กี่ร้อยเมตร

ผู้คนหลายล้านคนจะนั่งเรือข้ามฟากเดินทางระหว่างผู่ซีและผู่ตงทุกวัน ซึ่งมีผู้โดยสาร 370 ล้านคนต่อปี โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 จนถึงปี 1995 เส้นทางเรือข้ามฟากระหว่างผู่ซีกับผู่ตง เป็นเส้นทางที่พลุกพล่านที่สุดในโลก

แต่หลังจากปี 1990 การบุกเบิกพัฒนาผู่ตงและการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำหวงผู่ ทำให้ความกดดันของผู้โดยสารเรือข้ามฟากผ่อนคลายลงอย่างมาก เรือข้ามฟากค่อยๆกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่สุดในการชื่นชมทิวทัศน์สองฝั่งของแม่น้ำหวงผู่

เข้าใจจีนในอนาคตไปเซี่ยงไฮ้_fororder_2

ขณะนี้ บริการเรือข้ามฟากแม่น้ำหวงผู่มีทั้งหมด 18 เส้นทาง มีบริษัทเรือข้ามฟากนครเซี่ยงไฮ้กิจการของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงาน    

ญาติชาวเซี่ยงไฮ้บอกว่า เส้นทางที่สวยที่สุดในสายตาชาวท้องถิ่นจากทั้งหมด 18 สายคือ เส้นทางตงจิน ซึ่งข้ามระหว่างท่าจินหลิงตงลู่ที่อยู่ในผู่ซีกับท่าตงชางลู่ที่อยู่ในผู่ตงค่ะ ทุกครึ่งชั่วโมงมีเที่ยวหนึ่ง ใช้เวลาข้ามฟากภายในเวลาเพียงประมาณ 10 นาที ซึ่งอยู่บนเรือจะชมแสงสีไฟประดับหอไข่มุกบูรพา อาคารศูนย์การประชุมนานาชาติเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น ในราคาประหยัด 2 หยวนเท่านั้น (ราว 10 บาท) ซึ่งคุ้มมากๆ ค่ะ ส่วนเด็กที่มีความสูงต่ำกว่า 1.3 เมตรไม่เสียค่าใช้จ่าย

นอกจากผู้โดยสารจะสามารถนั่งเรือข้ามฟากได้ สิ่งที่น่าสนใจคือ มีท่าเรือที่ให้บริการนำรถจักรยาน รถแบตเตอรี่ และรถจักรยานยนต์ ขึ้นเรือข้ามฟากได้ด้วย ค่าข้ามฟากจักรยานและรถแบตเตอรี่ 2.8 หยวน ส่วนรถจักรยานยนต์ 4 หยวนค่ะ

บริการเรือข้ามฟากแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ แบบหนึ่งคือเป็นเรือข้ามฟากที่มีชั้นเดียว ซึ่งผู้โดยสาร รถจักรยาน รถแบตเตอรี่ และรถจักรยานยนต์อยู่ที่ชั้น 1 ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นเรือข้ามฟากที่มีสองชั้น ซึ่งผู้โดยสารจะสามารถขึ้นไป 2 ชั้นได้ แยกจากยานพาหนะต่างๆ  ซึ่งชั้น 2 จะมีที่นั่งและสามารถใช้มุมมองแบบวีไอพีเพื่อชมแม่น้ำหวงผู่

ปัจจุบัน สายตงจินมีเรือให้บริการ 62 เที่ยวทุกวัน และยังเป็นเส้นทางเรือข้ามฟากแม่น้ำหวงผู่เส้นเดียวที่ให้บริการเฉพาะผู้โดยสาร แต่ไม่ให้นำรถจักรยาน รถแบตเตอรี่และรถจักรยานยนต์ขึ้นเรือ ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ แม้ว่าปริมาณผู้โดยสารจะไม่มีมากในขณะนี้ แต่บริษัทเรือข้ามฟากเซี่ยงไฮ้ยังคงปรับปรุงบริการให้ดีอย่างต่อเนื่อง เรือเก่าไม่ใช้แล้ว เรือใหม่มีเงื่อนไขดีมาก เช่น มีเครื่องปรับอากาศ อบอุ่นในฤดูหนาวและเย็นสบายในฤดูร้อน

เข้าใจจีนในอนาคตไปเซี่ยงไฮ้_fororder_3

อาจจะมีคุณผู้ฟังมีความรู้สึกของเราว่านั่งเรือข้ามฟากเพียง 10 นาทีไม่พอ อย่างเช่น ลูกชายหมี่ตัวชอบมากๆ ญาติก็บอกว่าเราจะสามารถเดินไปตามถนนปินเจียง เดินประมาณ 20 นาทีก็จะถึงท่าเรือข้ามฟากหยางเจียตู และนั่งเรือข้ามฟากสายหยางฟู่ ออกจากท่าเรือหยางเจียตู้ในผู่ตงไปถึงท่าเรือฟู่ซิงตงลู่ในผู่ซีอีกครั้งค่ะ ซึ่งราคา 2 หยวนเช่นกัน

ถนนปินเจียงเป็นโครงการภูมิทัศน์ริมแม่น้ำหวงผู่ สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1997 และมีความยาวรวม 2,500 เมตร แบ่งออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนเหนือ ตอนกลางและตอนใต้ มีทางสำหรับคนเดินและทางสำหรับขี่จักรยาน ถนนปินเจียงจะสามารถชมวิวของหาดไว่ทันและตึกระฟ้าที่ทันสมัยของผู่ตงได้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความบันเทิงและการพักผ่อนของชาวเซี่ยงไฮ้ด้วย เมื่อเดินไปตามถนนปินเจียงก็จะไปถึงเอกซ์โปพาร์คเซี่ยงไฮ้ได้ในที่สุด ทิวทัศน์บนถนนสายนี้สวยงามจริงๆ

ชาวเซี่ยงไฮ้เมื่อ 30 ปีก่อนนิยมประโยคหนึ่งว่า ขอแค่เตียงเดียวในผู่ซี ไม่ขอเอาบ้านในผู่ตง เพราะนึกไม่ถึงนะคะว่า เขตผู่ตงในอดีตที่ได้ชื่อว่าเป็นเขตด้อยพัฒนาเมื่อเทียบกับผู่ซี ณ วันนี้ จะมีความเจริญรุ่งเรือง และก็ดูก้าวล้ำนำสมัยโดยใช้เวลาสั้นๆ 30 ปีเท่านั้น

ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเคยกล่าวว่า "เข้าใจจีนในอดีตไปซีอัน เข้าใจจีนในปัจจุบันไปปักกิ่ง และเข้าใจจีนในอนาคตไปเซี่ยงไฮ้"  นี่คืออนาคตของจีน อย่าลืมหาโอกาสแวะมาสัมผัสกันนะคะ     

Yim/kt

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (25-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

周旭