นักวิชาการเคนยาชี้ แนวคิดประชาคมร่วมอนาคตของจีนมีความหมายกว้างไกลต่อการพัฒนาทั่วโลก

2020-12-28 16:20:08 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

นาย Peter Kagwanja ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายแอฟริกาของเคนยา เคยเดินทางเยือนจีนบ่อยครั้ง และมีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบรรดาประเทศแอฟริกาและประเทศจีน  ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวจากไชน่ามีเดียกรุ๊ป โดยชี้ว่า แนวคิดการร่วมสร้างสรรค์ประชาคมโลกที่มีอนาคตร่วมกันที่จีนเสนอขึ้น ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับผลประโยชน์ร่วมของทวีปแอฟริกาและของจีน ยังมีความหมายกว้างไกลต่อการพัฒนาทั่วโลกด้วย

นาย Peter Kagwanja กล่าวว่า สาเหตุที่เขาเดินทางเยือนจีนบ่อยครั้ง เพื่อรู้จักเข้าใจประเทศจีนให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการพัฒนาของจีน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับแอฟริกาด้วย ทั้งนี้ การที่จีนใช้เวลาอันสั้นแต่สามารถทำให้ประชาชนจำนวนมหาศาลพ้นจากความยากจนนั้น เป็นประเด็นที่เขาให้ความสนใจมากที่สุด ในความเห็นของเขา ปัจจัยสำคัญที่จีนได้บรรลุซึ่งผลสำเร็จแห่งการขจัดความยากจนก็คือ ระบบทางการเมืองที่มั่นคง การเมืองมีความมั่นคงนั้นเป็นประกันแห่งการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และเป็นปัจจัยสำคัญแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นกำลังสนับสนุนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจด้วย  ซึ่งเป็นผลสำเร็จจากความพยายามร่วมกันของพรรคคอมมิวนิสต์จีน รัฐบาลจีนและประชาชนจีน นอกจากนี้แล้ว ในขณะที่ประเทศจีนได้บรรลุผลสำเร็จแห่งการป้องกันและควบคุมโรคระบาด ยังให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนต่อบรรดาประเทศแอฟริกา ประชาชนทวีปแอฟริการู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณยิ่ง

เมื่อกล่าวถึงสถานการณ์ในขอบเขตทั่วโลกและประเด็นการร่วมบริหารจัดการโลก นาย Peter Kagwanja เห็นว่า การยืนหยัดแนวคิดพหุภาคีเป็นจุดยืนร่วมกันของจีนและทวีปแอฟริกา ปัจจุบัน ภายใต้สถานการณ์ที่เอกภาคีนิยมและลัทธิกีดกันก่อตัวเพิ่มมากขึ้น การที่แอฟริกาและจีนร่วมกันพิทักษ์ความร่วมมือพหุภาคี ภายใต้แนวคิดการร่วมสร้างสรรค์ประชาคมโลกที่มีอนาคตร่วมกัน ย่อมมีความหมายสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทั่วโลก  

(Yim/Zi)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

晏梓