“เคียงข้างกัน" : 2020 ร่วมสานฝันเดินทางสู่ห้วงอวกาศที่ไกลขึ้นของมนุษยชาติ

2020-12-30 11:03:49 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

“เคียงข้างกัน" : 2020 ร่วมสานฝันเดินทางสู่ห้วงอวกาศที่ไกลขึ้นของมนุษยชาติ_fororder_1

ปี 2020 เป็นปีที่ไม่ธรรมดาสำหรับชาวโลก ยากที่จะลืม ส่วนไฮไลท์ของการบินอวกาศจีนก็จะย่อมถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ และสร้างความประทับใจแก่ผู้คน

เมื่อไม่นานมานี้ ยานสำรวจดวงจันทร์ “ฉางเอ๋อ-5” ได้เก็บตัวอย่างของดวงจันทร์ชิ้นแรกและกลับสู่โลกครั้งแรกในรอบ 44 ปีที่ผ่านมา ขณะนี้ ยานสำรวจดาวอังคารครั้งแรกของจีน “เทียนเวิ่น-1” ซึ่งอยู่ห่างจากโลกไกลกว่า 100 ล้านกิโลเมตร กำลังมุ่งหน้าสู่เป้าหมายปลายทางแห่งความฝันของมนุษย์ในการสำรวจอวกาศ

ระบบดาวเทียมนำร่อง “เป่ยโต่ว-3” ที่ใช้งานอย่างเป็นทางการในปลายเดือนกรกฎาคมได้เปิดบริการแก่ 120 ประเทศทั่วโลก ก้าวสู่ยุคใหม่การบริการคุณภาพสูงแก่ทั่วโลก และสร้างความผาสุกแก่มวลมนุษย์

“เคียงข้างกัน" : 2020 ร่วมสานฝันเดินทางสู่ห้วงอวกาศที่ไกลขึ้นของมนุษยชาติ_fororder_2

ภายในปีนี้ การบินอวกาศจีนได้ทำภารกิจการบินอากาศเกือบ 40 ครั้ง และได้ประสบผลงานที่ดี ค่อย ๆ บรรลุความฝันที่ทำให้มนุษย์ก้าวสู่ห้วงอวกาศที่ไกลกว่า และรักษาคำมั่นสัญญาใช้อวกาศอย่างสันติภาพและด้วยความร่วมมือ

ระบบดาวเทียมนำร่อง “เป่ยโต่ว-3” ที่สิ้นสุดการวางเครือข่ายอย่างเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนปีนี้ เป็นระบบดาวเทียมนำร่องบอกพิกัดแห่งที่ 4 ของโลก ต่อจากระบบ GPS ของสหรัฐฯ ระบบ Glonass ของรัสเซีย และระบบ Galileo ของยุโรป นับตั้งแต่ปี 2012 ได้เสร็จสิ้นการสร้างระบบดาวเทียมนำร่อง“เป่ยโต่ว-2” แล้ว และจีนก็ได้เปิดบริการดาวเทียมบอกพิกัดแก่ลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

“เคียงข้างกัน" : 2020 ร่วมสานฝันเดินทางสู่ห้วงอวกาศที่ไกลขึ้นของมนุษยชาติ_fororder_3

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายเซี่ย จวิน หัวหน้านักออกแบบระบบ “เป่ยโต่ว-3” กล่าวที่กรุงปักกิ่งว่า พร้อมไปกับระบบดาวเทียมนำร่อง “เป่ยโต่ว-3” ที่สิ้นสุดการวางเครือข่ายอย่างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2020 ผลิตภัณฑ์และการบริการของ “เป่ยโต่ว” ได้คลอบคลุม 120 ประเทศทั่วโลก และเปิดบริการในหลายด้าน หลายวันก่อน จีนได้เพิ่มการลงนามบันทึกช่วยจำว่าด้วยความร่วมมือด้านระบบ “เป่ยโต่ว” กับอาร์เจนตินา

ส่วนตัวอย่างที่ยานสำรวจดวงจันทร์ “ฉางเอ๋อ-5” เก็บมาสู่โลกนั้น อาจจะอุดช่องโหว่ในประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาดวงจันทร์ เสนอหลักฐานสำคัญแก่มนุษย์ในการรับรู้ประวัติศาสตร์ของดวงจันทร์และวิวัฒนาการของระบบสุริยะ

นอกจากนี้ ตามแผนที่กำหนดไว้ ยานสำรวจดาวอังคาร “เทียนเวิ่น-1” จะถูกแรงโน้มถ่วงของดาวอังคาร ดึงดูดเข้าสู่วงโคจรของดาวในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2021

“เคียงข้างกัน" : 2020 ร่วมสานฝันเดินทางสู่ห้วงอวกาศที่ไกลขึ้นของมนุษยชาติ_fororder_4

นักวิทยาศาสตร์หวังว่า นี่จะเป็นเพิ่มการรู้จักดาวอังคารให้ลุ่มลึก ช่วยมนุษย์ศึกษาวิจัยปัญหาสุดท้ายอย่างเป็นระบบ อาทิ สิ่งมีชีวิตในโลกมาจากไหน จะไปไหน และการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตในโลกเป็นปรากฏการณ์ทั่วไปหรือโดยบังเอิญ เพื่อแสวงหาคำตอบของปัญหาเหล่านี้ มนุษย์จะสามารถรับรู้ความเป็นมาของตนเองและโลกที่อยู่ ปรับปรุงวิสัยทัศน์ต่อโลก จนตระหนักถึงหนทางก้าวหน้าของมนุษย์มากขึ้น

มนุษยชาติมีแต่ต้องแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรกันอย่างเต็มที่ ถึงจะสามารถบรรลุเป้าหมายในการสำรวจโลกที่ยังไม่รู้ เชื่อว่า ในอนาคตที่ไม่ไกลนั้น มนุษย์จะดำเนินความร่วมมือในด้านกิจการสำรวจอวกาศ มีความรับรู้ใหม่ต่ออีกโลกหนึ่ง จนผลักดันความก้าวหน้าทั้งเทคโนโลยีและกำลังการผลิตระดับแนวหน้า ทำให้ทั้งมวลมนุษย์ได้รับประโยชน์ด้วยกัน

(Yim/Cui/Patt)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (18-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (17-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (17-04-2567)

崔沂蒙