เปิดตัวไอคอนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิก 2022 ที่ปักกิ่ง อย่างเป็นทางการ

2021-01-11 15:27:30 | CRI
Share with:

เปิดตัวไอคอนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิก 2022 ที่ปักกิ่ง อย่างเป็นทางการ_fororder_1126935100_16094279311521n

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ปี 2022 งานแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 24 จะเปิดฉากขึ้นที่กรุงปักกิ่ง  ตอนนี้เหลือเพียงปีเดียวเท่านั้นก็จะถึงพิธีเปิดแล้ว

เปิดตัวไอคอนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิก 2022 ที่ปักกิ่ง อย่างเป็นทางการ_fororder_1126935098_16094279299991n

ไอคอนกีฬาเป็นงานภาคบังคับของการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวทุกครั้ง ในวันส่งท้ายปี 2020 คณะกรรมการจัดงานโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่ง ปี 2022 ได้เปิดตัวไอคอนกีฬา 30 รายการของงานโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ รวมถึงไอคอนกีฬาของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 24  รายการและไอคอนกีฬาของงานพาราลิมปิกฤดูหนาว 6 รายการ ซึ่งไอคอนกีฬาเหล่านี้ ได้แรงบันดาลใจจากตัวอักษรจีน ผสมผสานองค์ประกอบของกีฬาฤดูหนาวและวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนเข้าไว้ด้วยกันเป็นอย่างดี

เปิดตัวไอคอนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิก 2022 ที่ปักกิ่ง อย่างเป็นทางการ_fororder_1126935099_16094279306311n

ไอคอนกีฬาของงานโอลิมปิกฤดูหนาว ปักกิ่งปี 2022 กับ "ตราประทับจีน" ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์โอลิมปิกปี 2008 นั้น มีแนวคิดการออกแบบที่สอดคล้องกัน ซึ่งทั้งคู่ต่างก็ออกแบบมาในสไตล์ของตราประทับจีน และเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นเมืองเพียงแห่งเดียวที่จัดงานโอลิมปิกทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาวในเมืองเดียวกัน และยังสะท้อนถึงการสืบทอดวัฒนธรรมของกีฬาโอลิมปิกอีกด้วย

โดยไอคอนกีฬาเหล่านี้มีพื้นสีแดง หมายถึงพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความกระตือรือร้นและความหวัง งานกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งปี 2022 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 ถึง 20 เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2022 ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลตรุษจีนพอดี สีแดงก็ยังสามารถสร้างบรรยากาศการเฉลิมฉลองตรุษจีนได้ด้วย

เปิดตัวไอคอนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิก 2022 ที่ปักกิ่ง อย่างเป็นทางการ_fororder_8d5494eef01f3a2988a5c473e273ee365d607cff

รายการแข่งขันในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวแบ่งเป็น 7 ประเภทใหญ่ ซึ่งมีทั้งสกีหิมะ สเก็ต  ฮอกกี้น้ำแข็ง เคอร์ลิง สโนว์โมบิล เลื่อนหิมะและไบแอธลอน ซึ่งรายการแข่งขันที่น่าตื่นเต้นที่สุดต้องเป็นสกีอัลไพน์นั่นเอง นักกีฬาจะแล่นสกีจากภูเขาสูง 5-600 เมตรลงมาเป็นระยะทาง 1000 เมตรภายในเวลาเพียง 1-2 นาทีเท่านั้น ด้วยความเร็วกว่า 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  เป็นกีฬาที่น่าอัศจรรย์จริงๆ

ที่นี่เป็นศูนย์สกีอัลไพน์แห่งชาติจีนที่ตั้งอยู่ในเขตเหยียนชิ่ง ทางตอนเหนือของกรุงปักกิ่ง เครื่องทำหิมะมากกว่า 150 เครื่องกับเครื่องดันหิมะ 27 เครื่องกำลังทำงานตลอดทั้งวัน ที่นี่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 2,200 เมตร ในฤดูหนาว อุณหภูมิตอนกลางคืนจะติดลบ 20 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะสำหรับการผลิตหิมะเทียมมาก แต่เนื่องจากที่นี่มีลมแรงกว่า 20 เมตรต่อวินาที หลังจากเครื่องผลิตหิมะพ่นหิมะออกมาแล้วก็จะต้องรีบใช้เครื่องดันหิมะให้เป็นเลนสกีที่ราบเรียบทันที

สำหรับงานโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ เนื่องจากกรุงปักกิ่งเคยจัดงานโอลิมปิกฤดูร้อนไปแล้ว และมีสนามแข่งขันระดับงานโอลิมปิกมากมายหลายแห่ง ดังนั้นจึงสามารถดัดแปลงสนามแข่งขันเหล่านี้ให้เป็นสนามแข่งขันกีฬาฤดูหนาวได้โดยตรง ถือว่าเป็นความได้เปรียบเฉพาะของกรุงปักกิ่งเลยทีเดียว

อย่างเช่นศูนย์ว่ายน้ำแห่งชาติ หรือเรียกว่า สุ่ยลี่ฟาง ที่แปลว่าลูกบาศก์น้ำ ที่นี่เคยเป็นสนามแข่งขันกีฬาทางน้ำ รวมถึงว่ายน้ำ กระโดดน้ำ โปโลน้ำและระบำใต้น้ำ ก็ถูกดัดแปลงให้เป็น ปิงลี่ฟาง ที่แปลว่าลูกบาศก์น้ำแข็งโดยตรงได้ ซึ่งก็คือดัดแปลงสระว่ายน้ำให้เป็นสระน้ำแข็ง ที่สามารถจัดการแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งและสเกตลีลา

เปิดตัวไอคอนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิก 2022 ที่ปักกิ่ง อย่างเป็นทางการ_fororder_u=3131587480,3400623582&fm=26&gp=0

สนามกีฬาแห่งชาติที่ห่างจากลูกบาศก์น้ำไม่ไกลนั้น ถูกเรียกว่า “พัดจีน” ซึ่งเคยเป็นสนามแข่งขันแฮนด์บอลในงานโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2008 เมื่อถึงปี 2022 จะถูกดัดแปลงให้เป็นสนามแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งชาย ผนังกระจกสีครามของสนามกีฬาแห่งชาติ จะถูกดัดแปลงให้เป็นก้อนกระจกน้ำแข็งจำลอง เพื่อให้สามารถรับแสงอาทิตย์ได้มากขึ้นในช่วงหน้าหนาว ลดการสิ้นเปลืองพลังงานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น จึงมีชื่อใหม่ที่เรียกว่า “ปราสาทน้ำแข็ง” สิ่งที่น่ามหัศจรรย์ยิ่งกว่าก็คือ หลังการดัดแปลงครั้งนี้แล้ว สนามกีฬาแห่งชาติจะสามารถเปลี่ยนฉากระหว่างสนามแข่งขันกีฬาน้ำแข็งกับสนามกีฬาฤดูร้อนได้ ต่อไปก็จะสามารถจัดการแข่งขันกีฬาในทุกฤดูกาลได้สบาย ๆ

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

张丹