“การศึกษา”กุญแจไขปัญหาความยากจนของจีน

2021-01-13 08:45:06 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

“การศึกษา” กุญแจไขปัญหาความยากจนของจีน_fororder_西藏配图2.JPG

การเอาชนะสงครามขจัดความยากจน เป็นสัญลักษณ์สำคัญในการบรรลุเป้าหมายการสร้างสังคมพอกินพอใช้อย่างรอบด้านของจีน หน่วยงานกำกับดูแลการศึกษาของจีนปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนอย่างตรงจุดในพื้นที่ยากจน ให้ความสำคัญกับโรงเรียนทุกแห่ง ครูทุกรายและเด็กทุกคนในพื้นที่ยากจน

ทางการจีนเริ่มให้การศึกษาเป็นตัวช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างรอบด้าน โดยดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้อง 20 รายการตามลำดับ จนทำให้การศึกษาภาคบังคับมีความครอบคลุม มีการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในโรงเรียน ระบบการช่วยเหลือนักเรียน การพัฒนาครู การพัฒนาการศึกษาชนเผ่า และการยกระดับอาชีวศึกษา เพื่อวางรากฐานที่มั่นคงให้กับประชากรยากจนทั้งปวงในชนบทที่พ้นออกจากความยากจนตามแผนในปี 2020 และพื้นที่ยากจนสามารถสร้างสังคมพอกันพอใช้ที่ยั่งยืนพร้อมกัน

ในนโยบายใช้การศึกษาแก้ปัญหาความยากจน 20 รายการดังกล่าวนั้น มีทั้งการวางแผนพัฒนาการศึกษาภาพรวมในพื้นที่ยากจนและก็มีรายการสนับสนุนที่เฉพาะด้าน มีทั้งมาตรการสำหรับนักเรียนและก็มีนโยบายที่รับใช้ครู มีทั้งการศึกษาทั่วไปและก็มีแบบสายอาชีพ มีนโยบายต่อพื้นที่ยากจนพิเศษ 11 แห่งและก็มีนโยบายเจาะจง 4 เขตทางใต้ในซินเจียงและทิเบต มีทั้งการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานและก็มีการยกระดับสุขภาพของนักเรียน

“การศึกษา” กุญแจไขปัญหาความยากจนของจีน_fororder_西藏配图1.JPG

ภายใต้นโยบายใช้การศึกษาแก้ปัญหาความยากจน ทำให้ทั่วประเทศจีนพยายามจัดตั้งโรงเรียนให้ดีในพื้นที่ยากจน ครอบคลุมครูทุกราย ฝึกอบรมเด็กทุกคน ยกตัวอย่างเช่น เขตปกครองตนเองทิเบตของจีน รัฐบาลกลางจีนมีนโยบายพิเศษ คือ กินฟรี อยู่ฟรีและเรียนฟรี สะท้อนถึงการให้ความสำคัญใส่ใจยิ่งต่อการศึกษาในทิเบตของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน นายหวัง กั๋วหวา ผู้รับผิดชอบฝ่ายการบัญชี กรมการศึกษาเขตปกครองตนเองทิเบตให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภาคภาษาไทยไชน่ามีเดียกรุ๊ป โดยแนะนำถึงนโยบายกินฟรี อยู่ฟรีและเรียนฟรีอย่างละเอียดว่า

“นโยบายนี้เริ่มดำเนินมาตั้งแต่ ค.ศ. 1985 มีการปรับปรุงและเพิ่มมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมการศึกษาปฐมวัยถึงมัธยมปลายของลูกเกษตรกร คนเลี้ยงสัตว์ และครอบครัวยากจนที่อาศัยอยู่ในเมืองทั้งปวง ปัจจุบัน เงินช่วยเหลือด้านการศึกษาแก่นักเรียนอยู่ที่คนละ 3,720 หยวนต่อปี เฉพาะปี 2019 ก็จัดสรรทุนการศึกษา 223,700 ล้านหยวน แก่เด็กนักเรียน 605,900 คน”

หลายปีมานี้ โรงเรียนสาธิตลาซ่าปักกิ่ง เป็นในโรงเรียนในทิเบตอีกหนึ่งแห่งที่มีนโยบายให้เด็กกินฟรี อยู่ฟรีและเรียนฟรี เมื่อค.ศ. 2014 ทางการปักกิ่งได้สนับสนุนเงินทุน 250 ล้านหยวน ช่วยสร้างโรงเรียนแห่งนี้ขึ้น โรงเรียนมีเนื้อที่ 207 โหม่ว(ประมาณ 86.25 ไร่) มีครูและเจ้าหน้าที่เกือบ 300 คน นักเรียนกว่า 2,400 คน

“การศึกษา” กุญแจไขปัญหาความยากจนของจีน_fororder_西藏配图3

นายเหลียงซิน เป็นครูจากปักกิ่งและช่วยสอนหนังสือที่ทิเบต ขณะนี้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีของโรงเรียนแห่งนี้ เขาเปิดเผยว่าในโรงเรียนมีสัดส่วนของนักเรียนได้รับสิทธิ์กินฟรีอยู่ฟรีและเรียนฟรี คิดเป็นร้อยละ 95-96 ของนักเรียนทั้งหมด นอกจากนี้ โรงเรียนยังจัดตั้งห้องเรียนหงจื้อ ช่วยเหลือนักเรียนครอบครัวยากจนเป็นพิเศษอีก เขากล่าวว่า

“ขณะนี้ โรงเรียนเรามีทั้งหมด 54 ห้องเรียน แต่ละชั้นมีห้องเรียนหงจื้อ 1 ห้องเรียน โดยกองบัญชาการปักกิ่งช่วยเหลือทิเบตให้เงินอุดหนุนห้องละ 500,000 หยวน นักเรียนที่อยู่ในห้องเรียนนี้จะมาจากครอบครัวยากจนที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว หรือเป็นกำพร้า เป็นนักเรียนที่พ่อแม่ได้รับเงินประกันสังคมขั้นต่ำในชนบทและเมือง เป็นต้น”

นางสาวชั่วจี๋ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของห้องเรียนหงจื้อ เป็นหนึ่งในนักเรียนที่มีสิทธิ์กินฟรี อยู่ฟรีและเรียนฟรี เธอได้แสดงความปรารถนาของเธอหลังสำเร็จการศึกษาว่า

“ดิฉันชอบมากที่สามารถอ่านหนังสือที่นี่ ในอนาคตอยากจะเป็นครูสอนหนังสือและถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของชนเผ่าทิเบตให้คนรุ่นหลัง”

ผู้เขียน:นาย CuiYimeng ภาคภาษาไทยไชน่ามีเดียกรุ๊ป

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

崔沂蒙