บทวิเคราะห์ : ผลงานและอนาคตของการเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียน

2021-01-25 16:17:02 | CRI
Share with:

จีนกับประเทศอาเซียนมีการเชื่อมโยงทั้งทางบกและทางน้ำ  และมีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน  อีกทั้งมีเศรษฐกิจที่มีส่วนเกื้อกูลกัน  ปีหลัง ๆ มานี้  ผู้นำทั้งจีนและอาเซียนต่างตอกย้ำว่า  การเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียนเป็นจุดสำคัญที่ต้องพัฒนาก่อนของความร่วมมือระหว่างทั้งสองฝ่าย  การเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียนเป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว  ทุกมิติ  และระดับลึกซึ้ง  ด้วยความพยายามของทั้งสองฝ่าย  การเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียนได้รับผลงานอันอุดมสมบูรณ์และมีอนาคตสดใสกว้างไกล

หลายปีมานี้  อาเซียนเร่งการเชื่อมโยงให้เร็วยิ่งขึ้น  ต่อจากประกาศแถลงการณ์เกี่ยวกับการเชื่อมโยงอาเซียนของผู้นำอาเซียนเมื่อปี 2009  อาเซียนได้ประกาศแผนแม่บทการเชื่อมโยงอาเซียนเมื่อปี 2010 โดยระบุว่า  การเชื่อมโยงของอาเซียนรวมถึงการเชื่อมโยงทางฟิสิกส์  ทางระบบ  และทางบุคลากร รวม 3 ด้าน

ด้านการเชื่อมโยงทางฟิสิกส์ได้รวมถึงการเชื่อมโยงด้านการคมนาคมขนส่ง  เทคโนโลยีสารสนเทศกับข้อมูลข่าวสาร  ตลอดจนพลังงาน  ด้านการเชื่อมโยงทางระบบรวมถึงการค้าเสรีกับความสะดวกทางการค้า  เสรีภาพและความสะดวกด้านการลงทุนและการบริการ  ข้อตกลงว่าด้วยการรับรองแบบพหุภาคี  ข้อตกลงการลำเลียงขนส่งส่วนภูมิภาค  ขั้นตอนการข้ามพรมแดนที่ง่ายขึ้น  และการสร้างทักษะความสามารถ  เป็นต้น  ส่วนการเชื่อมโยงด้านบุคลากรรวมถึงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรม  ตลอดจนการท่องเที่ยว 

เมื่อปี 2016 อาเซียนประกาศแผนแม่บทการเชื่อมโยงอาเซียนปี 2025 อีก  โดยหนุนพัฒนา 5 ด้านเป็นสำคัญ  ได้แก่  การก่อสร้างด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง  การสร้างนวัตกรรมทางดิจิทัล  โลจิสติกส์  การบริหารด้านการนำเข้าและส่งออก  และการแลกเปลี่ยนทางบุคลากร  

ที่ผ่านมา  จีนสนับสนุนบรรดาประเทศอาเซียนปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างเต็มอัตรา  และหนุนการเชื่อมโยงระหว่างจีน- อาเซียนอย่างแข็งขัน  โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียน  นอกจากนี้  จีนยังได้จัดตั้งกองทุนเพื่อความร่วมมือและการลงทุนระหว่างจีน-อาเซียน  และกองทุนเพื่อความร่วมมือทางทะเลระหว่างจีน-อาเซียนตามลำดับ  หลายปีมานี้  จีนขับเคลื่อนโครงการทางรถไฟจีน-ลาว  โครงการทางถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-เมืองบันดุงของอินโดนีเซีย  โครงการรถไฟใต้ดินกรุงฮานอย  และโครงการทางรถไฟตามชายฝั่งทะเลทางตะวันออกของมาเลเซีย  เป็นต้น 

เมื่อปี 2019 จีน-อาเซียนได้เปิดใช้บริการโลจิสติกส์ข้ามชาติอัจฉริยะออนไลน์    โดยใช้เทคโนโลยีไอโอทีหรือ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง นวัตกรรมไอโอวียานยนต์อัจฉริยะ  และการประมวลผลแบบคลาวด์  เป็นต้น  เพื่อการตรวจสอบ การจัดสรรรถขนส่งกับสินค้าแบบอัจฉริยะ  การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร  การชำระเงิน  และการบริการโลจิสติกส์ข้ามประเทศ  เป็นต้น

การเชื่อมโยงเป็นจุดสำคัญของข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่นายสี จิ้นผิง ผู้นำสูงสุดของจีนเป็นผู้ริเริ่ม  นายสี จิ้นผิง ระบุว่า  การเชื่อมโยงเป็นหนทางที่อยู่ใต้เท้า  ไม่ว่าทางหลวง  ทางรถไฟ  เส้นทางการบิน  หรืออินเทอร์เน็ต  หนทางไปถึงไหน  ความร่วมมือของเราก็ไปให้ถึงที่นั่น  การเชื่อมโยงเป็นหนทางแห่งกฎเกณฑ์  ต้องเพิ่มความร่วมมือและการประสานงานให้มากยิ่งขึ้น  ขณะเดียวกัน  ควรลดกฎเกณฑ์และขจัดอุปสรรคต่างๆให้น้อยลง  โลจิสติกส์ของเราก็จะคล่องยิ่งขึ้น  เหตุผลต่างๆก็จะกระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น  เรื่องต่างๆก็จะดียิ่งขึ้นตามไปด้วย

ย้อนไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2019  ผู้นำจีน-อาเซียนได้ออกแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการสานต่อระหว่างแผนแม่บทการเชื่อมโยงอาเซียนปี 2025 กับข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง  จีนใช้ระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทรอินโด-จีน เป็นที่พึ่ง  ส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียนให้มากยิ่งขึ้น

ทว่าการแพร่ระบาดของโควิด -19 ก่อให้เกิดความยากลำบากและการท้าทายต่างๆต่อการเชื่อมโยง  อย่างไรก็ตาม  โควิด-19 ไม่สามารถขัดขวางการพัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียนได้  ทั้งสองฝ่ายยังคงพัฒนาการเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง 

บทวิเคราะห์ ผลงานและอนาคตของการเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียน_fororder_0b55b319ebc4b745374235c080fd9d108b82151e

เมื่อเดือนตุลาคมปี 2020 จีนและไทยได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือด้านทางรถไฟความเร็วสูงฉบับใหม่  หลังจากนั้นในเดือนธันวาคม   ขบวนรถไฟนานาชาติหลายรูปแบบระหว่างจีน-อาเซียนเริ่มเดินรถ  โดยออกเดินทางจากสถานีอัจฉริยะนานาชาติปักกิ่ง-นครเทียนจิน-เมืองเป่าติ้ง  ถือเป็นช่องทางใหม่ของการค้าระหว่างจีนอาเซียน 

บทวิเคราะห์ ผลงานและอนาคตของการเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียน_fororder_63d9f2d3572c11df287bf5920d68d8d7f603c2b4

และเมื่อกลางเดือนมกราคมปี 2021 นี้  ทางการจีนลงนามสัญญากับกระทรวงการคมนาคมฟิลิปปินส์เกี่ยวกับทางรถไฟระหว่างเมืองซูบิกกับเมืองคลาร์คในฟิลิปปินส์  โดยการลงทุนตามสัญญามีมูลค่าประมารณ 940 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ถือเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลจีนกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่มีมูลค่าการลงทุนสูงที่สุดในปัจจุบัน

ในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาด  การเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียนยังได้แสดงบทบาทสำคัญในด้านการรักษาพยาบาลทางไกล  การศึกษาออนไลน์  การทำงานอย่างประสานกัน  และอีคอมเมิร์ซข้ามชาติ เป็นต้น

ในอนาคต  โดยเฉพาะหลังจากได้ลงนามในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(อาร์เซ็ป) ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมเพื่อความร่วมมือ  การเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียนย่อมจะมีระดับสูงขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น  อีกทั้งจะสร้างผลประโยชน์ให้แก่ประชาชนทั้งจีนและประเทศอาเซียน  เชื่อว่า  การเชื่อมโยงระหว่างจีน-อาเซียนย่อมจะเป็นวิถีทางสำคัญ ที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันเอาชนะโควิด-19 ฟื้นเศรษฐกิจ  และบรรลุการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

(Yim/Zhou)

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

周旭