บทวิเคราะห์ : เหตุใดจีนเน้นยืนหยัดแนวคิดใหม่แห่งการพัฒนา

2021-02-03 12:25:17 | CMG
Share with:

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เป็นประธานการศึกษาและแลกเปลี่ยนความเห็น ครั้งที่ 27 ของกรมการเมืองแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยเขากล่าวเน้นว่า จีนจะปฏิบัติตาม “แนวคิดใหม่แห่งการพัฒนา” อย่างรอบด้านในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติไปตลอด

“แนวคิดใหม่แห่งการพัฒนา” หมายถึง แนวคิดการพัฒนาแห่ง “การสร้างนวัตกรรม การประสานกลมกลืน ความเป็นแบบสีเขียว เปิดกว้าง และร่วมแบ่งปัน” นายสี จิ้นผิง เสนอแนวคิดนี้ในที่ประชุมเต็มคณะ ครั้งที่ 2 ในการประชุมเต็มคณะ ครั้งที่ 5 ของการประชุมสมัชชาผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 18 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2015 หลังจากนั้น แนวคิดนี้ได้กลายเป็นแนวทางชี้นำแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 ของจีน ภายใต้แนวคิดนี้ เศรษฐกิจจีนเปลี่ยนจากการพัฒนาในอัตราการขยายตัวสูงมาเป็นการพัฒนาอย่างมีคุณภาพ

บทวิเคราะห์: เหตุใดจีนเน้นยืนหยัดแนวคิดใหม่แห่งการพัฒนา_fororder_中国共产党第十八届中央委员会第五次全体会议,于2015年10月26日至29日在北京举行。中央委员会总书记习近平作重要讲话

การที่ผู้นำสูงสุดจีนออกคำสั่งสำคัญอีกครั้งทั่วประเทศให้ต้องยืนหยัดแนวคิดใหม่แห่งการพัฒนาในทุกภารกิจในอนาคตครั้งนี้นั้น สะท้อนให้เห็นถึงความหมายอันสำคัญยิ่งของแนวคิดนี้ที่มีต่อการพัฒนาของจีน

กล่าวสำหรับประชาคมโลกไม่ว่าจะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ประเทศ วิสาหกิจ หรือ บุคคลที่ดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และอื่น ๆ กับจีนนั้น  การทำความเข้าใจแนวคิดใหม่แห่งการพัฒนาย่อมมีความหมายสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

บรรดาผู้เชี่ยวชาญจีนมีความเห็นโดยทั่วไปว่า แนวคิดใหม่แห่งการพัฒนานั้นเสนอขึ้นโดยคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีนายสี จิ้นผิงเป็นแกนกลาง บนพื้นฐานแห่งการสรุปประสบการณ์และบทเรียนด้านการพัฒนาทั้งภายในและต่างประเทศอย่างลึกซึ้ง เป็นความรับรู้ใหม่และข้อสรุปใหม่ต่อกฎแห่งการพัฒนาสังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์จีน เป็นหนทางที่จำต้องเดินเพื่อบรรลุการพัฒนาด้วยคุณภาพสูงยิ่งขึ้น มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น มีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น และมีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

การสร้างนวัตกรรมเป็นพลังขับเคลื่อนอันดับแรกในการผลักดันการพัฒนา ท่ามกลางสถานการณ์ที่การแข่งขันระหว่างประเทศนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นและจีนกำลังปรับเปลี่ยนพลังขับเคลื่อนการพัฒนานั้น มีเพียงการยืนหยัดพัฒนาด้วยการสร้างนวัตกรรม จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาการปรับเปลี่ยนพลังขับเคลื่อนได้ จำต้องถือการสร้างนวัตกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในภาพรวมของการพัฒนาชาติ ผลักดันการสร้างนวัตกรรมเชิงทฤษฎี ระบบ วัฒนธรรม และอื่น ๆ ใช้ประโยชน์จากการสร้างนวัตกรรมซึ่งถือเป็นพลังขับเคลื่อนอันดับแรกมาผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจจีนไปสู่ระดับกลางและสูง

การประสานกลมกลืนเป็นความต้องการที่จำเป็นแห่งการพัฒนาด้วยดีอย่างยั่งยืน ปัญหาด้านการพัฒนาในอดีตที่ผ่านมาของจีน เช่น ความไม่สมดุล ขาดการประสานกลมกลืน และไม่ยั่งยืนนั้น เกิดจากรูปแบบการพัฒนาที่ “หยาบกร้าน” และขาดแนวคิดการพัฒนาที่ถูกต้องในช่วงเวลาระยะหนึ่ง โดยเฉพาะมีความขัดแย้งหลายด้านดำรงอยู่อย่างโดดเด่น อาทิ ความไม่สมดุลระหว่างภูมิภาคกับภูมิภาค ความไม่ประสานกลมกลืนระหว่างเมืองกับชนบท ความไม่เหมาะสมของโครงสร้างอุตสาหกรรม และ “สภาวะขาข้างหนึ่งยาวอีกข้างหนึ่งสั้น” ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการพัฒนาทางสังคม เป็นต้น ซึ่งกลายเป็นปัจจัยสำคัญอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว จำต้องจัดวางโครงสร้างภาพรวมแห่งภารกิจสังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์จีนอย่างถูกต้อง จัดการความสัมพันธ์ที่สำคัญในด้านการพัฒนาให้ดี ส่งเสริมการพัฒนาอย่างสอดประสานกลมกลืนระหว่างเมืองกับชนบท ภูมิภาคกับภูมิภาค และระหว่างเศรษฐกิจกับสังคม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ ระบบสาระสนเทศ ความเป็นเมือง และความทันสมัยทางการเกษตร ให้พัฒนาไปพร้อมกัน

การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเงื่อนไขบังคับในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นสิ่งสะท้อนถึงความใฝ่ฝันในการจะมีชีวิตที่ดีงามของประชาชนอันสำคัญ ความเสื่อมถอยของสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จนกลายเป็นปัญหาร้ายแรงในสังคมจีน ความต้องการอากาศบริสุทธิ์ น้ำดื่มสะอาด อาหารปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่สวยงามของประชาชนจีนนับวันยิ่งมีมากยิ่งขึ้น มีเพียงการยืนหยัดพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงจะสามารถสร้างสรรค์ “ประเทศจีนที่สวยงาม” และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้

การเปิดกว้างเป็นหนทางที่ย่อมต้องเดินในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง หากมองจากภาพรวม ระดับการเปิดประเทศของจีนยังไม่สูงเพียงพอ ขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งภายในและต่างประเทศนั้นยังไม่เข้มแข็งเพียงพอเช่นกัน มีเพียงการยืนหยัดพัฒนาอย่างเปิดกว้างจึงจะสามารถยกระดับการเปิดสู่ภายนอกทางเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการหลอมรวมทั้งภายในประเทศกับต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ จำต้องสอดประสานแนวโน้มที่เศรษฐกิจจีนหลวมรวมเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างลึกซึ้ง ยึดยุทธศาสตร์การเปิดประเทศที่อำนวยประโยชน์แก่กันและได้ชัยชนะร่วมกันอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศให้ดี ตลอดจนยกระดับการเปิดสู่ภายนอกของเศรษฐกิจจีนอีกระดับ

การร่วมแบ่งปันเป็นความต้องการพื้นฐานแห่งสังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์จีน นับตั้งแต่การปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นต้นมา ระดับชีวิตความเป็นอยู่ รายได้ และการประกันสังคมของประชาชนจีนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความรู้สึกได้ประโยชน์ของประชาชนมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงมีปัญหาและจุดด้อยดำรงอยู่ เช่น ช่องว่างด้านรายได้ และ ความขัดแย้งทางสังคมมีค่อนข้างมาก  เป็นต้น ขณะเดียวกัน ประชาชนนับวันยิ่งต้องการชีวิตที่ดีงามในขอบเขตที่กว้างยิ่งขึ้น ไม่เพียงแต่เสนอความต้องการที่สูงยิ่งขึ้นต่อชีวิตความเป็นอยู่ด้านวัตถุและวัฒนธรรมเท่านั้น หากยังมีความต้องการมากขึ้นทุกวันด้านประชาธิปไตย นิติรัฐ ความเป็นธรรม ความเที่ยงตรง ความปลอดภัย สภาพแวดล้อม และอื่น ๆ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จำต้องยืนหยัดถือประชาชนสำคัญที่สุด ถือความใฝ่ฝันในชีวิตที่ดีงามของประชาชนเป็นเป้าหมายแห่งการฟันฝ่าต่อสู้ของจีน

กล่าวโดยรวมแล้ว แนวคิดใหม่แห่งการพัฒนาเป็นทฤษฎีที่เป็นระบบ ตอบคำถามทั้งทางทฤษฎีและภาคปฏิบัติต่าง ๆ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ พลังขับเคลื่อน รูปแบบ ลู่ทาง และอื่น ๆ ด้านการพัฒนาของจีน ทั้งยังอธิบายจุดยืนทางการเมือง ทิศทางค่านิยม รูปแบบ และหนทางการพัฒนาของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ตลอดจนประเด็นทางการเมืองที่สำคัญอื่น ๆ ทั้งนี้ แนวคิดนี้จะขยายบทบาทชี้นำที่สำคัญในการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 และการพัฒนาในอนาคตระยะยาวของจีนอย่างแน่นอน

TIM/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (03-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (03-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (03-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (02-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (02-05-2567)

陆永江