จีนจัดเสวนาออนไลน์“การร่วมอนุรักษ์ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม”ในฟอรั่มความร่วมมือระหว่างประเทศรอบหิมาลัยด้วยความสำเร็จ

2021-02-03 13:29:39 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

จีนจัดเสวนาออนไลน์ “การร่วมอนุรักษ์ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม” ในฟอรั่มความร่วมมือระหว่างประเทศรอบหิมาลัยด้วยความสำเร็จ_fororder_微信图片_20210203132802

สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน(ซีเอ็มจี)รายงานว่า วันที่ 2 กุมภาพันธ์ เขตปกครองตนเองทิเบตของจีนร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศจีนจัดงานเสวนาออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “การร่วมอนุรักษ์ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม” ในการประชุมฟอรั่มความร่วมมือระหว่างประเทศรอบหิมาลัย นายหลัว เจ้าฮุย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน นายอู๋ อิงเจี๋ย เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำเขตปกครองตนเองทิเบตของจีน พร้อมด้วยนายบันคีมูน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ประธานคณะกรรมการบริหารฟอรั่มเอเชียโป๋อ๋าว นายเควิน รัดด์ อดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย และผู้แทนจาก 16 ประเทศ เช่น ไทย เนปาล บังคลาเทศ ภูฏาน เกาหลีใต้ มองโกเลีย ฝรั่งเศส บราซิล เปรู โบลิเวีย เป็นต้น อีกทั้ง 3 องค์กรสากลและเจ้าหน้าที่ นักวิชาการจากเขตปกครองตนเองทิเบตของจีน และสภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีนต่างเข้าร่วมงานครั้งนี้

นายหลัว เจ้าฮุย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนได้กล่าวคำปราศรัยว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในภัยคุกคามความปลอดภัยที่สำคัญเร่งด่วนที่มนุษย์ร่วมเผชิญอยู่ จีนเต็มใจร่วมสร้างคุณูปการและผลักดันการส่งเสริมประเทศต่างๆร่วมแรงร่วมใจกัน กระชับความร่วมมือ รับมือกับภัยคุกคามร่วมกันของมนุษย์ โดยได้เสนอความคิดเห็นใน 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.ปัญหาข้ามชาติต้องการความร่วมมือข้ามชาติ 2.จีนเป็นประเทศแกนนำจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก 3.ผลสำเร็จของจีนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 4.การผลักดันความร่วมมือส่วนภูมิภาครอบหิมาลัยให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น

จีนจัดเสวนาออนไลน์ “การร่วมอนุรักษ์ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม” ในฟอรั่มความร่วมมือระหว่างประเทศรอบหิมาลัยด้วยความสำเร็จ_fororder_微信图片_20210203132806

นายเควิน รัดด์ อดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียกล่าวว่า จีนได้อยู่ในฐานะแกนนำของการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ แนวคิดการพัฒนาแบบสีเขียวของจีนได้รับความสนใจอย่างสูงจากประชาคมโลกมากขึ้นทุกขณะ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติกลายเป็นเนื้อหาสำคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14  เป็นเป้าหมายปี 2035 และ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” แบบสีเขียว ประชาคมโลกต่างรอคอยจีนแสดงบทบาทผู้นำด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ทุกฝ่ายที่ร่วมงานเห็นว่า การจัดเสวนาออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ลุกลามนี้ได้กระตุ้นจิตสำนึกและชี้นำทิศทางที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ทั่วโลกควรจับมือกัน ร่วมรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ใช้มาตรการที่แท้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ พยายามผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจทั่วโลกแบบสีเขียวและการพัฒนาอย่างยั่งยืนหลังโควิด-19 ให้ประสบผลสำเร็จใหม่ด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ การพัฒนากับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง

(Yim/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (16-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (16-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (16-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-04-2567)

崔沂蒙