บทวิเคราะห์ : แก้วิกฤตเมียนมาด้วยการเจรจาพูดคุย

2021-02-22 15:55:32 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์ แก้วิกฤตเมียนมาด้วยการเจรจาพูดคุย_fororder_WechatIMG64

ตั้งแต่ย่างเข้าเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา  สถานการณ์ประเทศเมียนมาเป็นที่สนใจกันของทั่วโลก  ฝ่ายต่าง ๆ พากันออกเสียง มีเสียงประณาม  เสียงคว่ำบาตร  และเสียงกังวล  เป็นต้น  นักวิเคราะห์เห็นว่า  การส่งเสริมให้ฝ่ายต่าง ๆ ในเมียนมาเจรจาพูดคุยกัน  จะมีส่วนช่วยต่อการแก้ไขวิกฤตในปัจจุบัน  และจะช่วยให้สถานการณ์เมียนมาพัฒนาไปสู่ทิศทางที่ดี

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และหัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติ (เอ็นแอลดี) นายอู วิน มินต์ ประธานาธิบดีเมียนมา  และบุคคลสำคัญพรรคสันติบาตแห่งชาติถูกกองทัพเมียนมาจับกุม  ต่อมา  กองทัพเมียนมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่  โดยมอบอำนาจให้แก่พลเอกมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพเมียนมา

ความขัดแย้งระหว่างกองทัพกับพรรคสันนิบาตแห่งชาติเกิดขึ้นเนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2020 โดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติคว้าชัยชนะอย่างถล่มทลาย  แต่กองทัพเมียนเห็นว่าการเลือกตั้งดังกล่าวมีการโกงคะแนนเสียงและทุจริต  จึงเรียกร้องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดการตรวจสอบ  เนื่องจากกองทัพไม่พอใจต่อการตอบสนองของคณะกรรมการการเลือกตั้ง  จึงใช้ปฏิบัติการดังกล่าว

ปัจจุบัน  สถานการณ์เมียนมาสลับซับซ้อนและน่ากังวลอย่างยิ่ง  โดยมีการชุมนุมประท้วงต่อต้านกองทัพในหลายเมืองทั่วเมียนมา  ฝ่ายตำรวจกับพลเมืองเกิดการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง

บทวิเคราะห์ แก้วิกฤตเมียนมาด้วยการเจรจาพูดคุย_fororder_WechatIMG65

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์เมียนมา  โดยระบุว่า  ในเวลานี้ต้องประกันการคุ้มครองประชาชนเมียนมา และสิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขา ต้องทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้ความรุนแรงลุกลามออกไป 

ด้านคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีการประชุมวาระพิเศษเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นายเฉิน ซี่ว์ เอกอัครราชทูตจีนประจำคณะผู้แทนเจนีวาของจีนระบุในที่ประชุมดังกล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นในเมียนมาเป็นกิจการภายในของเมียนมา  ประชาคมโลกควรเคารพอธิปไตย  เอกราชทางการเมือง  บูรณภาพเหนือดินแดน  และเอกภาพแห่งชาติของเมียนมา  ช่วยเหลือให้ฝ่ายต่าง ๆ ของเมียนมาเจรจาและพูดคุยกันอย่างสันติ  เพื่อเจตจำนงและประโยชน์ของประชาชนเมียนมา  จีนสนับสนุนอาเซียนและทูตพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติเกี่ยวกับเรื่องเมียนมาแสดงบทบาทไกล่เกลี่ย  จีนหวังว่า   ฝ่ายต่าง ๆ ในเมียนมาจัดการเจรจาพูดคุยเพื่อขจัดความขัดแย้งกันอย่างเหมาะสมในกรอบรัฐธรรมนูญและกฎหมาย  และรักษาเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมในเมียนมา  ตลอดจนสันติสุขและความปรองดอง โดยต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้สถานการณ์ซับซ้อนยิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์  นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ระบุว่า  สถานการณ์เมียนมาน่ากังวลอย่างยิ่ง  ต้องเคารพเสรีภาพในการประท้วงอย่างสันติของประชาชนเมียนมา   เลขาธิการอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เรียกร้องให้ผู้นำกองทัพเมียนมาเคารพเจตจำนงของประชาชน และยึดมั่นในบรรทัดฐานประชาธิปไตย โดยแก้ไขความแตกต่างใด  ๆ ผ่านการเจรจาพูดคุยอย่างสันติ

ด้านประเทศตะวันตกได้พากันเพิ่มแรงกดดันต่อเมียนมา โดยนิวซีแลนด์เริ่มประกาศคว่ำบาตรผู้นำกองทัพเมียนมาเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์  ต่อมา  สหรัฐฯ  อังกฤษ  และแคนาดา เป็นต้นต่างประกาศคว่ำบาตรกองทัพเมียนมาตามลำดับ

ด้านประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งเป็นประเทศรอบข้างของเมียนมาใช้ท่าทีแตกต่างกับฝ่ายตะวันตก  ส่วนใหญ่เห็นว่า  เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นกิจการภายในของเมียนมา เร่งรัดให้ฝ่ายต่าง ๆ ในเมียนมายับยั้งชั่งใจ  และปฏิบัติตามกฎหมาย  อาเซียนยังได้ออกแถลงการณ์ประธานเกี่ยวกับสถานการณ์เมียนมาซึ่งมีสาระสำคัญว่า  อาเซียนระลึกถึงวัตถุประสงค์และหลักการที่ปรากฏในกฎบัตรอาเซียน รวมถึงการยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และธรรมาภิบาล การเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และย้ำว่า  ความมั่นคงทางการเมืองในประเทศสมาชิกอาเซียนมีความสำคัญต่อการบรรลุประชาคมอาเซียนที่สงบสุข มั่นคง  และมั่งคั่ง ทั้งยังสนับสนุนให้ดำเนินการเจรจาปรองดองและการกลับคืนสู่สภาวะปกติตามเจตจำนงและผลประโยชน์ของประชาชนเมียนมา

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  นายทีโอโดโร ล็อกซิน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์เมียนมาว่า  ประเทศตะวันตกนั่นเองที่ก่อให้เกิดวิกฤตการเมืองในเมียนมา  ฝ่ายตะวันตกสนใจน้ำมันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติในเมียนมา  พวกเขาไม่สนใจเสรีภาพของเมียนมาหรอก  พวกเขาหมายจะฉีกเมียนมาให้แตกเป็นเสี่ยง ๆ เพื่อได้รับน้ำมันและแก๊สในเมียนมา

ประเทศไทยกับเมียนมามีพรมแดนติดต่อยาว 1,800 กิโลเมตร  เมื่อวันที่  11 กุมภาพันธ์ นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศไทย ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับท่าทีของไทยต่อสถานการณ์เมียนมาในปัจจุบันว่า ประเทศไทยมีท่าทีสอดคล้องกับประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศไทยได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด   เป็นมิตรที่หวังดีและมีความห่วงใยซึ่งกันและกัน ประเทศเราทั้งสองยึดหลักการว่า ความมั่นคงและมั่งคั่งของเมียนมาคือความมั่นคงและมั่งคั่งของประเทศไทย  ด้วยเหตุนี้สันติภาพและเสถียรภาพในเมียนมาจึงสำคัญต่อประเทศไทยอย่างมาก ประเทศไทยหวังว่าสถานการณ์จะได้รับการแก้ไขด้วยสันติวิธี ด้วยการพูดคุยและกลับสู่ปกติในเร็ววัน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวเมียนมา

นายสุธิชัย หยุ่น อดีตประธานกรรมการ เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ปของไทยระบุว่า  ประเทศไทยควรแสดงบทบาทความเป็นผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อให้ฝ่ายต่าง ๆ ของเมียนมาเจรจาพูดคุยกัน

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์  นายเฉิน ไห่ เอกอัครราชทูตจีนประจำเมียนมาได้ตอบคำถามของสื่อเมียนมาผ่านลายลักษณ์อักษร  โดยระบุว่า  ประชาคมโลกควรใช้ปฏิบัติการที่มีส่วนช่วยต่อเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมของเมียนมา  หลีกเลี่ยงทำให้ความขัดแย้งในเมียนมาทวีความรุนแรง  ปัจจุบัน  เรื่องที่สำคัญที่สุดของเมียนมาคือ  ฝ่ายต่าง ๆ ร่วมแรงร่วมใจแสวงหาทางที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขวิกฤตทางการเมือง   เจรจาพูดคุยกัน  เพื่อขจัดความขัดแย้งกัน  และให้การเมืองของเมียนมากลับคืนสู่ปกติ(Yim/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (27-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-03-2567)

周旭