บทวิเคราะห์ : จีนแข็งขันคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

2021-02-24 10:33:46 | CRI
Share with:

ทรัพย์สินทางปัญญามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ไม่ว่าชีวิตประจำวันหรือการแข่งขันเชิงพาณิชย์ มักจะพบเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา นักวิชาการระบุว่า ศตวรรษที่ 21 ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการสำรองทางยุทธศาสตร์อันดับหนึ่งของการพัฒนาบ้านเมือง ทัดเทียมกับความปลอดภัยทางธัญญาหารและการสำรองพลังงาน

บทวิเคราะห์: จีนแข็งขันคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา_fororder_知识产权8

หลังจีนดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศเป็นต้นมา จีนคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างแข็งขัน จีนเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกในค.ศ. 1980 ต่อมาศาลประชาชนสูงสุดของจีนได้ตั้งศาลพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะขึ้นในค.ศ. 1996 เพื่อคลี่คลายคดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และพันธุ์พืช เป็นต้น

จีนประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมตามลำดับ โดยสร้างระบบกฎหมายเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ย้อนไปในค.ศ. 1999 จีนร่วมกับประเทศแอลจีเรียริเริ่มตั้งวันทรัพย์สินทางปัญญาโลก โดยได้รับความเห็นชอบจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก กำหนดให้วันที่ 26 เมษายน ซึ่งเป็นวันระลึกการก่อตั้งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกของทุกปีเป็นวันทรัพย์สินทางปัญญาโลก อันมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกในการเคารพความรู้ ส่งเสริมเชิดชูวิทยาศาสตร์ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งยังสร้างสิ่งแวดล้อมทางกฎหมายในการสร้างนวัตกรรมทั่วโลก จีนตอบสนองข้อเรียกร้องขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกอย่างแข็งขันโดยจัด “สัปดาห์ประชาสัมพันธ์ทรัพย์สินทางปัญญา 26 เมษาฯ” ทุกปี เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนให้ทั่วทั้งสังคมมีจิตสำนึกด้านทรัพย์สินทางปัญญามากขึ้น

หลังเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกในค.ศ. 2001 เป็นต้นมา จีนเริ่มปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS) ซึ่งแสดงถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของจีนที่เป็นสากลมากขึ้น นอกจากนี้ จีนยังเข้าร่วมอนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร พิธีสารมาดริดว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชนานาชาติ อนุสัญญากรุงเบิร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม และอนุสัญญาลิขสิทธิ์โลก เป็นต้น ตั้งแต่ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา จีนและสหรัฐฯ จัดการประชุมโต๊ะกลมเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาปีละครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเป็นประจำ รวมทั้งบรรลุความเข้าใจร่วมกันในวงกว้าง

บทวิเคราะห์: จีนแข็งขันคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา_fororder_知识产权6

ตั้งแต่ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา สำนักงานลิขสิทธิ์แห่งชาติ กระทรวงสันติบาล และกระทรวงอุตสาหกรรมและสารสนเทศจีน ร่วมกันใช้ “ปฏิบัติการเจี้ยนหว่าง” เป็นประจำทุกปีเพื่อปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ เกาะติดภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ หนังสือที่ตีพิมพ์ใหม่ เกมออนไลน์ แอนิเมชัน ผลงานดนตรี และซอฟต์แวร์ เป็นต้น ปราบปรามอาชญากรรมด้านการจัดส่งหรือเผยแพร่ผลงานผู้อื่น การจำหน่ายผลงานดนตรีและวีดิทัศน์ผ่านระบบอีคอมเมิร์ซโดยมิชอบด้วยกฎหมาย คำว่า “เจี้ยนหว่าง” ดังกล่าวหมายความว่า “ลงดาบทางอินเทอร์เน็ต” แสดงถึงพลังในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจีนในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย

ปีหลัง ๆ มานี้ อุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ของจีนพัฒนาอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจเกี่ยวกับส่วนเกื้อกูลของอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ของจีนที่มีต่อเศรษฐกิจที่สถาบันวิจัยสารนิเทศและการจัดพิมพ์จีนประกาศไปเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 พบว่าในค.ศ. 2019 มูลค่าเพิ่มด้านอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์มีจำนวนถึง 7.32 ล้านล้านหยวน คิดเป็น 7.39% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ขณะที่ในค.ศ. 2019 ตลาดอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ทางอินเทอร์เน็ตของจีนมีมูลค่าถึง 958,420 หยวน     

ประมวลกฎหมายแพ่งแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมากำหนดไว้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิทางแพ่ง ซึ่งรวมถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของผลงานสร้างสรรค์และเครื่องหมายต่าง ๆ ด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิการตีพิมพ์ หรือลิขสิทธิ์วรรณกรรม และทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สำหรับทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมยังแบ่งออกเป็นสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการบริการ ชื่อผู้ผลิต สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การคุ้มครองพันธุ์พืช และแบบผังภูมิของวงจรรวม เป็นต้น

บทวิเคราะห์: จีนแข็งขันคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา_fororder_知识产权2

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เขียนบทความเรื่อง ส่งเสริมงานคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างรอบด้าน กระตุ้นพลังชีวิตในการสร้างนวัตกรรมเพื่อก่อรูปขึ้นเป็นโครงสร้างใหม่แห่งการพัฒนา โดยระบุว่า การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวพันถึงความสุขของประชาชน ต้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด ให้ตลาดการบริโภคสะอาดยิ่งขึ้น คุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของผู้บริโภคจำนวนมหาศาล เพื่อให้มวลชนบริโภคอย่างปลอดภัย วางใจได้ และสะดวกสบาย การสร้างสรรค์ประเทศสังคมนิยมที่ทันสมัยอย่างรอบด้านต้องผลักดันงานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้ดียิ่งขึ้น

(Tim/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

周旭