บทวิเคราะห์ : แถลงการณ์สหรัฐ-ญี่ปุ่น“ระบุถึงจีน”เป็นเรื่องเหลวไหล

2021-03-18 14:18:19 | CRI
Share with:

เมื่อเร็วๆนี้ สหรัฐ-ญี่ปุ่นจัดการเจรจาระดับสูง “2+2” ที่กรุงโตเกียว ซึ่งมีส่วนที่พุ่งเป้ามายังจีนด้วย โดยสหรัฐฯมุ่งลากพันธมิตรร่วมยับยั้งจีน อันเห็นได้จากแถลงการณ์

ดั่งที่นายโมเทกิ โตชิมิตสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นระบุว่า การเจรจาดังกล่าวส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับจีน ตั้งแต่เรื่องทะเลตะวันออกถึงทะเลจีนใต้ ตั้งแต่เกาะเตี้ยวอี๋ว์ถึงช่องแคบไต้หวัน ตั้งแต่ซินเจียงถึงฮ่องกง ส่วนแถลงการณ์ร่วมสหรัฐ-ญี่ปุ่นก็มีการระบุออกชื่อจีนโดยตรง ทั้งระบุว่าปฏิบัติการของจีน “ไม่สอดคล้องกับกฎระเบียบสากล” แถลงการณ์ฉบับนี้มองข้ามข้อเท็จจริงและความเป็นจริง เป็นอีกหนึ่งหลักฐานว่า สหรัฐ-ญี่ปุ่นสมคบกันเพื่อก้าวก่ายกิจการภายในของจีน

อย่างไรก็ตาม สหรัฐ-ญี่ปุ่นโวยวายเสียงดังใส่จีน แต่ไม่ได้ระบุมาตรการที่จริงจังอะไร และสองฝ่ายต่างมีการไตร่ตรองของตัวเอง

ด้านสหรัฐนั้น การเลือกญี่ปุ่นสำหรับการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีวัตถุประสงค์เพื่อเดินหน้ายุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก และต้องการฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับญี่ปุ่น

ด้านญี่ปุ่นนั้น เนื่องจากต้องพึ่งพาสหรัฐในการป้องกันประเทศ และมีข้อพิพาททางดินแดนกับจีน รวมถึงตั้งเป้าสร้างประเทศให้เป็นมหาประเทศในภูมิภาค จำต้องยกระดับความนิยมสนับสนุนของครม.ญี่ปุ่นให้สูงขึ้น จึงต้องโชว์ฟอร์มเข้มแข็งกับจีน

สิ่งที่น่าจับตาดูคือ แถลงการณ์ร่วมสหรัฐ-ญี่ปุ่นที่ทำขึ้นในครั้งนี้ระบุว่า สนธิสัญญาว่าด้วยความมั่นคงระหว่างสหรัฐ-ญี่ปุ่น (Treaty of Mutual Cooperation and Security Between the United States and Japan) มีผลบังคับใช้กับเกาะเตี้ยวอี๋ว์ด้วย ทั้งๆที่เกาะเตี่ยวอี๋ว์และเกาะโดยรอบเป็นดินแดนของจีนมาแต่โบราณกาล

การที่สหรัฐ-ญี่ปุ่นดึงดันแนวคิดสงครามเย็น มุ่งสร้างภาวะเป็นปฏิปักษ์และล้อมวงปิดกั้นจีน ถือเป็นการทวนกระแส เนื่องจากการพัฒนาของจีนเป็นโอกาสของโลกไม่ใช่ความท้าทาย หากสหรัฐ-ญี่ปุ่นไม่รู้แจ้งประเด็นนี้ พันธมิตรที่แนบแน่นกว่านี้ก็จะกลายเป็นเชือกที่ผูกมัดตัวเอง และขัดขวางการพัฒนาของประเทศตน ทั้งจะนำมาซึ่งความวุ่นวายแก่การพัฒนาภูมิภาคอีกด้วย

(YIM/LING/CAI)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

何喜玲