สิทธิบัตรการประดิษฐ์เป็นดัชนีชี้วัดสำคัญในการประเมินความสามารถด้านการสร้างนวัตกรรมของประเทศ โครงร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนระยะ 5 ปีฉบับที่ 14 ระบุว่า จนถึงปี 2025 ประชากรจีนทุก 10,000 คน จะครองสิทธิบัตรที่มีมูลค่าสูงจำนวน 12 รายการ
ช่วงที่ผ่านมาจีนเป็นประเทศที่ยื่นขอจดสิทธิบัตรมากที่สุดในโลก แต่สัดส่วนของสิทธิบัตรการประดิษฐ์ซึ่งสะท้อนถึงคุณค่าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างแท้จริง มีไม่ถึง 1 ใน 3 ของยอดการยื่นขอจดสิทธิบัตรของจีน ที่เหลือเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) แม้ว่าจีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ในการยื่นขอสิทธิบัตร แต่ยังไม่เข้มแข็งด้านสิทธิบัตร การที่โครงร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนระยะ 5 ปีฉบับที่ 14 กำหนดให้เพิ่มปัจจัยที่มี “มูลค่าสูง” ซึ่งเป็นเงื่อนไขจำกัดด้านการยื่นขอสิทธิบัตร เป็นการส่งเสริมให้สังคมจีนทุ่มเทกำลังในการสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สะท้อนให้เห็นว่า ทิศทางในการชี้นำการสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของจีนในอนาคตเกิดการเปลี่ยนแปลง การสร้างนวัตกรรมนั้นต้องการการลงทุน ซึ่งโครงร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจีนระยะ 5 ปีฉบับที่ 14 ระบุว่า ในช่วง 5 ปีข้างหน้า อัตราการเติบโตของการลงทุนต่อการวิจัยและผลิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของทั้งสังคมเฉลี่ยต่อปีต้องสูงกว่า 7%
BO/LF/ZI