จีนบุกเบิกความร่วมมือใหม่ด้านพลังงานระหว่างประเทศต่อเนื่อง

2021-03-29 15:31:44 | CRI
Share with:

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายร่วมกันของมนุษยชาติ ต้องทำลายสภาพที่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล สร้างระบบการเสนอพลังงานใหม่ที่เน้นการพัฒนาพลังงานสะอาด การเสนอพลังงานไฟฟ้า และปรับโครงสร้างด้านพลังงานให้ดีขึ้น เมื่อหลายปีมานี้ จีนแสดงข้อได้เปรียบอย่างเต็มที่ ผลักดันให้ทรัพยากรระหว่างจีนกับต่างประเทศชดเชยกัน สร้างสถานการณ์ความร่วมมือทางพลังงานระหว่างประเทศแบบใหม่อย่างต่อเนื่อง

เมื่อเดือนกันยายน ปี 2015 จีนเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดการพัฒนาสหประชาชาติว่า ควรหารือการสร้างเครือข่ายพลังงานโลก ผลักดันความต้องการทางพลังงานไฟฟ้าของโลกด้วยวิธีสะอาดและสีเขียว ต่อมาในเดือนมีนาคม ปี 2016 องค์การพัฒนาและร่วมมือทางพลังงานของโลกก่อตั้งขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นองค์การพลังงานระหว่างประเทศองค์การแรกที่จีนเสนอและก่อตั้งขึ้น นายอู่ซวน เลขาธิการองค์การฯแนะนำว่า หลังจากใช้เวลา 5 ปี เครือข่ายพลังงานของโลกได้พัฒนาจากข้อเสนอของจีนมาเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ พัฒนาจากเพียงแนวคิดมาเป็นหลักการการปฏิบัติ

องค์การดังกล่าวนี้มี 1,157 สมาชิก ครอบคลุม 132 ประเทศและภูมิภาค ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ได้คัดเลือกฐานพลังงานสะอาดกว่า 200 แห่งและโครงการเชื่อมเครือข่ายที่ข้ามประเทศข้ามทวีปกว่า 100 โครงการ ขณะเดียวกัน ยังผลักดันโครงการเชื่อมต่อกันระหว่างจีนกับประเทศรอบข้าง แก้ไขความยากลำบากของประเทศด้อยพัฒนาที่ขาดแคลนเงินทุน ตลาด และความสามารถในการดำเนินโครงการสำคัญอย่างมีผล

นายหวง ฮั่น รองอธิการบดีสถาบันศึกษาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งองค์การพัฒนาและร่วมมือทางเครือข่ายพลังงานโลก แนะนำว่า สายส่งไฟฟ้าแรงสูงพิเศษเป็นนวัตกรรมสำคัญที่จีนคิดค้นขึ้นและเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำร่องทั่วโลก ได้แก้ปัญหาการส่งไฟฟ้าปริมาณมากผ่านระยะทางไกล พูดได้ว่าเป็นจุดสูงสุดด้านพลังงานไฟฟ้าของโลก โดยเฉพาะในแวดวงการส่งไฟฟ้า เพราะสายส่งไฟฟ้าแรงสูงพิเศษ ทำให้จีนสามารถจัดสรรพลังงานใหม่และพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาเกือบ 10 ปีที่ผ่านมานี้

นายเฉิง จื้อเฉียง รองเลขาธิการองค์การฯกล่าวว่า หากใช้ผลการศึกษาด้านเทคโนโลยีสายส่งไฟฟ้าแรงสูงพิเศษของจีน อาจทำให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการส่งไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ลมและน้ำของประเทศยุโรปและเอเชีย เช่น รัสเซีย ภูมิภาคตะวันออกกลาง มาถึงจีน เพื่อสนองความต้องการของจีนเอง ในขณะเดียวกัน ก็สามารถผลักดันให้เครือข่ายไฟฟ้าของเอเชีย แอฟริกา โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และภูมิภาคเอเชียใต้เชื่อมต่อกัน ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสีเขียวที่เปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาด้านพลังงานให้เป็นแบบคาร์บอนต่ำ และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของจีน

Yim/Chu/Zhou

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (22-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

韩楚