ประเพณีสำคัญในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง

2021-04-02 11:41:42 | CRI
Share with:

“เช็งเม้ง (ชิงหมิง - เสียงจีนกลาง)” เป็น 1 ใน 4 เทศกาลดั้งเดิมที่สำคัญที่สุดของจีน  อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 24 ฤดูกาลด้วย   จึงมีความหมายทั้งทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม   เช็งเม้งเป็นเทศกาลสำคัญของประชาชาติจีนในการบูชาเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เพื่อรำลึกผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว   ค.ศ.2006 เช็งเม้งได้ถูกจัดเข้าบัญชีรายชื่อมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแห่งชาติจีน

“เทศกาลเช็งเม้ง” มีธรรมเนียมปฏิบัติที่สำคัญหลายอย่างดังนี้   

ประเพณีสำคัญในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง

บูชาเซ่นไหว้และทำความสะอาดสุสานของบรรพบุรุษ

ช่วงเทศกาลดังกล่าว  ชาวจีนมีประเพณีเซ่นไหว้ทำความสะอาดสุสานของบรรพบุรุษ  เพื่อรำลึกผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เชิดชูส่งเสริมประเพณีความกตัญญู ความรักในครอบครัว   และผนึกจิตวิญญาณของประชาชาติจีน

ประเพณีสำคัญในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง_fororder_WechatIMG939

เหยียบสีเขียว

ช่วงเช็งเม้งเป็นฤดูกาลที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเริ่มการเจริญเติบโตอีกครั้ง และมีทัศนียภาพฤดูใบไม้ผลิที่งดงาม    “ท่าชิง (踏青) เหยียบสีเขียว” จึงหมายถึงการเดินทางไปท่องเที่ยวที่ชานเมืองช่วงเช็งเม้ง เพื่อต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ โดยเป็นประเพณีที่มีประวัติศาสตร์กว่า 2,500 ปี 

ประเพณีสำคัญในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง_fororder_WechatIMG937

ปล่อยว่าว 

ชาวจีนโบราณเชื่อว่า ช่วงเช็งเม้ง หากเขียนชื่อโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ลงบนว่าวแล้วปล่อยออกไป   จะป้องกันภัยพิบัติได้     อีกทั้งยังเป็นการขอพรให้มีความสงบสุขในรอบหนึ่งปีข้างหน้าด้วย

ประเพณีสำคัญในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง

ติดกิ่งหลิวบนศีรษะ

ในสมัยโบราณ   ชาวจีนจะนำกิ่งหลิวมาเสียบประดับผมหรือทำเป็นพวงสวมศีรษะ  เพื่อขจัดสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไร   และขอให้มีความสุขความเจริญ   อีกทั้งยังแฝงความหมายว่า   ทะนุถนอมช่วงเวลาแห่งวัยหนุ่มสาว           

ประเพณีสำคัญในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง

ทานขนม “ชิงถวน” 

 “ชิงถวน (青团) ”เป็นขนมดั้งเดิมที่มีรสโอชาชนิดหนึ่ง การทานขนมชิงถวนในช่วงเช็งเม้งเป็นประเพณีที่มีประวัติศาสตร์กว่า 1,000 ปี   

(yim/cai)   

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

蔡建新