บทวิเคราะห์ : ร่วมคุ้มครองโลก ให้มนุษย์กับธรรมชาติดำรงอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน

2021-04-19 12:38:59 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์   ร่วมคุ้มครองโลก ให้มนุษย์กับธรรมชาติดำรงอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน_fororder_地球日00

วันคุ้มครองโลก 22 เมษายนของทุกปีใกล้จะมาถึง  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติจีนกำหนดหัวข้อปีนี้คือ  “คุ้มครองโลก มนุษย์เคียงคู่กับธรรมชาติอย่างกลมกลืน”

โลกเป็นบ้านหลังเดียวกันของมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ แต่พฤติกรรมของมนุษย์กลับทำลายโลกอย่างร้ายแรง ป่าไม้ ทะเลสาบ  พื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ กำลังสูญหายไปด้วยความเร็วที่เหนือการคาดคิด  ถ่านหิน  น้ำมันปิโตรเลียม  ก๊าซธรรมชาติ  และพลังงานที่หมุนเวียนไม่ได้นั้น ถูกขุดไปใช้ใกล้จะหมดสิ้น  การเผาพลังงานที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก ทำให้โลกร้อนขึ้น  ทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายมากขึ้น จนผิวน้ำของมหาสมุทรยกระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ  ปัญหาภาวะแวดล้อมเหล่านี้ ได้คุกคามการดำรงอยู่ของมนุษย์ต่อเนื่องทุกขณะ  การอนุรักษ์ทรัพยากรโลกและหาแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืนกลายเป็นเรื่องที่เร่งด่วน

จีนได้จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์วันคุ้มครองโลกทุกปี  โดยปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-25 เมษายนนี้  ในช่วงนี้  ท้องที่ต่างๆของจีนจะประชาสัมพันธ์ “การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเป็นสำคัญ”  โดยมีฉายสารคดีรณรงค์และผลิตผลงานสื่อใหม่ที่เกี่ยวข้อง จัดประกวดความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติผ่านออนไลน์ จัดสัปดาห์ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับวันคุ้มครองโลก  และการบรรยายให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านทรัพยากรธรรมชาติให้ทั่วถึง  เป็นต้น

นายสี จิ้นผิง  ประธานาธิบดีของจีนระบุว่า  ภูเขา ลำน้ำ ป่าไม้ ผืนดิน ล้วนเป็นประชาคมแห่งชีวิต  ชีพจรของคนมาจากไร่นา  ชีพจรของไร่นามาจากน้ำ  ชีพจรของน้ำมาจากภูเขา  ชีพจรของภูเขามาจากดิน  ชีพจรของดินมาจากต้นไม้  ด้วยเหตุนี้ ปธน.สี ส่งเสริมให้เคารพธรรมชาติ  สอดคล้องกับธรรมชาติ  และอนุรักษ์ธรรมชาติ  ปธน.สี เน้นย้ำว่า  ต้องจัดให้แนวคิด “ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์” บรรจุอยู่ในกระบวนการสร้างสรรค์อารยธรรมนิเวศ  ต้องบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนแตะเพดานสูงสุดก่อนค.ศ.2030  และการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ก่อนค.ศ.2060

บทวิเคราะห์   ร่วมคุ้มครองโลก ให้มนุษย์กับธรรมชาติดำรงอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน_fororder_地球日_副本2

ทั่วทั้งสังคมจีนต้องใช้ปฏิบัติการต่างๆเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว  เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศหนุ่มสาวจีนก่อตั้งขึ้น ค.ศ. 2007  เป็นองค์การสาธารณะประโยชน์แห่งแรกของหนุ่มสาวจีนที่มุ่งมั่นรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ  โดยรณรงค์ให้หนุ่มสาวจีนรวมพลังและใช้ปฏิบัติการร่วมกัน  อีกทั้งดำเนินความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ  เพื่อประชาสัมพันธ์ให้มวลชนมีจิตสำนึกในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก  และกระตุ้นให้รัฐบาลและสังคมร่วมกันรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ปีหลังๆมานี้  องค์การดังกล่าวเดินหน้า “โครงการการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในมหาวิทยาลัยปี 2030” โดยทดลองปฏิบัติในมหาวิทยาลัยต่างๆ  ส่งเสริมแนวคิดพัฒนามหาวิทยาลัยแบบประหยัดและลดพลังงาน ลดการปล่อยคาร์บอนแห่งชาติ  ปัจจุบัน  มีสถาบันอุดมศึกษาจำนวนกว่า 500 แห่ง  และหนุ่มสาวจำนวนกว่าแสนคนได้เข้าร่วมโครงการนี้

เกาะเหมยซาน  เมืองหนิงโป   มณฑลเจ้อเจียง ริเริ่มพัฒนาเขตสาทิตการปล่อยคาร์บอนใกล้เป็นศูนย์ระหว่างประเทศตั้งแต่ต้นปี 2008  “การปล่อยคาร์บอนใกล้เป็นศูนย์” หมายถึง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้  เพื่อให้การปล่อยคาร์บอนบนเกาะเหมยซานใกล้เป็นศูนย์  เกาะเหมยซานทุ่มกำลังลดการปล่อยคาร์บอนด้านอุตสาหกรรม  การก่อสร้าง  การคมนาคม  และการกำเนิดไฟฟ้าเป็นสำคัญ แล้วหันไปพัฒนาศักยภาพด้านการกำเนิดไฟฟ้าด้วยพลังงานลม  พลังงานแสงอาทิตย์  ก๊าซธรรมชาติ  และพลังงานสะอาดต่างๆ   ใช้เทคโนโลยีปล่อยคาร์บอนต่ำอย่างครอบคลุม  เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

นอกจากนี้  เกาะเหมยซานยังวางแผนใช้พลังงานที่หมุนเวียนได้คิดเป็น 71% ของยอดการบริโภคพลังงานที่ใช้งานได้เพียงครั้งเดียว  ให้กำเนิดไฟฟ้าด้วยพลังงานลม  พลังงานแสงอาทิตย์  และพลังงามมหาสมุทรคิดเป็น 90% ในการสนองไฟฟ้า

ปัจจุบัน  โรคโควิด-19 ยังคงแพร่ระบาดในทั่วโลกอยู่  ผู้คนอาจจะลืมหรือมองข้ามวิกฤตระบบนิเวศของโลกได้  ทว่าปัญหา PM2.5 ที่ก่อกวนเมืองไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา  พายุทรายที่ถล่มทางเหนือของจีนช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา  ตลอดจนการที่ญี่ปุ่นประกาศว่าจะปล่อยน้ำเสียพลังงานนิวเคลียร์สู่ทะเลในเร็วๆนี้  ต่างเตือนใจเราทุกคนว่า  ต้องร่วมกันคุ้มครองโลก เพื่อให้มนุษย์กับธรรมชาติดำรงอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน(Yim/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

周旭