สวัสดีค่ะท่านผู้ฟังคะ ขอต้อนรับสู่รายการประเด็นวันนี้ (รายการคุยกันวันละประเด็น) ทางซีอาร์ไอภาคภาษาไทยที่ทำการส่งกระจายเสียงจากสถานีวิทยุซีอาร์ไอกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ดิฉัน รพีพรรณ วงษ์กรวรเวช มาพบกับท่านผู้ฟังในวันนี้ ประเด็นในวันนี้ก็คือ“ลูกบาศก์น้ำ” ได้กลายเป็น “ลูกบาศก์น้ำแข็ง” แล้วเพื่อนคนจีนที่มาเข้าร่วมรายการวันนี้คือคุณ เจิ้งหยวนผิง สวัสดีค่ะคุณเจิ้ง
สวัสดีค่ะ คุณรพีพรรณ และท่านผู้ฟังค่ะ
ศูนย์การแข่งขันกีฬาทางน้ำแห่งชาติจีนมีฉายาว่า “ลูกบาศก์น้ำ” ตอนนี้ได้กลายเป็น “ลูกบาศก์น้ำแข็ง” ไปแล้ว ซึ่งจะใช้สำหรับจัดการแข่งขันเคอร์ลิง และวีลแชร์เคอร์ลิงในงานโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิกฤดูหนาว
แต่กระบวนการเปลี่ยน “ลูกบาศก์น้ำ”เป็น “ลูกบาศก์น้ำแข็ง”นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมงานประกอบกิจการของศูนย์การแข่งขันกีฬาทางน้ำแห่งชาติจีนได้ดำเนินการทดสอบเพื่อพบปัญหาและสะสมประสบการณ์ เพื่อวางแผนงานต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
การเปลี่ยนน้ำเป็นน้ำแข็งนั้นต้องการใช้ระบบผลิตน้ำแข็ง พื้นน้ำแข็งที่สร้างขึ้นจากเทคโนโลยีการผลิตน้ำแข็งด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของโลก ทั้งประหยัดพลังงาน ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติแทนการใช้วัตถุดิบที่ผลิตด้วยกระบวนการทางอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ยังสามารถดึงความร้อนกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 100% นายหยาง ฉีหย่ง รองผู้อำนวยการทีมประกอบกิจการศูนย์การแข่งขันกีฬาทางน้ำแห่งชาติจีนเล่าว่า แม้ว่าอากาศร้อนขึ้นทุกวัน ความชื้นก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน แต่ระบบผลิตน้ำแข็งปฏิบัติงานอย่างดีด้วยเทคโนโลยีเชิงวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย
ได้ตรวจสอบความชื้นนอกห้อง ความชื้นภายในห้อง และอุณหภูมิบนผิวน้ำแข็งอย่างทันเวลา ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานตามข้อเรียกร้องขององค์การเคอร์ลิงระหว่างประเทศ บนผิวน้ำแข็งไม่มีน้ำค้างแข็ง ไม่มีรอยร้าวแม้แต่นิด
ในกระบวนการทดสอบก็ได้เจอปัญหาด้วย ต้นเดือนเมษายนมีวันหนึ่งมีฝนตก ก่อนทดลองการแข่งขัน ได้มีน้ำค้างแข็งบนพื้นผิว ทีมงานรีบทวีแรงหมุนของระบบอุปกรณ์เพื่อขจัดน้ำค้างแข็งให้หมดสิ้น ทำอย่างนี้แล้ว วันถัดไป บนผิวน้ำค้างแข็งได้หายไปด้วยดี
สภาพน้ำแข็งที่ดีสามารถทำให้นักกีฬาแข่งขันได้ผลงานที่ดี แต่ภายใต้สภาพการควบคุมและป้องกันโรคโควิด -19 ทำอย่างไรจึงสามารถปกป้องความปลอดภัยของนักกีฬาได้ดีจะเป็นโจทย์ใหญ่ของงาน
ฉะนั้น ทีมบริหารงานศูนย์การแข่งขันกีฬาทางน้ำแห่งชาติจีนได้เพิ่มตำแหน่ง รองผู้อำนวยการด้านการรักษาพยาบาลและควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ได้เชิญชวนศาสตราจารย์เฉิน ซวู่เหยียน ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันฉางเกิงชินหวากรุงปักกิ่ง ซึ่งมีประสบการณ์ในด้านรับมือกันการท้าทายการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19
ศาสตราจารย์เฉิน ซวู่เหยียนกล่าวว่า หลักการพื้นฐานก็คือป้องกันโรคโควิด-19 เชิงวิทยาศาสตร์ และวางแผนเตรียมการที่เพียงพอเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นทุกรูปแบบ
ระหว่างการทดสอบ ในศูนย์การแข่งขันกีฬาทางน้ำแห่งชาติจีนมีผู้ป่วยเป็นไข้ และนักกีฬาก็มีผู้เป็นไข้คนหนึ่งพอดี ทีมงานเริ่มดำเนินกระบวนการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยแก้ไขสภาพที่เกิดขึ้นจริงแม้ว่าไม่ใช่ป่วยโรคโควิด-19 ซึ่งดำเนินไปอย่างราบรื่นและคล่องแคล่ว นับเป็นประสบการณ์ที่ดีต่อการปฏิบัติงานในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งจริง
การป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ยังมีงานต้องทำล่วงหน้ามากมาย เช่น การเขียนแผนเตรียมการ การออกแบบ การฝึกอบรม การซ้อมการรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นฉับพลัน และการฆ่าเชื้อ 3 ครั้งในสนามแข่ง“ลูกบาศก์น้ำแข็ง”ที่มีพื้นที่ 9 หมื่นตารางกิโลเมตร
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ร่วมการทดสอบครั้งนี้เป็นคนจีนหมด ไม่มีคนต่างชาติ ฉะนั้น การท้าทายที่แท้จริงจะอยู่ที่เดือนตุลาคม ซึ่งเป็นการทดสอบการจัดแข่งขัน และซ้อมงานพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกปักกิ่ง
อาจจะต้องเพิ่มจำนวนทีมงานป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ที่ประกอบด้วยนายแพทย์ 20 นายและนางพยาบาล 20 คนให้มากขึ้น
จากแง่มุมหลักประกันทางรักษาพยาบาล การทดสอบครั้งนี้ได้ทำการเตรียมเพื่องานกีฬาโอลิมปิกปักกิ่งได้ดี นายเสิ่น เฟย แพทย์ประจำศูนย์การแข่งขันกีฬาทางน้ำแห่งชาติจีนเล่าว่า การแข่งขันเคอร์ลิงดูงามละมุนละม่อม ผู้คนทั้งหลายอาจเห็นว่าอาการป่วยของนักกีฬามักจะเป็นการบาดเจ็บกล้ามเนื้อเนื่องจากแรงดึง แต่สภาพความเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้น
นอกจากบาดเจ็บกล้ามเนื้อแล้ว ยังมีการบาดเจ็บเนื่องจากหกล้ม จะมีการบาดเจ็บเนื้อเยื่อสีขาว อาการบวมด้วยเลือดเป็นเรื่องปกติ เพราะการควบคุมปฏิบัติการบนน้ำแข็งไม่ใช่เรื่องง่าย การแข่งขันเคอร์ลิงดูงามละมุนละม่อม แต่ก็ดุเดือดเช่นกัน
นอกจากนี้ นักกีฬามักจะต้องร้องตะโกนเวลาแข่งขัน ซึ่งง่ายที่จะเกิดอาการอักเสบทางคอ ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนได้พบในการแข่งขันที่เป็นจริง
นอกจากแพทย์แล้ว อาสาสมัครก็ได้รับการทดสอบความพร้อมในครั้งนี้ด้วย ไฉ เถิงเป็นนักศึกษาปริญญาโทคณะควบคุมข้อมูลข่าวสารปี 2020 ของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
ระหว่างการทดสอบ ไฉ เถิงได้เข้าร่วมงานอาสาสมัครในลูกบาศก์น้ำแข็ง รับผิดชอบงานรวบรวมข้อมูลข่าวสาร จัดคิวฝึกอบรม ให้บริการคมนาคมอาหารการกิน เป็นต้น
เขาเล่าว่า การทดสอบครั้งนี้เป็นการจำลองทำงานจริง เพื่อหาช่องโหว่ให้กับงานโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิกฤดูหนาว อาสาสมัครทั้งหมดเป็นผู้ตอบข้อสอบ และก็เป็นผู้ออกข้อสอบด้วย เพื่อทดสอบกลไกการทำงานด้านอาสาสมัครของเราของงานโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิกฤดูหนาว ซึ่งมีความหมายอย่างยิ่ง
การทดสอบครั้งนี้ ทีมงานประกอบกิจการศูนย์การแข่งขันกีฬาทางน้ำแห่งชาติได้มีการรับรู้อย่างลึกซึ้งและการวางแผนมากยิ่งขึ้นในเวลาต่อไป นายหยาง ฉีหย่งแนะนำว่า เมื่อแข่งขันจริง อาจจะเพิ่มลักษณะพิเศษทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้คนทั้งหลาย
นอกจากนี้ จะเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผิวน้ำแข็งและบรรยากาศมากยิ่งขึ้นให้กับนักกีฬา เพื่อลดสภาพการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น หวังว่าจากการปรับปรุงของเราที่นำประสบการณ์จากการทดสอบครั้งนี้ ให้ทั่วโลกประทับใจ“ลูกบาศก์น้ำ”ในงานโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่ง
รู้สึกว่าการเล่นเคอร์ลิงดูไม่อยากสักเท่าไหร่ ก็คล้ายๆกับการเล่นโบว์ลิ่งนั่นเอง แต่ลูกโบว์ลิ่งชนิดนี้หนักจริงๆประมาณ 19 กิโลกรัมทีเดียว ในระหว่างการแข่งขันนั้น นักกีฬาจะต้องสวมรองเท้าพื้นยางกับเท้าที่ดันน้ำแข็ง และสวมรองเท้าพื้นพลาสติกกับเท้าที่เลื่อนบนน้ำแข็ง
สำหรับเวลาของวันนี้ใกล้หมดลงแล้วขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับฟังรายการ ขอบคุณคุณเจิ้ง หยวนผิงที่แวะเข้ามาคุยถึงเรื่องนี้ และพบกันใหม่นะคะ สวัสดีค่ะ
สวัสดีค่ะ