บทวิเคราะห์ : ความกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความทันสมัยของจีน

2021-05-03 15:09:49 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์:ความกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความทันสมัยของจีน_fororder_1

เมื่อเร็วๆนี้  นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนลงพื้นที่ตรวจงานที่เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี(กวางสี) ทางภาคใต้ของจีน และเน้นอีกครั้งถึงความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ  

บทวิเคราะห์:ความกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความทันสมัยของจีน_fororder_2

โดยเมื่อบ่ายวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา   ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเดินทางถึงท่าเรือแห่งหนึ่งของแม่น้ำหลีเจียง ช่วงที่ไหลผ่านอำเภอหยางซั่ว เมืองกุ้ยหลิน เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี เพื่อรับฟังรายงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในลุ่มแม่น้ำหลีเจียง   ซึ่งประธานาธิบดีสี จิ้นผิงชี้ย้ำว่า แม่น้ำหลีเจียงเป็นทรัพย์สมบัติอันล้ำค่าของจีนและของโลก ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในลุ่มแม่น้ำสายนี้ต้องไม่ถูกทำลายโดยเด็ดขาด  

บทวิเคราะห์:ความกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความทันสมัยของจีน_fororder_3

 

เมื่อ ค.ศ. 2017  ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง  เคยลงพื้นที่ตรวจงานที่เขตอนุรักษ์ป่าโกงกางบริเวณอ่าวทองในเมืองเป๋ยไห่   เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี    และกล่าวว่า  ความได้เปรียบทางด้านระบบนิเวศของเขตกว่างซีไม่ควรถูกนำไปแลกกับสิ่งอื่นใด  แม้ทองคำก็ไม่ได้  

ผู้นำจีนให้ความสำคัญในระดับสูงกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศมาโดยตลอด  เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา   ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงที่กำลังอยู่ระหว่างลงพื้นที่ตรวจงานที่มณฑลฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ได้เดินทางไปที่อุทยานแห่งชาติภูเขาอู่อี๋ซาน   ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงชี้ว่า   ต้องเร่งพัฒนาระบบการอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีอุทยานแห่งชาติเป็นศูนย์กลาง   เพื่ออนุรักษ์ความสมบูรณ์ และความหลากหลายของระบบนิเวศ     ระหว่างลงพื้นที่ตรวจงานทุกครั้ง ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงเน้นตลอดว่า   ความทันสมัยที่จีนกำลังมุ่งมั่นพัฒนานั้น เป็นความทันสมัยที่ให้เกิดความกลมกลืน และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ     

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับ 14 และเป้าหมายระยะไกล ค.ศ.2035  จีนจะต้องบรรลุเป้าหมายการสร้างสรรค์ประเทศที่สวยงาม  ทำให้ระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีโดยสิ้นเชิงภายใน ค.ศ.2035    อีกทั้งต้องสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มีความกลมกลืนกัน และมีความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน 

เมื่อ ค.ศ.2018  จีนบรรจุคำว่า “อารยธรรมทางระบบนิเวศ” เข้าไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก    ช่วงปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี ฉบับ 14  จีนจะเร่งปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาให้เป็นแบบสีเขียว ให้การใช้พลังงานและการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ลดลง  13.5% และ 18% ตามลำดับ   จีนยังประกาศว่า จะพยายามให้การปล่อยคอร์บอนแตะเพดานสูงสุดภายใน ค.ศ. 2030 และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางด้านคาร์บอนภายใน ค.ศ.2060

ทุกวันนี้ คำคมของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงที่ว่า “น้ำใสเขาเขียวก็เป็นดั่งภูเขาทองภูเขาเงิน”ได้ฝังรากลึกลงไปในก้นหัวใจของชาวจีนทั่วประเทศ   ประชาชนชาวจีนทั่วประเทศนับวันยิ่งตระหนักดีว่า    การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมไม่ควรเกิดจากการทำลายสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง     การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเท่ากับการคุ้มครองพลังการผลิต 

ยกตัวอย่างเช่นแม่น้ำหลีเจียงที่ไหลผ่านเมืองกุ้ยหลิน เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซี  หลังจากรัฐบาลท้องถิ่นใช้มาตรการฟื้นฟูระบบนิเวศ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในลุ่มแม่น้ำหลีเจียง   อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเมืองกุ้ยหลินได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว  เมื่อ ค.ศ. 2019 เมืองกุ้ยหลินได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวน 138 ล้านคน  มีรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสูงถึง 187,400 ล้านหยวน  เพิ่มขึ้น 26.7%  และ 34.7% ตามลำดับ 

อย่างไรก็ตาม เราเห็นได้ชัดว่า การบรรลุเป้าหมายเกิดความกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาตินั้นมีความสลับซับซ้อน และความท้าทายมากกว่าการฟื้นฟูระบบนิเวศและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในลุ่มแม่น้ำอย่างมาก  ขณะนี้   จีนเหลือเวลาไม่ถึง 10 ปีในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนถึงเพดานสูงสุด ในอนาคต  จีนจึงต้องเผชิญกับการท้าทายที่หนักหนา และต้องทำงานอย่างหนักยิ่ง

จีนจะต้องสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และกลไก  ยับยั้งการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างสิ้นเปลือง  ขับเคลื่อนการพัฒนาตลาดคาร์บอน  และส่งเสริมการพัฒนาตลาดพลังงานหมุนเวียน     

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวว่า      ตามคำมั่นสัญญาที่จีนให้ไว้  จีนมีระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หลังบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนแตะเพดานสูงสุด  น้อยกว่าประเทศพัฒนามาก  ด้วยเหตุนี้  จีนจึงต้องใช้ความพยายามอย่างทรหดอดทนในช่วงหลายปีข้างหน้า

เนื่องจากต้องเผชิญกับการท้าทายต่างๆดังกล่าว  เห็นได้ชัดว่า  จีนกำลังก้าวไปบนหนทางที่ไม่มีใครเคยเดินมาก่อน    ความทันสมัยที่จีนกำลังมุ่งมั่นพัฒนานั้น เป็นความทันสมัยที่มีความกลมกลืนกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ   ปัจจุบัน ประชาชนจีนกำลังมุ่งมั่นแสวงหาการพัฒนาที่มีคุณภาพในระดับสูง  และจะเป็นประโยชน์มหาศาลต่อทั้งจีนและทั่วโลกในอนาคต  

(yim/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (22-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

蔡建新