วันที่ 3 พฤษภาคมตามเวลาท้องถิ่น นายแอนโทนี่ บลินเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มจี7 (G7) ที่กรุงลอนดอน มีการคาดการณ์ว่าการเดินทางของนายบลินเคนในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมพันธมิตรโจมตีจีนและรัสเซีย ในขณะที่รัฐบาลไบเดนปกครองประเทศครบร้อยวัน และทำให้การปรับปรุงโครงสร้างยุทธศาสตร์การต่างประเทศของสหรัฐฯ ชัดเจนยิ่งขึ้น
ด้านหนึ่ง สหรัฐฯ พยายามทำดีต่อพันธมิตรดั้งเดิมของสหภาพยุโรป โดยหวังว่าฝ่ายยุโรปจะแสดงบทบาทสำคัญในการแทรกแซงและโจมตีจีน อีกด้านหนึ่ง สหรัฐฯก็เร่งรวบรวมทรัพยากรทางยุทธศาสตร์ทั่วโลก
เมื่อเร็วๆ นี้ นายบลิงเคนได้ระบุอย่างชัดเจนว่า สหรัฐฯ ได้ถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานและรวบรวมกำลังหันไปยังประเทศจีน สงครามอัฟกานิสถานที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน 20 ปี นอกจากเหลืออัฟกานิสถานที่เต็มไปด้วยบาดแผลแล้ว สหรัฐฯ เองก็ถูกแก้แค้นกลับโดยการแทรกแซงกิจการภายนอกเป็นเวลานาน ที่แย่กว่านั้นคือรากฐานประชาธิปไตยแบบสหรัฐฯ ถูกตั้งข้อสงสัยอย่างกว้างขวาง ในต่างประเทศ
อัฟกานิสถานและอิรักถือเป็นแบบอย่างประชาธิปไตยที่ถูกแทรกแซงจากภายนอกจนเสียหายอย่างรุนแรง ภายในประเทศ นักการเมืองสหรัฐฯ เปรียบเทียบการจลาจลในประเทศอื่นเป็น “เส้นทางชมวิวที่สวยที่สุด” เมื่อเดือนมกราคมได้เกิดเหตุการณ์ในอาคารรัฐสภา ทำให้
“ประชาธิปไตยแบบสหรัฐฯ” กลายเป็นเรื่องตลก
บทลงโทษยังไม่จบ สหรัฐฯ ก็ได้เดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกนำพาพันธมิตรเริ่มใช้ปฏิบัติการแทรกแซงใหม่ โดยชูธง “สิทธิมนุษยชน” “ประชาธิปไตย”
และ “เสรีภาพ” สหรัฐฯ ถือปัญหา “ฮ่องกง” “ซินเจียง” และ “ไต้หวัน” มารวมกับพันธมิตรเพื่อโจมตีประเทศจีน ประวัติศาสตร์เหมือนเป็นกระจกเงา สหรัฐฯได้ต่อสู้ในตะวันออกกลางเป็นเวลาหลายสิบปีแต่ในที่สุดประสบความล้มเหลว
ในเอเชีย การเข้าแทรกแซงประเทศจีนที่มีความแข็งแกร่งยิ่งเป็นปฏิบัติการที่อันตรายอย่างยิ่ง ผู้นำของสหรัฐฯ จะต้องตระหนักอย่างดีว่า หากทุ่มกำลังมาเป็นปรปักษ์กับจีน จะสามารถรับผลร้ายที่เกิดจากการแทรกแซงรอบใหม่ได้หรือไม่
Bo/LR/Cui