บทวิเคราะห์ : นักการเมืองสหรัฐฯ ที่พูดถึง“กฎเกณฑ์”ติดปากกลับลวงโลก

2021-05-10 11:34:16 | CMG
Share with:

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่ม G7 เพิ่งสิ้นสุดลงที่กรุงลอนดอน เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุในที่ประชุมว่า จุดประสงค์ของสหรัฐฯ ไม่ใช่เพื่อยับยั้งหรือปราบปรามจีน แต่มุ่งมั่นที่จะรักษาระเบียบระหว่างประเทศตาม "กฎเกณฑ์" ทั้งนี้ ถือเป็นเรื่องไร้สาระ ในฐานะผู้ทำลายระเบียบสากลมากที่สุด สหรัฐฯ มีความเชื่อมั่นจากทางใดที่จะเรียกร้องให้ประเทศอื่นปฏิบัติตามระเบียบสากล และระเบียบสากลที่เขาเรียกร้องนั้นจะใช้สำหรับใคร

นับตั้งแต่รัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ เข้าดำรงตำแหน่งในเดือนมกราคมปีนี้เป็นต้นมา มีการใช้ "กฎเกณฑ์" และ "ระเบียบสากล" เป็นข้ออ้างทำตัวเป็นผู้สนับสนุนลัทธิพหุภาคีมาโดยตลอด แต่ร้อยวันต่อมา โลกภายนอกพบว่ากฎเกณฑ์ที่สหรัฐฯ อ้างถึงนั้น กลับเป็นเพียง "กฎครองความเป็นใหญ่" และ "กฎในวงแคบ" สิ่งที่สหรัฐฯ เรียกว่าลัทธิพหุภาคีนั้นเป็นเพียง "การเมืองแบบกลุ่ม" ที่ใช้เอาใจพันธมิตร กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เมื่อเทียบกับการที่รัฐบาลชุดก่อนส่งเสริมลัทธิลำพังฝ่ายเดียว รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังใช้ธง "ลัทธิพหุภาคี" เพื่อหลอกลวงโลก แต่สาระสำคัญก็เหมือนกัน คือ มีจุดประสงค์เพื่อที่จะให้ประเทศอื่นยอมจำนนต่อระเบียบสากลที่สหรัฐฯ ครองความเป็นใหญ่เพียงฝ่ายเดียว

โลกใบนี้มีระบบสากลเพียงอย่างเดียวที่ต้องถือสหประชาชาติเป็นแกนนำ มีกฎเกณฑ์ทั่วโลกเพียงชุดเดียวนั่นก็คือกฎเกณฑ์พื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ถือกฎบัตรสหประชาชาติเป็นหลัก  ประเทศตะวันตกที่ถือ “กฎเกณฑ์” มาบีบบังคับผู้อื่นนั้นเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสากลเสียเอง ปัจจุบัน โลกต้องการลัทธิพหุภาคีอย่างแท้จริง เช่นเดียวกับที่ปธน.สี จิ้นผิงของจีน กล่าวเน้นขณะพูดคุยทางโทรศัพท์กับนายอันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า ประเทศต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามจุดประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ จะปฏิบัติตามลัทธิลำพังฝ่ายเดียวและลัทธิครองความเป็นเจ้าไม่ได้ จะจัดกลุ่มเล็กโดยถือลัทธิพหุภาคีเป็นข้ออ้างไม่ได้ ตลอดจนจะเป็นปรปักษ์กันทางจิตสำนึกไม่ได้

Tim/LR/Cui

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

刘榕