การยกเลิกภาษีเกษตรกรรม - สวัสดิการเชิงประวัติศาสตร์ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมอบแก่เกษตรกร

2021-05-11 08:36:36 | CMG
Share with:

พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1921 จะมีอายุครบรอบ 100 ปีในปีนี้ ในช่วงเวลา 1 ศตวรรษที่ผ่านมา พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้นำผลประโยชน์อันแท้จริงมากมายแก่เกษตรกรจีนจำนวนมหาศาล ซึ่งรวมถึงการยกเลิกภาษีเกษตรกรรมอย่างถาวรด้วย

ภาษีเกษตรกรรมเป็นภาษีชนิดหนึ่งที่ทางภาครัฐเก็บกับหน่วยงานหรือปัจเจกบุคคลทุกราย ที่ดำเนินการผลิตภาคเกษตรและมีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในประเทศจีนเรียกติดปากว่า “กงเหลียง” ซึ่งหมายถึง ธัญญาหารที่เกษตรกรผลิตขึ้นและส่งมอบแก่ภาครัฐ  ภาษีที่มีมาแต่ดั้งเดิมชนิดนี้มีการสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องในจีนเป็นเวลายาวนานกว่า 2,600 ปีก่อนได้รับการปลดออกจากเวทีประวัติศาสตร์อย่างถาวรตั้งแต่ทางการจีนประกาศยกเลิก “กฎระเบียบว่าด้วยภาษีเกษตรกรรมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน” เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006

ในช่วงเวลาหลายสิบปีหลังจากประเทศจีนใหม่สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1949 จีนยังคงเป็นประเทศที่ยากจนและล้าหลัง ภาษีเกษตรกรรมเป็นเสาค้ำสำคัญแห่งพลังทางการเงินของชาติมาโดยตลอด ตามตัวเลขสถิติ ในช่วงเวลา 52 ปีระหว่างปี ค.ศ. 1949-2000 เกษตรกรจีนส่งมอบธัญญาหารรวมกว่า 700,000 ล้านชั่งหรือ 350,000  กิโลกรัมแก่ภาครัฐ พร้อมไปกับสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้รับการปรับปรุงดีขึ้น พรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในจีนให้ความสำคัญอย่างสูงต่อผลประโยชน์ของบรรดาชาวเกษตรกร ทั้งยังได้นำประเด็นการยกเลิกภาษีเกษตรกรรมเข้าสู่ระเบียบวาระแห่งชาติ

เมื่อปี ค.ศ.1998 การประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 15 ครั้งที่ 3 ได้พิจารณาผ่าน “การตกลงแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่าด้วยประเด็นสำคัญหลายประการในกิจการงานเกษตรกรรมและชนบท” โดยระบุอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินการปฏิรูประบบภาษีอย่างมีขั้นตอน การปฏิรูปภาษีเกษตรกรรมในชนบทกลายเป็นมาตรการปฏิรูปสำคัญอีกประการหนึ่งต่อจากการดำเนินนโยบายให้ครัวเรือนเกษตรกรประกอบอาชีพการเกษตรในรูปแบบรับเหมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมพื้นฐานทางการเกษตร คุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร ตลอดจนพิทักษ์ความมั่นคงในชนบท

การยกเลิกภาษีเกษตรกรรม - สวัสดิการเชิงประวัติศาสตร์ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมอบแก่เกษตรกร_fororder_图片1

เมื่อย่างเข้าสู่ศตวรรษใหม่ จีนได้เร่งฝีก้าวแห่งการปฏิรูปภาษีเกษตรกรรมในชนบทให้เร็วยิ่งขึ้น เมื่อ ค.ศ. 2000  การทดลองปฏิรูปภาษีเกษตรกรรมได้นำหน้าเปิดฉากขึ้นในมณฑลอันฮุย  ค.ศ. 2003 การทดลองได้แผ่ขยายในทั่วประเทศจีน รัฐบาลจีนเสนออย่างชัดเจนอีกระดับว่าจะลดอัตราภาษีเกษตรกรรมอย่างมีขั้นตอน กระทั่งยกเลิกภาษีเกษตรกรรมในที่สุดแต่ไม่รวมภาษียาสูบ

ต่อมารายงานกิจการงานรัฐบาลจีนประจำปีค.ศ. 2004 เสนอว่า จะยกเลิกภาษีเกษตรกรรมภายในเวลา 5 ปี หลังจากนั้น กระทรวงการคลัง กระทรวงการเกษตรในเวลานั้นและสำนักงานภาษีอากรแห่งชาติจีนต่างได้ออกหนังสือเวียนให้มณฑลจี๋หลินและเฮยหลงเจียง นำหน้าดำเนินการทดลองการยกเลิกเก็บภาษีเกษตรกรรม ข้อมูลถึงสิ้นปีค.ศ. 2005 จีนมี 28 มณฑลได้เลิกเก็บภาษีเกษตรกรรมทั้งหมด

เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2005 การประชุมคณะกรรมการประจำสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนชุดที่ 10 ครั้งที่ 19 มีการตกลงให้ยกเลิก “กฎระเบียบว่าด้วยภาษีเกษตรกรรมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน” ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006 เป็นอันว่าเกษตรกรจำนวนหลายร้อยล้านคนได้เวลาอำลาประวัติศาสตร์แห่งการชำระภาษีเกษตรกรรมอย่างสิ้นเชิง

เวลานั้น ชาวเกษตรกรในหมู่บ้านหลายแห่ง เช่น หมู่บ้านซ่งเจียผิง อำเภอหนานปู้ มณฑลเสฉวน หมู่บ้านชิงเหลียน อำเภอหลิงโซ่ว มณฑลเหอเป่ย และหมู่บ้านเฮยหู่ต้ง อำเภอปกครองตนเองชนเผ่ามองโกลฝู่ซิง เขตปกครองตนเองชนเผ่ามองโกเลียใน เป็นต้น ได้ร่วมกันทำเรื่องเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมาย ซึ่งก็คือการจัดทำศิลาจารึกเหตุการณ์ยกเลิกการเก็บภาษีเกษตรกรรม

“นี่เป็นวันที่ควรค่าแก่การเฉลิมฉลองในทั่วประเทศ” ค่ำวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006 หลังจากได้ยินว่ารัฐบาลประกาศยกเลิกภาษีเกษตรกรรม นายหยาง ชุนหลิง ชาวนาในหมู่บ้านสุ่ยอู้ ตำบลหวังเฟิ่งเหลา อำเภอผิงหยวน เมืองเต๋อโจว มณฑลซานตงรู้สึกตื่นเต้นจนนอนไม่ค่อยหลับหลายคืน เขาเขียนในสมุดบันทึกประจำวันว่า “ในความคิดของเกษตรกร การปลูกข้าวและส่งมอบกงเหลียงแก่ภาครัฐนั้น เป็นเรื่องสมเหตุสมผลโดยแท้ แต่ปีหลังๆนี้ รัฐบาลเอาใจใส่ชาวเกษตรกรเราเป็นพิเศษ กระทั่งไม่ต้องเสียภาษีเกษตรกรรม ชาวบ้านพากันตีฆ้องตีกลองและจุดประทัด บรรยากาศตามถนนใหญ่และตรอกซอกซอยล้วนเปี่ยมไปด้วยความปลื้มปิติสุดที่จะพรรณนาได้”

การยกเลิกภาษีเกษตรกรรมได้นำผลประโยชน์ที่มองเห็นจับต้องได้แก่เกษตรกรหลายร้อยล้านคน หากเปรียบเทียบกับก่อนการปฏิรูปภาษีเกษตรกรรมในชนบท ครัวเรือนเกษตรกรทั่วประเทศจีนมีภาระที่ลดลงเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,250 หยวน เฉลี่ยต่อหัวประมาณ 140 หยวน  ในขณะเดียวกัน การคลังภาครัฐได้จัดสรรเงินทุนสำหรับสนับสนุนการเสริมสร้างและปรับปรุงการปฏิรูปภาษีเกษตรกรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เมื่อภาระลดลง ความกระตือรือร้นในการทำไร่ทำนาของเกษตรกรเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก ชนบทจีนปรากฏสภาวการณ์แห่งการกลับบ้านเกิดของกลุ่มคนที่ไปหางานทำในต่างถิ่น การซื้อพืชพรรณธัญญาหารคุณภาพดีและเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น ตามท้องไร่ท้องนามีจำนวนเกษตรกรที่ยุ่งกับงานเกษตรเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ชนบทจีนมีบรรยากาศที่คึกคักยิ่งขึ้น

ภายหลังได้รับทราบว่ารัฐบาลได้ประกาศยกเลิกภาษีเกษตรกรรม หลู่ ยี่ไท่ ชาวนาจากหมู่บ้านโฮ่วสั่ว ตำบลชิงหวา เมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน ได้กลับมายังบ้านเกิดอย่างเร่งรีบจากที่ออกไปหางานทำในต่างถิ่น เธอกล่าวว่า “ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปีที่ยกเลิกภาษีเกษตรกรรม ฉันกลับมาหมู่บ้านและรับเหมาพื้นที่ไร่ 250 โหม่วหรือประมาณ 104 ไร่ ทำกำไรสุทธิได้กว่า 70,000 หยวน”

การยกเลิกภาษีเกษตรกรรม - สวัสดิการเชิงประวัติศาสตร์ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมอบแก่เกษตรกร_fororder_图片2

การลดภาระเกษตรกรอย่างแท้จริงจากนโยบายยกเลิกภาษีเกษตรกรรมนั้นนับเป็นการปลดปล่อยกำลังการผลิตในชนบทจีนอีกครั้ง ต่อจากนั้น จีนยังได้เร่งฝีก้าวแห่งการออกมาตรการต่างๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ สร้างความมั่งคั่งและความแข็งแกร่งแก่ชาวเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับเกษตรกรได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงประวัติศาสตร์จาก “การขอ” สู่ “การให้”

ผู้คนทั้งหลายมีความเห็นโดยทั่วไปว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้เกิดจากการที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ปกครองประเทศชาติได้ยืนหยัดภารกิจและความมุ่งมั่นตั้งใจตั้งแต่เริ่มแรกมาโดยตลอด ซึ่งก็คือการแสวงหาความสุขแก่ประชาชนและการฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรืองแก่ประชาชาติจีน

ปัจจุบัน จีนได้ประสบชัยชนะแห่งสงครามแก้ไขอุปสรรคและความยากลำบากเพื่อขจัดความยากจน ทั้งยังได้เริ่มดำเนินยุทธศาสตร์พัฒนาชนบทให้เจริญรุ่งเรืองด้วย คาดการณ์ว่า ภายใต้การนำอันทรงพลังยิ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน อีกไม่นานนัก ชนบทจีนย่อมจะได้รับการพัฒนาเชิงประวัติศาสตร์ ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรจีนย่อมจะนับวันทวีความดีงามยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

YIM/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

陆永江