หอดูดาวแห่งชาติของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีนเผยแพร่ข้อมูลเมื่อวันที่ 8 พ.ค. ระบุว่าจากการใช้ข้อมูลที่เฝ้าติดตามจากกล้องโทรทรรศน์ LAMOST ของทางหอดูดาวและกล้องโทรทรรศน์ Gaia ขององค์การอวกาศยุโรป เร็วๆ นี้ นักวิจัยทางดาราศาสตร์จีนได้ทำการวิจัยเชิงวิเคราะห์โดยการ “ตรวจ DNA” เพื่อค้นหาต้นกำเนิดของโครงสร้างย่อยต่างๆ ของทางช้างเผือก อาทิ วงแหวนดาว Monoceros ธารดาว Triangulum-Andromeda และ A13 ที่อยู่ใจกลางทางช้างเผือกด้านตรงข้าม พบว่าพวกมันไม่ได้เป็นซากของแกแล็คซี่แคระ (Dwarf Galaxy) ที่สั่งสมอยู่ที่ทางช้างเผือก แต่เป็นส่วนหนึ่งของดิสก์ชั้นนอกของทางช้างเผือก
อนึ่ง วิทยานิพนธ์ของผลสำเร็จทางดาราศาสตร์ที่สำคัญนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ “Astrophysical Journal” แล้วเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา การวิจัยนี้ได้ยุติข้อโต้แย้งเกี่ยวกับที่มาของโครงสร้างย่อยของใจกลางทางช้างเผือกด้านตรงข้ามที่มีมาช้านานในวงการดาราศาสตร์ ขณะเดียวกันยังได้ค้นพบว่าโครงสร้างย่อยของใจกลางทางช้างเผือกด้านตรงข้ามยังสามารถขยายได้ถึงระยะ 97,800 ปีแสงจากใจกลางทางช้างเผือก ซึ่งเท่ากับ 2 เท่าของขนาดแผ่นจานของแกแล็คซี่แบบคลาสสิก นี่ยังเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ว่าระยะทางช้างเผือกที่ทีมระหว่างประเทศได้ใช้ข้อมูลจาก LAMOST ในปี 2018 สรุปไว้แต่เดิมนั้นไกลกว่าถึงเท่าตัว
ข่าวจาก ไชน่ามีเดียกรุ๊ป