ย้อนรอยประวัติศาสตร์ซินเจียง (1)

2021-05-20 20:05:01 | สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน
Share with:

ราว 3,500 ปีก่อน สมัยราชวงศ์เซี่ย (夏朝) ซึ่งเป็นราชวงศ์แรกของจีนถูกโค่นล้ม ทหารของเซี่ยที่รอดจากสงครามส่วนหนึ่ง พาครอบครัวอพยพไปภาคเหนือของจีนที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล

คนกลุ่มนี้แต่งงานกับชนเผ่าต่างๆ ในบริเวณนี้ มีทั้งชาวมองโกล ชาวผิวขาวจากเอเชียกลาง ตลอดจนชนเผ่าอื่นๆที่ขี่ม้าเร่ร่อนไปทั่ว เมื่อความรู้ความสามารถของชาวจีน ผสมผสานเข้ากับความแข็งแกร่งของร่างกายและความกล้าหาญชาญชัยของชนเผ่าบนหลังม้า ทำให้เติบโตเป็นกลุ่มที่เข้มแข็งที่สุดในภาคเหนือของจีน โดยใช้ชื่อว่า “ซยงหนู” (匈奴 Xiongnu) จนได้สร้างประเทศที่ใช้ระบบทาสขึ้นมา ควบคุมพื้นที่กว้างใหญ่ในภาคเหนือและภาคตะวันตกของจีน  ซึ่งรวมถึงทุ่งหญ้ามองโกล เขตซินเจียงในปัจจุบันและเอเชียกลาง

เท่านั้นยังไม่พอ กองทัพซยงหนูได้รุกคืบไปภาคตะวันออกอยู่เนืองๆ ซึ่งเป็นพื้นที่ภายใต้การปกครองของราชวงส์ฮั่นตะวันตก (西汉)จักรพรรดิฮั่นอวู่ตี้เป็นกษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทรงยกทัพไปสู้รบกับซยงหนู หลังสงครามที่มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงสยบซยงหนูได้  ปี 102 ก่อนค.ศ.  ได้ตั้งรัฐบาลรักษาความมั่นคงเขตภาคตะวันตก (西域都护府) ในท้องถิ่น ทำให้ซินเจียงเข้าอยู่ในแผนที่จีนตั้งแต่นั้นมา

ทหารซยงหนูส่วนหนึ่งยอมจำนน อีกส่วนหนึ่งหนีไปยังยุโรปตะวันออก ระหว่างทางมีการสู้รบกับทหารของเมืองหรือประเทศที่ผ่านโดยตลอด สุดท้ายไปหยุดอยู่ที่ประเทศฮังการีในปัจจุบัน

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ซินเจียง(1)_fororder_20210519-2

หลังซยงหนูถูกถล่ม ชนเผ่าต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การปกครองของซยงหนู ก็กลับสู่สภาพเดิมที่ต่างคนต่างอยู่ ในจำนวนนี้ ชนเผ่าเติร์ก ที่มีบรรพบุรุษมาจากเทือกเขาอัลไต (Altai Mountains) ที่เป็นเชื้อสายมองโกลหรือชาวผิวเหลือง เติบโตขึ้นมาเป็นชนเผ่าที่เข้มแข็งในภาคตะวันตกของจีน 

ตั้งแต่ปีค.ศ. 540 คำว่า “เติร์ก” เริ่มมีการบันทึกในหนังสือประวัติศาสตร์จีน ชนเผ่าเติร์กมีชัยชนะในสงครามระหว่างชนเผ่าหลายครั้ง และสร้างก๊กเติร์กในปีค.ศ. 552 และสั่งให้หลายชนเผ่าที่อยู่ภายใต้การปกครองรวมถึงชนเผ่าอุยกูร์ต้องพูดภาษาเติร์ก

ในช่วงเดียวกันนั้นถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนยุคสมัยของจีนอย่างต่อเนื่อราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (东汉) ถูกโค่นล้ม จีนเข้าสู่ยุคสามก๊ก ต่อจากนั้นก็มาถึงสมัยราชวงศ์ถัง สงครามกลางเมืองที่เกิดบ่อยครั้ง ทำให้รัฐบาลกลางไม่สามารถส่งทหารไปรักษาภาคตะวันตกได้อีกต่อไป

หลังปีค.ศ. 583 ก๊กเติร์กมีเหตุการณ์แย่งชิงอำนาจภายในหมู่เชื้อพระวงศ์ และแตกแยกเป็นก๊กเติร์กตะวันออกกับก๊กเติร์กตะวันตก

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ซินเจียง(1)_fororder_20210519-1

ชนเผ่าอุยกูร์ไม่สามารถอดทนต่อการปกครองที่โหดร้ายของชาวเติร์กได้ จึงไปติดต่อกับจักรพรรดิราชวงศ์ถัง(唐朝)ในเวลานั้นว่า ยอมสวามิภักดิ์ร่วมมือกับทหารของราชวงศ์ถังเพื่อถล่มก๊กเติร์ก ในสมัยนั้น ไม่มีรถไฟความเร็วสูง ไม่มีระบบ GPS การยกทัพจากภาคกลางของจีนไปยังภาคตะวันตก ทหารต้องเดินด้วยเท้าระยะทางหลายพันกิโลเมตร สิ่งที่อันตรายที่สุดระหว่างการเดินทางคือขาดแคลนน้ำ เพราะอากาศแห้งมาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ถ้าไม่มีทหารหรือชาวท้องถิ่นมานำทาง อาจจะหิวน้ำตายทั้งหมด

ปีค.ศ.629 จักรพรรดิถังไท่จง (唐太宗) เห็นว่ากำลังประเทศฟื้นฟูแล้ว มีกำลังรบพอเพียง  จึงทรงตัดสินพระทัยร่วมมือกับทหารชนเผ่าอุยกูร์ ปี 630 ได้ยกทัพถล่มก๊กเติร์กตะวันออก และปีค.ศ. 657 ถล่มก๊กเติร์กตะวันตก

  • เสียงข่าวประจำวัน (30-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (30-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (30-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (29-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (29-04-2567)

崔沂蒙