นักวิชาการอิตาลีชี้ แผนการจีนตอบสนองต่อวิกฤตสาธารณสุขทั่วโลก

2021-05-23 14:55:32 | CRI
Share with:

นักวิชาการอิตาลีชี้ แผนการจีนตอบสนองต่อวิกฤตสาธารณสุขทั่วโลก_fororder_fh-1

รองศาสตราจารย์ ฟาบีโอ มัสซิโม พาเรนตี นักวิชาการอิตาลีประกาศบทความหัวข้อ “การประชุมสุขภาพและอนามัยโลก แผนการจีนตอบสนองต่อวิกฤตสาธารณสุขทั่วโลก”

วันที่ 21 พฤษภาคม การประชุมสุดยอดสุขภาพและอนามัยโลกเริ่มขึ้นที่กรุงโรมเมืองหลวงอิตาลี การประชุมสุดยอดพหุภาคีที่สำคัญครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งปันประสบการณ์ควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคโควิด–19  และผลักดันให้ผ่าน “ปฏิญญากรุงโรม”

เป้าหมายสำคัญของการประชุมสุดยอดนี้ คือ เสริมความร่วมมือพหุภาคี เพื่อส่งเสริมปฏิบัติการร่วมระหว่างประเทศต่างๆ กับองค์การระหว่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะป้องกันวิกฤตด้านสุขภาพและอนามัยทั่วโลกในอนาคต จีนได้แสดงบทบาทสำคัญด้านการป้องกันและควบคุมโรคระบาดมาโดยตลอด และจะแสดงบทบาทสำคัญยิ่งต่อไปในอนาคตด้วย เพราะจีนถือชีวิตที่ปลอดภัยและสุขภาพร่างกายเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกมาโดยตลอด ขณะเดียวกัน จีนเคยแสดงหลายครั้งว่าผลักดันการสร้างชมรมสุขภาพอนามัยแห่งมนุษย์ โดยมีแนวคิดที่เรียบง่ายอันได้แก่ การระบาดของโรคส่งผลกระทบต่อทั่วโลก วิธีแก้ไขปัญหาส่วนภูมิภาคนั้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหารอบโลก แต่แผนการที่จีนเสนอมีประสิทธิภาพและชัดเจน มีแต่ต้องอาศัยความร่วมมือพหุภาคีและปฏิบัติการร่วม จึงจะสามารถขจัดวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตตั้งแต่ต้นๆ 

ไวรัสไม่คำนึงถึงพรมแดนและโรคระบาดก็ไม่แบ่งแยกว่าเป็นชนเผ่าใด ความร่วมมือและสามัคคีระหว่างรัฐบาลประเทศต่างๆ กับองค์การระหว่างประเทศนั้น  เป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพเพียงหนึ่งเดียว เมื่อพิจารณาจากมุมมองนี้ แนวคิดที่จีนเสนอเหมาะกับปัญหาที่หารือในการประชุมสุดยอดด้านสุขภาพและอนามัยโลกในครั้งนี้ ดังนั้น การประชุมสุดยอดนี้มีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญต่อข้อเสนอของจีน และเสริมความร่วมมือกับจีน

ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19เป็นต้นมา ข้อเท็จจริงมากมายแสดงให้เห็นว่า มีแต่ยืนหยัดความร่วมมือและไว้วางใจ จึงจะสามารถควบคุมการระบาดในทั่วโลก จีนได้ใช้ปฏิบัติการของตนยืนยันให้เห็นว่า จีนเป็นประเทศใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ สามารถสร้างคุณูปการใหม่ต่อมนุษยชาติ 

สำหรับอิตาลี ปัจจุบันถึงเวลาให้การสนับสนุนข้อเสนอของจีนแล้ว ที่รวมถึงการถือวัคซีนเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะทั่วโลก สนับสนุนประเทศด้อยพัฒนาที่มีความยากลำบากพิเศษ นอกจากนั้น การเสริมความปลอดภัยด้านอนามัยของทั่วโลกนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการยกระดับรูปแบบการพัฒนา การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ บรรลุการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางนิเวศและการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ มีความสำคัญยิ่งต่อความปลอดภัยด้านอนามัยของสังคมมนุษย์

(Yim/Lin/Yanzi)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

林钦亮