เมียนมาเป็นประเทศกสิกรรมขนาดใหญ่ 35% ของพื้นที่ในประเทศเป็นพื้นที่เพาะปลูก โดยมีเนื้อที่ในการปลูกข้าว 107 ล้านหมู่ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีที่ยังไม่พัฒนา เกษตรกรชาวเมียนมาส่วนใหญ่ปลูกข้าวด้วยเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเอาเอง ที่ปลูกข้าวพันธุ์ผสมไม่ถึง 1% ของจำนวนพื้นที่ปลูก ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ผสมของจีนที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดเมียนมาช่วยให้ปริมาณการผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว นำความหวังใหม่มาให้กับการพัฒนาธุรกิจข้าวของเมียนมา
เมียนมาเป็นประเทศที่ผลิตข้าวใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก มีปริมาณการผลิตเฉลี่ยที่ 14-15 ล้านตันต่อปี และเป็นประเทศส่งออกข้าวใหญ่อันดับที่ 7 ของโลกอีกด้วย ส่งออกข้าวปีละ 2-3 ล้านตันต่อปี ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ปี 2020 - เดือนเมษายน ปี 2021 การส่งออกข้าวของเมียนมามียอดจำหน่ายถึง 430 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ แต่เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตที่ล้าสมัย ทำให้ปริมาณการผลิตต่อหน่วยค่อนข้างต่ำ เกษตรกรชาวเมียนมาจึงไม่ค่อยมีรายได้เพิ่ม
นายเจี่ยง อิ๋นเทา ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจต่างประเทศของบริษัทเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์หมิงเทียนเจียงซุ จำกัด ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่าตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา บริษัทนี้เริ่มลงตลาดเมียนมาและปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกข้าวถึง 200,000 หมู่ โดยเพิ่มปริมาณการผลิตข้าวเป็นเท่าตัวเมื่อเทียบกับเมล็ดพันธุ์ชนิดอื่น
เมื่อปี 2019 กระทรวงพาณิชย์จีน ร่วมกับบริษัทไฮ-เทคโนโลยีทางการเกษตรหยวน หลงผิง จัด “การฝึกอบรมเทคโนโลยีข้าวพันธุ์ผสมเมียนมา” ที่กรุงเนปิดอ โดยมีเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีทางการเกษตรชาวเมียนมาจำนวน 60 คน ดำเนินการฝึกอบรมเป็นเวลา 45 วัน เรียนรู้เทคโนโลยีการเพาะเมล็ดพันธุ์และวิธีการผลิตที่ทันสมัยที่สุดของบริษัทดังกล่าว
ปัจจุบัน การปลูกข้าวพันธุ์ผสมของเมียนมายังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น นายถาน ซูฟู่ ทูตที่ปรึกษาฝ่ายพาณิชย์ของสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำเมียนมาเห็นว่า ข้าวพันธุ์ผสมเมียนมามีอนาคตที่ดี หากสามารถเพิ่มพื้นที่ปลูกจะช่วยในการประกันความปลอดภัยทางอาหารและเพิ่มการส่งออกข้าวของเมียนมาก
Zhou/Dan/Bo