บทวิเคราะห์ : พรรคคอมมิวนิสต์จีนนำการพัฒนาก้าวหน้าสู่ทิเบตอย่างไม่เคยมีมาก่อน

2021-05-24 21:09:16 | CMG
Share with:

นับตั้งแต่ยุคใกล้เป็นต้นมา จากปัจจัยทางด้านประวัติศาสตร์และสภาพประเทศของจีน ในที่สุด "มีเพียงพรรคคอมมิวนิสต์จีนเท่านั้นที่สามารถช่วยจีนได้" จึงกลายเป็นฉันทามติในวงกว้างของชาวจีนส่วนใหญ่ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ของทิเบตที่เกิดขึ้นก่อนและหลังพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้นำในทิเบตได้รับการพิสูจน์อย่างเต็มที่ว่า "หากไม่มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็จะไม่มีทิเบตใหม่"

เขตทิเบตตั้งอยู่บริเวณพรมแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและทางตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงชิงไห่–ทิเบต ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1.22 ล้านตารางกิโลเมตร ทิเบตเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นพื้นที่หลักที่ชาวทิเบตอาศัยอยู่ในประเทศจีน ชาวทิเบตครองสัดส่วนมากกว่า 95% ของประชากรทั้งหมดในเขตทิเบต ซึ่งโดยส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาแบบทิเบต

วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี แห่งการปลดปล่อยทิเบตอย่างสันติ รัฐบาลจีนได้ออกสมุดปกขาว "การปลดปล่อยอย่างสันติ ความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาของทิเบต" ซึ่งทบทวนกระบวนการทางประวัติศาสตร์ของทิเบตอย่างครอบคลุม พร้อมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงชนิดพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินและผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่เชิงประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในทิเบตภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วยข้อเท็จจริงและตัวเลขสถิติ

บทวิเคราะห์: พรรคคอมมิวนิสต์จีนนำการพัฒนาก้าวหน้าสู่ทิเบตอย่างไม่เคยมีมาก่อน_fororder_西藏图片3

นักวิเคราะห์มองว่าคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่มีต่อทิเบตนั้นสะท้อนให้เห็นใน 3 ด้านดังต่อไปนี้

ประการแรก ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระบบสังคมของทิเบต “ก้าวข้ามนับพันปี”  เมื่อ 70 ปีก่อน สังคมทิเบตยังเป็นระบบศักดินาพึ่งพาทาสกสิกรรมที่การเมืองกับศาสนารวมเป็นหนึ่งเดียวและร่วมกันใช้อำนาจเผด็จการโดยพระสงฆ์กับขุนนาง ซึ่งเป็นระบบที่มืดมน ป่าเถื่อน โหดร้าย และล้าหลังยิ่งกว่าระบบสังคมของยุโรปในยุคกลาง ทาสชาวนาติดที่ดินและทาสซึ่งครองสัดส่วนมากกว่า 95% ของประชากรทั้งหมดไม่มีปัจจัยการผลิต ไม่มีเสรีภาพทางร่างกาย และไม่มีสถานะทางการเมืองใด ๆ พวกเขาตกอยู่ในสภาพถูกกดขี่ซ้ำซ้อนจากจักรวรรดินิยมและนายทาส ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ทุกข์ยากเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของทิเบตตกอยู่ในสภาวะชะงักงันเป็นเวลายาวนาน

หลังก่อตั้งประเทศจีนใหม่ใน ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนมุ่งมั่นปลดปล่อยและพัฒนาทิเบตอย่างสันติ วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1951 ทิเบตได้รับการปลดปล่อยอย่างสันติ ถือเป็นสัญลักษณ์แสดงว่านับแต่นั้นมาทิเบตได้หลุดพ้นจากโซ่ตรวนของอิทธิพลจักรวรรดินิยมที่รุกรานทิเบตและกลับคืนสู่อ้อมกอดของมาตุภูมิ การปฏิรูปประชาธิปไตยที่ดำเนินการใน ค.ศ. 1959 ได้ยกเลิกระบบทาสกสิกรรมที่รวมการเมืองและศาสนาเข้าเป็นหนึ่งเดียว ทั้งยังทำให้ระบบสังคมทิเบต "ก้าวข้ามสหัสวรรษ" ต่อมาใน ค.ศ. 1965 ทิเบตได้ใช้ระบบการปกครองตนเองทางชาติพันธุ์อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งทำให้ประชาชนมีสิทธิในการเป็นเจ้าของประเทศมากขึ้นอีกระดับ

ประการที่สอง พรรคคอมมิวนิสต์จีนนำชาวทิเบตเดินบนหนทางแห่งการพัฒนาที่มีลักษณะเฉพาะของจีนและทิเบต ช่วยให้เศรษฐกิจทิเบตฟื้นตัวและพัฒนา พื้นที่เมืองและชนบทมีโฉมหน้าใหม่ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมีระดับสูงขึ้นอย่างมาก GDP ของทิเบตใน ค.ศ. 1951 มีเพียง 129 ล้านหยวน ตัวเลขนี้ทะลุ 190,000 ล้านหยวนใน ค.ศ. 2020 ขณะที่อายุขัยเฉลี่ยของชาวทิเบตเพิ่มขึ้นจาก 35.5 ปี ใน ค.ศ. 1951 เป็น 71.1 ปี ใน ค.ศ. 2019 ก่อนการปลดปล่อยผู้คนในทิเบตกว่า 90% ไม่มีบ้านพักอาศัยเป็นของตัวเอง จนกระทั่ง ค.ศ. 2020 พื้นที่อยู่อาศัยเฉลี่ยต่อหัวของเกษตรกรและชาวปศุสัตว์ในทิเบตมีขนาดถึง 41.46 ตารางเมตร และพื้นที่อยู่อาศัยเฉลี่ยต่อหัวของชาวเมืองมีขนาดถึง 33.4 ตารางเมตร นับจนถึงปลาย ค.ศ. 2019 ทิเบตประสบความสำเร็จเชิงประวัติศาสตร์ในการขจัดความยากจนสุดขีด ปัจจุบันรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของประชากรที่หลุดพ้นความยากจนมีมากกว่า 10,000 หยวน

สิ่งที่น่ากล่าวถึงเป็นพิเศษ คือ ตลอดช่วง 70 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนมอบนโยบายพิเศษมากมายแก่ทิเบต เมื่อเร็ว ๆ นี้ นางเปียนปาลาหมู่ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียใต้ศึกษา สภาวิทยาศาสตร์สังคมเขตปกครองตนเองทิเบต กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทิเบตส่วนใหญ่อาศัยการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลกลางซึ่งคิดเป็นเกือบ 97% นอกจากนี้ เวลากำหนดนโยบายบางประการก็ได้ให้สิทธิพิเศษแก่ทิเบตอย่างมาก ด้วยหลักประกันเหล่านี้ เศรษฐกิจและสังคมของทิเบตจึงสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพสูง”

บทวิเคราะห์: พรรคคอมมิวนิสต์จีนนำการพัฒนาก้าวหน้าสู่ทิเบตอย่างไม่เคยมีมาก่อน_fororder_西藏图片4

ภายใต้การนำและบูรณาการของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ไม่เพียงแต่รัฐบาลกลางเท่านั้นหากยังรวมถึงมณฑลและนครพี่น้องก็ได้ให้ความช่วยเหลือมากมายแก่ทิเบต ตามสถิติตั้งแต่ ค.ศ. 1994 – 2020 มณฑลและนคร รวมถึงหน่วยงานรัฐและวิสาหกิจส่วนกลาง ได้ให้การสนับสนุนโครงการก่อสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของทิเบตรวม 6,330 โครงการ ใช้เงินลงทุนรวม 52,700 ล้านหยวน ทั้งยังได้คัดเลือกเจ้าหน้าที่ดีเด่นจำนวน 9,682 คนไปช่วยทำงานที่ทิเบต สร้างคุณูปการที่สำคัญแก่การพัฒนาทิเบต

ประการที่สาม ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เสรีภาพในการนับถือศาสนาในทิเบตได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ วัฒนธรรมดั้งเดิมอันยอดเยี่ยมของชาวทิเบตได้รับการสืบทอดและส่งเสริม ศาสนามีอิทธิพลลึกซึ้งและยาวนานในทิเบต ไม่ว่าในด้านความคิด การผลิต และการใช้ชีวิตของผู้คน ตลอดจนประเพณีอื่น ๆ ล้วนเปี่ยมไปด้วยสีสันอันเข้มข้นทางศาสนา กิจกรรมทางศาสนาเป็นส่วนประกอบในชีวิตของชาวท้องถิ่นส่วนใหญ่ ปัจจุบันทิเบตมีสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนาแบบทิเบตมากกว่า 1,700 แห่ง มีพระสงฆ์และแม่ชีประมาณ 46,000 รูป การเรียนรู้ การใช้งาน และพัฒนาภาษาทิเบตได้เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย โบราณวัตถุ และโบราณสถาน เช่น วังโปตาลาได้รับการซ่อมแซมและคุ้มครอง ขนบธรรมเนียมประเพณีก็ได้รับการเคารพอย่างเต็มที่

เป็นเวลานานแล้วที่อิทธิพลต่อต้านจีนบางส่วนในโลกตะวันตกใส่ร้ายป้ายสีทิเบตโดยใช้ประเด็นสิทธิมนุษยชนและศาสนาเป็นข้ออ้าง โดยมีจุดประสงค์แท้จริงเพื่อพยายามบ่อนทำลายความมั่นคงของสังคมทิเบต และใช้ "ปัญหาทิเบต" เป็นไพ่ในการยับยั้งความเจริญรุ่งเรืองของจีน อย่างไรก็ตามกุศโลบายนี้ถูกประชาชนจีนซึ่งรวมถึงชาวทิเบตตลอดจนประชาคมโลกมองเห็นทะลุปรุโปร่งมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งย่อมมิอาจประสบผลสำเร็จได้เป็นอันขาด

ข้อเท็จจริงพิสูจน์แล้วว่าภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ทิเบตประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม และระบบนิเวศ เป็นต้น มีความมั่นคงในระยะยาว มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและมีความก้าวหน้าทางสังคมอย่างต่อเนื่อง ชาวทิเบตนับวันยิ่งรู้สึกได้รับประโยชน์ มีความสุข และมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น "หากไม่มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็จะไม่มีทิเบตใหม่" หาใช่เพียงแค่คำขวัญ แต่เป็นการพรรณนาถึงประวัติศาสตร์ของทิเบตอย่างแท้จริง

TIM/LU

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (14-11-2567)

陆永江