บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯ ควรเปิดกว้างสืบหาต้นตอโควิด-19

2021-07-27 11:17:12 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์: สหรัฐฯ ควรเปิดกว้างสืบหาต้นตอโควิด-19_fororder_1

ขณะที่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบอย่างหนักทั่วโลก สิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ไม่อยากเห็น คือ การทำให้การสืบหาต้นตอของไวรัสเป็นเรื่องการเมือง ด้วยเหตุนี้ทุกประเทศจึงต้องสืบหาต้นตอของไวรัส ทั้งยังต้องเคารพหลักวิทยาศาสตร์และข้อเท็จจริง แต่สหรัฐฯ กลับล้มเหลวไปแล้วทั้ง 2 ด้านดังกล่าว

บทวิเคราะห์: สหรัฐฯ ควรเปิดกว้างสืบหาต้นตอโควิด-19_fororder_2

เนื่องจากจีนเป็นประเทศแรกที่รายงานผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันต่อองค์การอนามัยโลก รัฐบาลจีนจึงเชิญผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกเดินทางเยือนเมืองอู่ฮั่นถึงสองครั้ง เพื่อปฏิบัติภารกิจการสืบหาต้นตอของไวรัส หลังเสร็จสิ้นภารกิจดังกล่าวที่เมืองอู่ฮั่นเมื่อเดือนมีนาคม ผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกได้สรุปในรายงานว่า ทฤษฎีที่เรียกว่า "การรั่วไหลของไวรัสจากห้องปฏิบัติการ" ไม่น่าเป็นไปได้อย่างยิ่ง และแนะนำให้ทำการวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ป่วยโควิด-19 รายแรก ๆ ในขอบเขตทั่วโลก

บทวิเคราะห์: สหรัฐฯ ควรเปิดกว้างสืบหาต้นตอโควิด-19_fororder_3

ในขั้นตอนต่อไป งานสืบหาต้นตอของโควิด-19 ควรดำเนินการในสหรัฐอเมริกาต่อไป เพราะสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีประชากรติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  ทั้งยังเป็นประเทศที่ถูกประชาคมโลกตั้งคำถามมากเกี่ยวกับการรับมือการระบาดของโควิด-19

คำถามที่ประชาคมโลกอยากทราบคำตอบจากสหรัฐฯ มากที่สุด คือ การสั่งปิดห้องปฏิบัติการวิจัยด้านชีวการแพทย์ของกองทัพสหรัฐฯ (Fort Detrick) ซึ่งเป็นสถานที่เก็บไวรัสอันตรายที่สุดในโลก รวมถึงอีโบลา ไข้ทรพิษ และซาร์ส มีความเกี่ยวข้องกับการระบาดใหญ่ของโควิด-19 หรือไม่ และผู้ป่วยโควิด-19 รายแรก ๆ เกิดขึ้นในสหรัฐเมื่อใด

คำถามดังกล่าวนี้ไม่ได้ถูกตั้งขึ้นโดยไม่มีมูล ห้องปฏิบัติการวิจัยด้านชีวการแพทย์ของกองทัพสหรัฐฯ ในรัฐแมริแลนด์ถูกสั่งปิดอย่างกะทันหันในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 ท่ามกลางการระบาดของโรคระบบทางเดินหายใจที่ไม่ทราบสาเหตุในบางพื้นที่ของสหรัฐฯ และหลักฐานล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโควิด-19 รายแรก ๆ ในสหรัฐฯ เกิดขึ้นในปลายเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019

หากสหรัฐฯ ยอมเปิดกว้างเช่นเดียวกับจีนในการสืบหาต้นตอของโควิด-19 ก็ควรตอบคำถามเหล่านี้ต่อประชาคมโลกด้วยข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และยอมเปิดให้ทีมผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกเข้าไปตรวจสอบ อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ยังคงเพิกเฉยต่อข้อกังวลที่นับวันยิ่งเพิ่มขึ้นของประชาคมโลกที่มีต่อคำถามดังกล่าว

สิ่งที่น่าตกใจยิ่งกว่านั้น คือ ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ทำเนียบขาวได้มอบหมายให้หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ปฏิบัติภารกิจให้ได้ "ข้อสรุปที่ชัดเจน" เกี่ยวกับต้นตอของโควิด-19 ภายใน 90 วัน ถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดมากที่รัฐบาลสหรัฐฯ หันไปหาคำตอบในประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่มีความซับซ้อนมากจากหน่วยข่าวกรองของตน และให้เวลาสั้น ๆ เพียง 90 วัน อะไรคือแรงจูงใจเบื้องหลังการตัดสินใจทางการเมืองดังกล่าว? ทำไมต้องมีการตัดสินใจเช่นนี้อย่างเร่งด่วน?

จริง ๆ แล้ว เราควรให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษกับความคิดเห็นและคำแนะนำของนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ในการสืบหาต้นตอของโควิด-19 แต่นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ชาวอเมริกันบางส่วน เช่น นายแพทย์ แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดของสหรัฐฯ กลับต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักจากกลุ่มอิทธิพลทางการเมืองบางกลุ่มภายในประเทศ จนกระทั่งถูกขู่ฆ่าด้วยเพราะเขาและนักวิทยาศาสตร์อีกหลายคนในสหรัฐฯ พูดความจริงเกี่ยวกับการสืบหาต้นตอของโควิด-19 ต่อสาธารณชน

ในช่วงหนึ่งปีกว่าที่ผ่านมา สหรัฐฯ ไม่สามารถแสดงบทบาทสำคัญในการรับมือการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ทำให้ประชาคมโลกรู้สึกผิดหวังอย่างมาก หากสหรัฐฯ ไม่ต้องการทำให้ประชาคมโลกผิดหวังต่อสหรัฐฯ มากกว่านี้ ก็ควรหยุดทำให้การสืบหาต้นตอของโควิด-19 เป็นเรื่องการเมืองทันที ตลอดจนหันกลับมารับมือกับการระบาดด้วยท่าทีที่เปิดกว้าง เที่ยงธรรม และเป็นมืออาชีพ

(tim/cai)

เนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

蔡建新