บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯ ก่อกวนความสัมพันธ์จีน-อาเซียนย่อมเป็นฝันหวานที่ลวงตา

2021-08-05 13:42:53 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์: สหรัฐฯ ก่อกวนความสัมพันธ์จีน-อาเซียนย่อมเป็นฝันหวานที่ลวงตา_fororder_W020210803678081417787

วันที่ 3 สิงหาคม ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศจีน-อาเซียน (10+1) นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนเข้าร่วมประชุมผ่านระบบทางไกล พร้อมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 10 ประเทศอาเซียนและเลขาธิการอาเซียน

อาเซียนมีฐานะสำคัญในการต่างประเทศของจีนและเป็นทิศทางอันดับต้น ๆ ในกิจการการทูตรอบข้างของจีน ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศจีน-อาเซียนเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น จีนแจ้งข้อความอย่างชัดเจน 4 ประการ ดังนี้ หนึ่ง ลงลึกความร่วมมือเพื่อต้านโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง สอง ทุ่มเทฟื้นฟูเศรษฐกิจ สาม สร้างเสริมกรอบความร่วมมือในภูมิภาคที่มีอยู่ และสี่ รักษาสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลจีนใต้

บรรดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 10 ประเทศอาเซียนต่างชื่นชมจีนว่าประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ในการต้านโควิด-19 รวมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งยังระบุว่ายินดีสามัคคีและร่วมมือกับจีนเดินหน้าสร้างเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เป็นหนึ่งเดียว ตลอดจนร่วมกันรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในทะเลจีนใต้

ภายใต้ความพยายามร่วมกันของทั้งจีนและอาเซียน สถานการณ์ในทะเลจีนใต้รักษาความมั่นคงในภาพรวม เสรีภาพในการเดินเรือและการบินผ่านได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แต่บางประเทศนอกภูมิภาคกลับเป็นผู้ก่อกวนสันติภาพและความมั่นคงของทะเลจีนใต้รายใหญ่ที่สุด ทะเลจีนใต้ไม่ควรเป็นเวทีต่อสู้ระหว่างประเทศใหญ่

เราได้สังเกตว่าการประชุมว่าด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งนี้ นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ร่วมการประชุม 5 รอบต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 วัน ดูเหมือนมีการประกาศความหมายว่า “สหรัฐฯ กลับมาแล้ว” มีการวิเคราะห์มองว่า เป้าหมายการเดินทางครั้งนี้ของแอนโทนี บลิงเคนก็คือยั่วยุประเด็นร้อน อาทิ ปัญหาทะเลจีนใต้และการต่างประเทศด้วยวัคซีน แทรกแซงกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นการต่อสู้กันทางการเมืองส่วนภูมิภาค แบ่งแยกความสัมพันธ์จีน-อาเซียน และสร้างความขัดแย้งต่อกัน แต่ความคิดนี้ของฝ่ายสหรัฐฯ ย่อมเป็นฝันหวานที่ลวงตาและเปล่าประโยชน์ไร้สาระ

เป็นที่ทราบกันดีว่าปีนี้เป็นวาระครบรอบ 30 ปี คู่เจรจาจีน-อาเซียน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างจีน-อาเซียนคึกคักเป็นอย่างมาก ต้นปีนี้ นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนเยือนเมียนมาร์ อินโดนีเซีย บรูไน และฟิลิปปินส์ ต่อมารัฐมนตรีต่างประเทศจาก 4 ประเทศอาเซียนเยือนจีนพร้อมกันในปลายเดือนมีนาคมและต้นเมษายน จีน-อาเซียนยังได้จัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีนสมัยพิเศษที่นครฉงชิ่ง เมื่อหลายวันก่อนนายหวัง อี้เพิ่งเข้าร่วมการสัมมนาว่าด้วยการครบรอบ 30 ปี คู่เจรจาจีน-อาเซียน แต่สหรัฐฯ ดำเนินยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ก่อเกิดการแข่งขันระหว่างประเทศใหญ่ มุ่งที่จะเอาเอเชียตะวันออกผูกกับรถรบเพื่อสร้างแรงกดดันต่อจีน ตลอดจนให้ประเทศอาเซียนเลือกฝ่าย เรื่องดังกล่าวไม่สอดคล้องสภาพบ้านเมืองและผลประโยชน์ของประเทศอาเซียนอย่างสิ้นเชิง

บทวิเคราะห์: สหรัฐฯ ก่อกวนความสัมพันธ์จีน-อาเซียนย่อมเป็นฝันหวานที่ลวงตา_fororder_W020210803678081481185

ส่วนจีนถืออาเซียนเป็นเพื่อนบ้านที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นเพื่อนที่มีน้ำใสใจจริงต่อกัน และเป็นหุ้นส่วนดีที่จับมือพัฒนาด้วยกัน สองปีมานี้สองฝ่ายช่วยเหลือซึ่งกันและจับมือกันต่อสู้กับโควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีและมิตรภาพ

จีนถืออาเซียนเป็นหุ้นส่วนอันดับแรกในความร่วมมือด้านการต่อสู้กับโควิด-19 จนถึงปัจจุบันได้นำเสนอวัคซีนโควิด-19 แก่ 10 ประเทศอาเซียนแล้ว 190 ล้านโดส ทั้งยังบริจาควัสดุต้านโควิด-19 จำนวนมากอย่างเร่งด่วน ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มข้อริเริ่มความร่วมมือด้านสาธารณสุขจีน-อาเซียน ปรับปรุงแพลตฟอร์ม “เพื่อนแห่งวัคซีนจีน-อาเซียน” ส่งเสริมการติดต่อด้านนโยบายวัคซีนและการแบ่งปันข้อมูลวัคซีน เมื่อเทียบกันแล้ว สหรัฐฯ นำเสนอวัคซีนช้า จำนวนก็จำกัด ไม่สามารถเทียบเท่าความร่วมมือด้านการต่อสู้กับโควิด-19 ระหว่างจีน-อาเซียน

ส่วนประเด็นทะเลจีนใต้ จีน-ประเทศอาเซียนปฏิบัติตาม “ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้” อย่างรอบด้านและมีประสิทธิภาพ ผลักดันการเจรจา “ระเบียบปฏิบัติในทะเลจีนใต้” และมีความคืบหน้าที่สำคัญ แต่สหรัฐฯ ไม่เพียงแต่ใช้เรือรบและเครื่องบินรบสร้างสถานการณ์ตึงเครียด หากยังมุ่งที่จะก้าวก่าย “ระเบียบปฏิบัติในทะเลจีนใต้” ก่อกวนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี โดยพฤติกรรมที่ทำลายสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาคดังกล่าวได้รับการคัดค้านอย่างแน่วแน่จากประเทศในภูมิภาค

ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนดำเนินมาครบรอบ 30 ปีแล้ว ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนใน 30 ปีที่ผ่านมากลายเป็นแบบฉบับที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุด มีชีวิตชีวามากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งสองฝ่ายทะนุถนอมประสบการณ์ล้ำค่าที่สะสมมาจากความร่วมมือ ทะนุถนอมสถานการณ์สันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาคที่ได้มาไม่ง่าย ทะนุถนอมมิตรภาพจริงใจระหว่างประชาชนสองฝ่าย เรื่องดังกล่าวนี้ไม่ว่าอิทธิพลใดจากนอกภูมิภาคก็ไม่สามารถทำลายและเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้เราก็เชื่อว่าภายใต้ความพยายามร่วมกันของทั้งสองฝ่าย จีน-อาเซียนย่อมจะใช้ท่าทีที่มั่นใจมากขึ้นเปิดความสัมพันธ์ทวิภาคีอีก 30 ปีที่ยอดเยี่ยมและเข้มแข็ง

(Tim/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

崔沂蒙