บทวิเคราะห์ : หลีกเลี่ยงความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

2021-08-13 09:38:11 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์: หลีกเลี่ยงความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ_fororder_99

           เมื่อเร็ว ๆ นี้ หลายพื้นที่บนโลกเผชิญสภาพอากาศสุดขั้ว รวมถึงภัยแล้ง คลื่นอากาศร้อน ไฟป่า มหาอุทกภัย และพายุทราย เป็นต้น ความรุนแรงของมหันตภัยดังกล่าวเป็นที่น่าวิตกกังวลยิ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวง นอกจากนี้สภาพอากาศสุดขั้วยังมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและความถี่มากยิ่งขึ้น ซึ่งเตือนผู้คนทั้งหลายว่าต้องเร่งใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

           ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การเพิ่มความถี่ของสภาพอากาศสุดขั้วมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากว่ามนุษย์ไม่ใช้ปฏิบัติการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วนโดยลดการปล่อยคาร์บอนและลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะรุนแรงยิ่งกว่าที่เราประสบในช่วงเวลาที่ผ่านมา

           เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา ศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาจีน เผยแพร่สมุดปกน้ำเงินว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจีนประจำปี 2021 โดยมีข้อมูลและสถิติล่าสุดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งของจีนและทั่วโลก มุ่งให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการบรรเทาภัยพิบัติแก่แวดวงต่าง ๆ ทั้งจีนและต่างประเทศ สมุดปกน้ำเงินฉบับนี้ ระบุว่า ภาวะโลกร้อนจะยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วจะทวีความรุนแรง จีนเป็นพื้นที่อ่อนไหวและได้รับผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อัตราการมีอุณหภูมิสูงขึ้นของจีนสูงกว่าระดับเฉลี่ยของโลกในระยะเดียวกัน ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1951 - 2020 อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกเฉลี่ยต่อปีของจีนมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยอัตราการอุ่นขึ้น คือ 0.26 เซลเซียสต่อ 10 ปี

บทวิเคราะห์: หลีกเลี่ยงความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ_fororder_00

           การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีอยู่ 2 ด้าน คือ การบรรเทาและการปรับตัว การบรรเทา หมายถึง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากฝีมือมนุษย์เพื่อผ่อนคลายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่วนการปรับตัว หมายถึง การใช้ปฏิบัติการและมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

           ด้านการบรรเทาจีนให้ความสำคัญต่อในการใช้พลังงานสีเขียว โดยเพิ่มการลงทุนใช้พลังงานสีเขียว พัฒนาสาธารณูปโภคสีเขียวและระบบขนส่ง โดยจัดการค้าสิทธิ์การปล่อยคาร์บอนเป็นนโยบายสำคัญในการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ วันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา จีนเปิดให้บริการตลาดค้าคาร์บอนออนไลน์ ปริมาณการปล่อยคาร์บอนของธุรกิจต่าง ๆ ที่มีสิทธิ์ค้าขายในตลาดดังกล่าวเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 4,000 ล้านตัน ถือเป็นตลาดคาร์บอนใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้จีนยังสัญญาว่าจะบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนถึงจุดสูงสุดก่อน ค.ศ. 2030 และจะปล่อยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ก่อน ค.ศ. 2060

           ด้านการปรับตัว จีนถือตัวเมืองเป็นจุดเริ่มต้นในการปรับตัวเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยประเดิมงานในเมืองนำร่องปรับตัวเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ให้เมืองต่าง ๆ และเขตประสบภัยจัดวางผังเมืองใหม่ ทั้งยังตั้งกลไกเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อเตือนภัย สร้างจิตสำนึกของชาวเมืองในการรับมือสภาพอากาศสุดขั้ว ผ่านแผนการของเมืองต่าง ๆ และการก่อสร้างอาคารสีเขียว เสริมการบริหารประสิทธิภาพด้านพลังงานของสิ่งปลูกสร้างสีเขียว คุมเข้มการปฏิบัติตามมาตรฐานสิ่งก่อสร้างสีเขียว ปรับปรุงสิ่งก่อสร้างเก่าให้ได้มาตรฐานสิ่งก่อสร้างสีเขียวเพื่อบรรเทาการปล่อยคาร์บอน ปัจจุบันกระทรวงระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมจีนกำลังจัดวางยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อปรับตัวรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปี 2035

           นอกจากนี้จีนยังเน้นความสำคัญของสีเขียวในการพัฒนาข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางด้วยเพื่อประกันคุณภาพระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ให้การบริการและสนับสนุนโครงการสาธารณูปโภคที่สำคัญในกรอบข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ส่งเสริมการพัฒนาการคมนาคมสีเขียว สิ่งก่อสร้างสีเขียว และพลังงานสีเขียว

           ปัจจุบันการใช้พลังงานสีเขียวอย่างทั่วถึง การบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์โดยเร็ว ยึดมั่นการพัฒนาสีเขียว ตลอดจนการหลีกเลี่ยงความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพได้กลายเป็นความเข้าใจร่วมกันของทั้งสังคมจีนแล้ว

(Tim/Zhou)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

周旭