ประชาชนทิเบตก้าวสู่สังคม“อยู่ดีมีสุข”จากการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษณ์ของตน

2021-08-15 11:57:06 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

ประชาชนทิเบตก้าวสู่สังคม“อยู่ดีมีสุข”จากการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษณ์ของตน_fororder_20210815xz2

ในหมู่บ้านกาลา เมืองลินจือ  เขตทิเบต ชาวบ้านกำลังตัดแต่งกิ่งและดูแลต้นท้อบนภูเขา เพระทุกปีดอกท้อจะบานเต็มภูเขาบนที่ราบสูง และจะดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเป็นจำนวนมาก  โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวของหมู่บ้านกาลาสูงถึง 7.8 ล้านหยวน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาชาวบ้านของหมู่บ้านกาลา ชาวชนบทในหมู่บ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการแบ่งกำไรการจัดเทศกาลดอกท้อ การโอนที่ดิน การปลูก  และการขนส่ง   เมื่อปี  2020 รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริงเฉลี่ยต่อหัวสูงถึง 31,300 หยวน ตอนนี้พวกเขายังพยายามที่จะยกคุณภาพการท่องเที่ยว

ประชาชนทิเบตก้าวสู่สังคม“อยู่ดีมีสุข”จากการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษณ์ของตน_fororder_20210815xz1

พร้อมๆ กัน กับประชากรยากจนจำนวน  628,000 คนในทิเบตหลุดพ้นจากความยากจนในปี 2019  ทิเบตจึงเน้นการพัฒนาของอุตสาหกรรมมาเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการพัฒนาเขตชนบท และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษ์ท้องถิ่นอย่างแข็งขัน เช่น การท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรม เที่ยวชมสัตว์ที่ราบสูง  อุตสาหกรรมสีเขียว เป็นต้น ทุกวันนี้ เกษตรกรรมและปศุสัตว์ของทิเบตได้สร้างรูปแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบ "7+N" โดยเน้นที่อุตสาหกรรมหลักทั้งเจ็ด ข้าวบาร์เลย์ที่ราบสูง  จามรี หมูทิเบต แกะทิเบต ผลิตภัณฑ์นม ผัก และหญ้าที่เป็นอาหารสัตว์

ตามสถิติ  ในปี 2020 รายได้ที่ใช้จ่ายต่อหัวของชาวชนบทในทิเบตอยู่ที่ 14,598 หยวน และอัตราการเติบโตยังคงอยู่ที่ประมาณ 13% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็น 135 เท่า ของปี 1965 ที่มีการรวบรวมสถิติ ประชาชนไม่เพียงแต่มีรายได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น ทุกวันนี้สภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของชาวชนบทและชาวปศุสัตว์ก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน  เขตชนบทของทิเบตมีชีวิตชีวาจากภายในสู่ภายนอก พื้นฐานของความเจริญก้าวหน้าก็ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Bo/lei/Zi

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (22-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

雷德辛