สำนักข่าวซินหวารายงานว่าจนถึงปัจจุบัน จำนวนผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่หนานจิงเหลือเพียง 65 คน ซึ่งในปี 2021 มีผู้เสียชีวิตแล้ว 7 คน
เมื่อเดือนธันวาคมปี 1937 กองทัพญี่ปุ่นที่รุกรานเข้าจีนกระทำการสังหารหมู่ การข่มขืน การลอบวางเพลิง และการโจรกรรมที่เมืองหนานจิงและบริเวณรอบข้างนานเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำให้ประชาชนและเชลยศึกจำนวนมากถูกทำร้าย มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300,000 คน
นายเก่อ เต้าหรง อายุ 94 ปี เป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตของการสังหารหมู่หนานจิง ลูกชายของเขากล่าวว่าคุณพ่อใช้เวลา 10 กว่าปี เขียนบทความเกือบ 100,000 ตัวอักษร เพื่อบันทึกประสบการณ์ที่มืดมนที่สุดในเมืองหนานจิง และตั้งหัวข้อว่า “จดจำประวัติศาสตร์” ผู้รอดชีวิตมีอายุสูงขึ้น คนรุ่นหลังจึงรับหน้าที่การจดจำประวัติศาสตร์ในช่วงนั้น ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ศตวรรษที่ 20 เก่อ เฟิ่งจิ่น ลูกชายของเก่อ เต้าหรง มุ่งเผยแพร่ประวัติศาสตร์ดังกล่าวมาโดยตลอด พร้อมเคยไปเข้าร่วมฟอรั่มสันติภาพในฐานะตัวแทนของผู้รอดชีวิต
วันที่ 15 สิงหาคมของทุกปี ศูนย์รำลึกผู้เสียชีวิตของการสังหารหมู่หนานจิงจะจัดงานรำลึก แต่เนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาด จึงปิดชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคมของปีนี้ แต่การติดต่อระหว่างองค์กรและบุคคลช่วยเหลือกับผู้รอดชีวิตอย่างไม่ขาดสาย เมื่อเร็วๆ นี้ เจ้าหน้าที่สมาคมช่วยเหลือได้ส่งเวชภัณฑ์ป้องกันการแพร่ระบาดสู่บ้านของผู้รอดชีวิต เช่น หน้ากากอนามัย สบู่ล้างมือ ผ้าเช็ดหน้า ข้าว น้ำมัน ถั่ว และอื่นๆ พร้อมยังติดต่อกับผู้รอดชีวิตและครอบครัวผ่านโทรศัพท์มือถือและวีแชต
สมาคมช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่หนานจิงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคมปี 2004 เป็นกลุ่มเอกชนเพื่อเอาใจใส่ผู้ถูกทำลายในสงคราม และผู้ยืนยันทางประวัติศาสตร์”
Bo/Chu/Zhou