บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯ หักหลังก็อาจขายอังกฤษและออสเตรเลียได้

2021-09-18 17:56:23 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯ หักหลังก็อาจขายอังกฤษและออสเตรเลียได้_fororder_20210918mg

วันที่ 16 ก.ย. สหรัฐฯ อังกฤษ และออสเตรเลียประกาศตั้งสหพันธ์ความมั่นคงมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิกอย่างกะทันหัน พร้อมลงนามสนธิสัญญาแบ่งปันเทคโนโลยีและการผลิตเรือดำน้ำเพื่อต่อต้านจีน

สหรัฐฯ ดึงอังกฤษและออสเตรเลียซึ่งล้วนอยู่ในกลุ่มพันธมิตรห้าตาร่วมกันสร้าง “สามเหลี่ยมเหล็ก” เพื่อต่อต้านจีน แต่ในความเป็นจริงแล้วความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่าง 3 ประเทศยังคงมีอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าการแอบบันทึกเสียงผู้บริหารประเทศยุโรปขนานใหญ่ กีดขวางวัสดุต่อต้านโควิด-19 ของประเทศยุโรปหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนถึงไม่ใยดีพันธมิตรเมื่อถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน สหรัฐฯ ผู้สร้างพรรคพวกขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้พันธมิตรเสียหายหนัก ด้วยอิทธิพลของแนวคิด “สหรัฐฯ มาก่อน” การเป็นประเทศมหาอำนาจสหรัฐฯ ถือพันธมิตรเป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองส่วนตัว ซึ่งทำให้ระบบพันธมิตรที่สร้างขึ้นโดยสหรัฐฯ นับวันยิ่งหลวมขึ้นทุกที

สิ่งที่อังกฤษและออสเตรเลียต้องทบทวน คือ เมื่อมีพันธมิตรที่ไม่สนเครดิตและความเที่ยงธรรมหลายต่อหลายครั้งแบบสหรัฐฯ ก็สมควรเอาผลประโยชน์ของประเทศตนไปเสี่ยงดูหรือไม่ สหรัฐฯ ในฐานะประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ร่วมกับอังกฤษสนับสนุนออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศปราศจากนิวเคลียร์ในการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์อย่างเปิดเผย ถือเป็นพฤติกรรมแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ที่ชัดเจน ย่อมจะส่งผลกระทบเชิงลบรุนแรงต่อการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีและปัญหานิวเคลียร์อิหร่านอย่างแน่นอน ทั้งยังเป็นอันตรายต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลกด้วย

“มีมิตรแบบสหรัฐฯ ใครยังต้องการศัตรู” คำเตือนของนายโดนัลด์ ทัสค์ อดีตประธานสภายุโรป ประโยคนี้ได้รับการพิสูจน์หลายครั้งแล้ว อังกฤษและออสเตรเลียหากลืมก็ย่อมตกอยู่ในภาวะที่น่าสงสารอย่างแน่นอน

Zhou/Dan/

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (24-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (23-04-2567)

张丹