บทวิเคราะห์ : AUKUS บ่อนทำลายความพยายามของโลกในการสกัดกั้นการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์

2021-09-20 10:26:37 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์: AUKUS บ่อนทำลายความพยายามของโลกในการสกัดกั้นการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์_fororder_1

เมื่อเร็วๆนี้ สหรัฐฯและอังกฤษประกาศว่า พวกเขาจะแบ่งปันเทคโนโลยีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่มีความละเอียดอ่อนสูงกับออสเตรเลีย การตัดสินใจของสหรัฐฯและอังกฤษดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญของข้อตกลงในการจัดตั้ง ‘พันธมิตรไตรภาคีด้านความมั่นคง (AUKUS)’ ระหว่างสหรัฐฯ  อังกฤษ และออสเตรเลีย

การเคลื่อนไหวที่ขาดความรับผิดชอบของสหรัฐฯ  อังกฤษ และออสเตรเลียดังกล่าวเป็นการบ่อนทำลายความพยายามของประชาคมโลกในการสกัดกั้นการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคด้วย

บทวิเคราะห์: AUKUS บ่อนทำลายความพยายามของโลกในการสกัดกั้นการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์_fororder_2

การส่งออกเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปยังประเทศที่ปลอดนิวเคลียร์ถือเป็นการละเมิดสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์อย่างโจ่งแจ้ง ปัจจุบัน มีกว่า 190 ประเทศทั่วโลกได้ลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์  ทั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประชาคมระหว่างประเทศในการป้องกันการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์และส่งเสริมความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติ

บทวิเคราะห์: AUKUS บ่อนทำลายความพยายามของโลกในการสกัดกั้นการแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์_fororder_3

ในฐานะประเทศภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ และประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ สหรัฐฯและอังกฤษให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์แก่ออสเตรเลียสำหรับการใช้งานทางทหารนั้น จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของวัสดุนิวเคลียร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์อย่างไม่ต้องสงสัย

หลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯเพิกเฉยต่อการกระทำของประเทศพันธมิตรบางรายที่พยายามแสวงหาเทคโนโลยีและอาวุธนิวเคลียร์ แต่กลับมากล่าวหาประเทศอื่นที่ทำโครงการนิวเคลียร์พลเรือน   การกระทำของสหรัฐฯดังกล่าวเป็นการใช้สองมาตรฐานในการส่งออกและใช้ประโยชน์เทคโนโลยีนิวเคลียร์  นอกจากนี้ สหรัฐฯยังได้ใช้ประเด็นนี้มาเป็นเครื่องมือในการเล่นเกมภูมิรัฐศาสตร์ที่เป็นอันตรายด้วย  

ในขณะเดียวกัน ประเทศต่างๆในเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลกต่างก็มีเหตุผลที่จะตั้งคำถามต่อออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์  และสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แปซิฟิกใต้  ต่อพันธกรณีเรื่องการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์  เมื่อปีที่แล้ว ออสเตรเลียประกาศยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศเชิงรุก โดยมีแผนจะเพิ่มงบประมาณทางการทหารถึง 40% มูลค่าประมาณ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง  10 ปีข้างหน้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการโจมตีศัตรูในระยะไกล

การที่ออสเตรเลียแสวงหาอำนาจทางทหารที่มากเกินไปนั้น ทำให้เกิดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงในภูมิภาคนี้  นายฮิวจ์ ไวท์ ( Hugh White)ศาสตราจารย์ด้านยุทธศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เตือนว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวของออสเตรเลียจะเป็นการ "ส่งสัญญาณที่ชัดอยู่แล้ว" ให้ชัดมากยิ่งขึ้นว่า อาจมีสงครามเย็นครั้งใหม่เกิดขึ้นในเอเชีย

ในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศตะวันตกได้จัดตั้งกลไกกลุ่มประเทศต่างๆขึ้นเพื่อกำหนดวาระระดับโลก และหาผลประโยชน์ให้แก่ประเทศตน แทนที่จะสร้างผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมโลก  แม้‘พันธมิตรไตรภาคีด้านความมั่นคง  (AUKUS)’ อ้างว่าการจัดตั้งกลไกกลุ่มประเทศนี้มีวัตถุประสงค์จะประกันสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค  แต่แท้ที่จริงแล้วก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากกลไกกลุ่มประเทศอื่นๆที่พวกเขาจัดตั้งขึ้น  เช่น พันธมิตรไฟว์อายส์(Five Eyes alliance) และกลุ่มภาคี 4 ประเทศ(The Quad)  กลุ่มประเทศเหล่านี้ได้ละทิ้งกลไกพหุภาคีที่แท้จริง และเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคและโลก

กลไกกลุ่มประเทศระดับภูมิภาคควรทำงานเพื่อเพิ่มพูนความไว้วางใจซึ่งกันและกัน  ส่งเสริมความร่วมมือ  สันติภาพ และการพัฒนาในภูมิภาค  หากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลียต้องการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอย่างแท้จริง พวกเขาก็ควรละทิ้งแนวคิดสงครามเย็นที่ล้าสมัย และหันมาเรียนรู้ที่จะเคารพสิทธิและเจตจำนงของประเทศอื่นในภูมิภาค

(yim/cai)

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (25-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (24-04-2567)

蔡建新